ประวัติข้อมูลของผู้ประกอบภูมิปัญญา

กลุ่มชาวบ้านชุมชนดอยวงค์ หมู่ 12  ตำบล. ทุ่งหัวช่าง  อำเภอ .ทุ่งหัวช้าง  จังหวัด .ลำพูน  รหัสไปรษณีย์ 51160

การสานตระตร้าจากไม้ไผ่

การสานตระตร้าจากไม้ไผ่


ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

ประวัติข้อมูลของผู้ประกอบภูมิปัญญา

กลุ่มชาวบ้านชุมชนดอยวงค์ หมู่ 12  ตำบล. ทุ่งหัวช่าง  อำเภอ .ทุ่งหัวช้าง  จังหวัด .ลำพูน  รหัสไปรษณีย์ 51160

วิธีและขั้นตอนการสานตระกร้าจากไม้ไผ่

ตะกร้าสานไม้ไผ่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ที่กลายมาเครื่องมือ เครื่องใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันนี้แทบจะไม่มีคนจักสานตะกร้าไม้ไผ่เลย เพราะคนสมัยนี้ไม่ค่อยสนใจในวัฒนธรรมเดิมๆ ในแต่ละหมู่บ้านหาคนที่จักสานตะกร้าได้น้อยมากบางหมู่บ้านไม่มีเลยด้วยซ้ำ การจักสานตะกร้าไม้ไผ่ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาแต่โบราณ การจะสานตะกร้าให้ดี สวยงาม มีความคงทน ต้องมาจากไม้ไผ่ดี
๑.ตัดไม้ไผ่แก่มาผ่าซีกและผ่าแบ่งเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ ขนาดประมาณ ๑ ซม. และอีกส่วนหนึ่งผ่าประมาณ ๑ นิ้ว เพื่อใช้ทำขอบปากตะกร้าและมือจับ
๒.นำแต่ละชิ้นที่ผ่าไว้ ลอกใช้แต่ส่วนเปลือก โดยใช้มีดคม ๆ เหลาหรือขูดเนื้อไม้ออกและเหลือแต่ส่วนเปลือกบาง ๆ และเหนียว
๓.เริ่มต้นสานตะกร้า โดยเริ่มที่ก้นก่อน โดยใช้ส่วนที่แข็งกว่าและหนากว่าสานที่ก้น ความยาวของไม้ตามขนาดของตะกร้า เส้นที่แข็งกว่าสานขึ้นตามแนวตั้ง ความห่างเท่า ๆ กัน ส่วนเส้นไม้ไผ่ที่บาง นิ่ม สานตามขวางชั้นมาเรื่อย ๆ แน่น มีลักษณะเป็นวงกลมแต่ปากตะกร้าจะกว้างกว่าก้นตะกร้า พอได้ขนาดตามต้องการใช้ไม้ไผ่ขนาด ๑ นิ้ว ทำให้เป็นวงกลมและวางไว้ที่ขอบปากตะกร้า ใช้ไม่ไผ่ส่วนที่ตั้งขึ้น พัน หรือ บิดลงไปด้านล่าง สานลงไปประมาณ ๑ นิ้ว จนแน่นไม่หลุด ตัดเศษที่เหลือทิ้ง ตกแต่งให้สวยงาม
๔.ใส่หูหรือที่หิ้ว ซึ่งทำจากไม้ไผ่และโค้งงอได้ ใช้เชือกหรือหวายพันให้แน่น หรือใช้เชือกที่เป็นสีพันที่มือจับจนมิด นำไปใช้งานหรือขายได้
๕.หากต้องการเก็บไว้ใช้งานได้นาน ทาเล็กเกอร์เคลือบไม้ไผ่ทั้งด้านในและด้านนอก แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง


สถานที่ตั้งของผู้ประกอบภูมิปัญญา

กลุ่มชาวบ้านชุมชนดอยวงค์ หมู่ 12  ตำบล. ทุ่งหัวช่าง  อำเภอ .ทุ่งหัวช้าง  จังหวัด .ลำพูน  รหัสไปรษณีย์ 51160

อ้างอิงจาก: https://youtu.be/7uUVwdRESVM?si=e8gcM5HbHXaLtA1q

                        วิธีการสานตระกร้าจากไม้ไผ่


ผู้เรียบเรียงข้อมูล

นางสาวชุลีพร  เมธีโชดก  

ครูอาสาสมัคร กศน. ศศช.บ้านดอยวงค์