ประวัติข้อมูลของผู้ประกอบภูมิปัญญา

กลุ่มชาวบ้านชุมชนดอยวงค์ หมู่ 12  ตำบล. ทุ่งหัวช่าง  อำเภอ .ทุ่งหัวช้าง  จังหวัด .ลำพูน  รหัสไปรษณีย์ 51160

ประวัติความเป็นมาของผ้าทอกะเหรี่ยง

    กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชนเผ่ากลุ่มหนึ่งที่เรารู้จักกันอย่างคุ้นชินแบบชื่อที่เรียกกันในภาคกลางของไทย กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว นับว่าเป็นกลุ่มชนเผ่าที่มี ประชากรมากที่สุดในประเทศไทย มีถิ่นที่อยู่อาศัยกระจายอยู่หลายพื้นที่ทั้งพื้นที่ภูเขาสูง และพื้นที่ราบ กะเหรี่ยงที่พบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม กะเหรี่ยงสะกอ (หรือที่เรียกกันว่าปกากะญอ) กะเหรี่ยงโปว์กะเหรี่ยงปะโอ และกะเหรี่ยงบะเว และที่เรามักจะพบเห็นลักษณะการแต่งกาย      แบบชนเผ่า และเอกลักษณ์ผืนผ้าทอที่สะท้อนถึงทักษะความเชี่ยวชาญในด้านศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าที่งดงามนั้น ส่วนมากจะพบเห็นอยู่ใน 2 กลุ่มใหญ่ นั่นคือ กลุ่มกะเหรี่ยงโปว์และกลุ่มกะเหรี่ยงสะกอหรือปกากะญอ ผู้หญิงชาวกะเหรี่ยงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นชนเผ่าผู้มีฝีมือในการทอผ้าที่เก่งที่สุดเผ่าหนึ่ง ด้วยจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ทักษะฝีมือการทอผ้ามาจากผู้เป็นแม่ตั้งแต่ยังเป็นเด็กหญิงในวัยประมาณ 10 ปี ผู้หญิงชาวกะเหรี่ยงมักจะทอเสื้อผ้าไว้ใช้สวมใส่ในชีวิตประจําวันทั้งของตนเองและสมาชิกในครอบครัว หรือ ทอเก็บไว้ใช้ในงานพิธีสําคัญๆ เช่น งานแต่งงาน งานประเพณีสําคัญต่างๆ ผ้าทอกะเหรี่ยง มีลักษณะเป็นผ้าทอหน้าแคบ ที่ใช้เครื่องมือทอแบบห้างหลัง หรือที่เรียกกันว่ากี่เอว ผ้าที่ทอจะถูกกำหนดตามความต้องการใช้งานตั้งแต่เริ่มต้นทอ เช่น ผ้าทอสําหรับเสื้อ ผ้าทอสําหรับผ้าซิ่น 

ผ้าทอสําหรับผ้าโพกศรีษะ หรือผ้าทอสําหรับทำเป็นย่าม เป็นต้น ศิลปะลวดลายบนผืนผ้าของชนเผ่ากะเหรี่ยง มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่แสดงถึงตัวตนของชนเผ่ากะเหรี่ยง 

ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ลวดลายต่างๆ มักเกิดจากการสังเกต การใช้จินตนาการ

นําเอาลักษณะเด่นจากสิ่ง ที่พบเห็นในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งพืชพรรณ ดอกไม้ต้นไม้สัตว์น้อยใหญ่ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจําวัน ตลอดไปจนถึงประเพณีและคตินิยมของชนเผ่ามาประยุกต์ถ่ายทอดลงสู่ลวดลายบนผืนผ้าได้ อย่างงดงาม 

ด้วยเทคนิคการสร้างสรรค์ลวดลายที่หลากหลาย ทั้งการจก การทอยกดอก การมัดหมี่ การปักด้วยด้ายหรือไหมพรมหลากสี การปักประดับตกแต่งด้วยเมล็ดลูกเดือย เป็นต้น เอกลักษณ์ลวดลายที่มีลักษณะเป็นลวดลายดั้งเดิมที่ปรากฎบนผืนผ้าทอกะเหรี่ยง

ที่สืบทอดต่อกันมา จากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน เป็นลวดลายที่พบได้ในกะเหรี่ยงโปวและปกากะญอแทบทุกพื้นที่ เช่น ลักษณะ ลายเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนรูปแบบต่างๆ ลายดอกไม้ลายเส้นตรง ลายกากบาท เป็นต้น ชื่อของลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงนั้นอาจไม่มีชื่อหรือความหมายที่เป็นภาษาไทยที่จะเข้าใจได้โดยง่าย เนื่องจากเป็นชื่อเรียกลวดลาย โบราณดั้งเดิมของชนเผ่าที่ถูกเรียกขานและถ่ายทอดต่อๆ กันมานับตั้งแต่บรรพบุรุษด้วยภาษาของชนเผ่ากะเหรี่ยงในแต่ละท้องถิ่นนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามด้วยลักษณะลวดลายที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์เฉพาะของผ้าทอ ชนเผ่ากะเหรี่ยงนี้เอง หากเราเห็นผืนผ้าที่มีเอกลักษณ์ในลักษณะเช่นนี้เราก็สามารถรับรู้ได้ทันทีว่า 

นี่คือผ้าทอแห่งชนเผ่ากะเหรี่ยง

ที่มา: (https://www.thairath.co.th/news/local/north/1628928)

ที่มา: (https://www.thairath.co.th/news/local/north/1628928)

เสื้อทอกะเหรี่ยง

เสื้อทอกะเหรี่ยง


เสื้อทอกะเหรี่ยง


เสื้อทอกะเหรี่ยง


สถานที่ตั้งของผู้ประกอบภูมิปัญญา

กลุ่มชาวบ้านชุมชนดอยวงค์ หมู่ 12  ตำบล. ทุ่งหัวช่าง  อำเภอ .ทุ่งหัวช้าง  จังหวัด .ลำพูน  รหัสไปรษณีย์ 51160

อ้างอิงจาก: https://youtu.be/ZOZoVjvUpz4?si=RrrhhRRRTcLr3ojI

                           วิธีการทอผ้ากะเหรี่ยง

ผู้เรียบเรียงข้อมูล

นางสาวชุลีพร เมธีโชดก

  ครูอาสาสมัคร กศน. ศศช.บ้านดอยวงค์