งานจักสานจากไม้ไผ่

 ความเป็นมาของงานจักสาน

งานจักสานหรือเครื่องจักสานจะมีอยู่น้อยแต่ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไปนอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้วงานจักสานยังสะท้อนวัฒนธรรมสะท้อนความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาของชาวบ้านได้อีกด้วยในขณะที่สภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากเดิมการไปมาหาสู่กันระหว่างเมืองกับชนบทติดต่อกันได้สะดวกรวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางกระแสวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมเดิมทําให้สภาพความเป็นอยู่การดํารงชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปซึ่งมีผลกระทบทําให้งานจักสานหรืออาชีพจักสานลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงเพื่อการส่งเสริมความรู้ด้านงานจักสานแก่ผู้ที่สนใจในอาชีพได้สืบทอดงานจักสานให้คงอยู่ต่อไปการประกอบอาชีพในทุกวันนี้มีหลากหลายทางมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายและมีความสะดวกสบายมากขึ้นอยากกินปลาก็เดินไปซื้ออยู่ตลาด
จนคนในยุคปัจจุบันไม่รู้จักกรรมวิธีขั้นตอนในอุปกรณ์ในการประยุกษ์เลือกนำภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้จากไม้ไผ่เอาวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาใช้ในการทำมาหากินไม่รู้จักอุปกรณ์พื้นบ้านที่ปู่ย่าจักรสานขึ้นอย่างเช่นสุ่มไก่การสานกระด้งตะกร้าเก็บของซึ่งอุปกรณ์บางอย่างเราก็ไม่รู้จักจึงจำเป็นอย่างมากที่เราควรจะศึกษาขั้นตอนในการทำอุปกรณ์พื้นบ้านต่างๆเพื่อจะได้สืบสานต่อไปคู่ไว้ให้อยู่กับคนไทยไปยาวนาน


 วิธีการสายสุ่มได้

1 เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นก้นสุ่มแบบลายขัด

2 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดก้นสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูป

3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม

4 ปิดท้ายด้วยการสานปากสุ่ม หรือหัวสุ่ม  ใช้ไม้เสียบ เพื่อปิกปากสุ่ม



ประโยชน์ของสุ่มไก่ 

1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น

 2. เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพในการเลี้ยงไก่

 3. ผลิตจากวัสดุอุปกรร์ที่สะดวกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น

4. สามารถทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสุ่มไก่

ความสัมพันธ์ของวัตถุดิบกับทรัพยากรในท้องถิ่น

               ชุมชนบ้านดอยวงค์เป็นชุมชนของชาวกะเหรี่ยง(กะเหรียงโป) ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องการเลี้ยงผี เช่นการเลี้ยงผีประจำปีหรือการเลี้ยงผีตามเทศกาล หรือ เนื่องในวันพบญาติ ซึ่งการเลี้ยงผีแต่ละครั้งนั้นจะต้องใช้ไก่,ไข่ไก่ หรือหมูในการประกอบพิธีทุกครั้งดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ทุกบ้านมีการเลี้ยงไก่หรือหมูติดบ้านทุกหลังคาเรือน

                เนื่องจากหมู่บ้านมีถิ่นอาศัยใกล้ชิดติดกับป่าลึก จึงทำให้การเลี้ยงสัตว์อาจเสี่ยงต่อการ โดนสัตว์ป่าฆ่ากิน เช่น ไก่หรือหมูที่เลี้ยงอาจพลาดหลงเข้าป่าชาวบ้านจึงมีวิธีการเลี้ยงสัตว์ให้มีความมิดชิด เช่นสุ่มไก่จะต้องปิกปากสุ่มได้ หรือหมูจะต้องเลี้ยงไว้ใต้ถูนบ้าน เป็นต้น


ผู้เรียบเรียงข้อมูล

นางสาวอรอนงค์  ขวัญอยู่ถาวร (ครูอาสาสมัคร กศน.) ศศช.บ้านดอยวงค์

ที่อยู่ของผู้ประกอบอาชีพ

บ้านดอยวงค์ หมู่ 12  ตำบลทุ่งหัวช้าง  อำเภอทุ่งหัวช้าง  จังหวัดลำพูน