ข้าวดอย

ประวัติความเป็นมา

ชนเผ่าปกาเกอญอ เรียกว่า “บือ” เช่น บือบอ บือเนอมู บือปิอิ บือซอมี

“ข้าวดอย” คือ คำเรียกสั้นๆ ของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหรือข้าวท้องถิ่นที่ปลูกบนดอยสูงทางเหนือของไทย ข้าวดอยมีความหลากหลายของพันธุกรรม (genetic diversity) ซึ่งความหลากหลายนี้เป็นข้อดีที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อยอดได้ อาทิ ผลผลิตสูง กินอร่อย ทนทานต่อศัตรูพืช ปรับตัวได้ดีต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นต้น ข้าวดอยถือว่าเป็นพืชอาหารหลักของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ชุมชนปลูกข้าวปีละครั้งในฤดูฝน อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก โดยทุกครัวเรือนจะปลูกข้าวเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนมาตั้งแต่อดีตจนเป็นความมั่นคงด้านอาหาร เกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงมีภูมิปัญญาการปลูกข้าวที่สืบต่อกันมาหลายชั่วรุ่นจึงก่อเกิดเป็นภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับข้าว ตั้งแต่ก่อนปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต และก่อนบริโภคข้าว 

ข้าวดอยมีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดหรือพันธุ์ข้าว เริ่มตั้งแต่ “ชื่อพันธุ์ข้าว” เรียกขานตามภาษาของชนเผ่านั้นๆ ความแตกต่างในทางพฤกษศาสตร์และสัณฐานวิทยา เช่น อายุเก็บเกี่ยว ความสูงต้น สีแผ่นใบ แผ่นใบ สีกาบใบ มุมยอด สีลิ้นใบ รูปร่างลิ้นใบ สีข้อ/ปล่อง และทรงกอ รวมถึงลักษณะเมล็ดข้าวที่แตกต่างกัน เช่น เมล็ดสั้นป้อม เมล็ดเรียวยาว เมล็ดมีหาง สีของเมล็ดข้าว เป็นต้น ข้าวดอย จะนิยมปลูก บนดอยสูง เป็นพันธ์ข้าวที่มีความอดทนสูง เนื่องจากใช้น้ำฝนตามฤดูกาลในการเติบโต ข้าวดอยดูแลง่ายแต่ชาวบ้านนิยมปลูกในพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน เพื่องป้องการศัตรูพืช เช่น ฝูงนก ในฤดูกาลเก็บเกี่ยว ชาวบ้านปลูกข้าวช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนตุลาคม ผลผลิตที่ได้เอาไปบริโภคตลอดทั้งปี หากผลผลิตมีจำนวนมากก็นิยมเอาขายสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

อ้างอิงจาก : องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

สถานที่ตั้งของผู้ประกอบภูมิปัญญา

กลุ่มชาวบ้านชุมชนดอยวงค์ หมู่ 12  ตำบล. ทุ่งหัวช่าง  อำเภอ .ทุ่งหัวช้าง  จังหวัด .ลำพูน  รหัสไปรษณีย์ 51160