ผ้าทอกะเหรี่ยง

ประวัติความเป็นมาของ “ผ้าทอกะเหรี่ยง 

ชาวกะเหรี่ยงขาวมีความเชื่อแต่โบราณว่าลายของผ้าทอกะเหรี่ยงนั้นได้มาจากลายหนังงูใหญ่ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยงโดยที่งูตัวนั้นจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ ๗ วัน ทอได้ ๗ ลาย คือ ลายโยห่อกือ เกอเปเผลอฉุ่ยข่อล่อที่ข่าเกอแนเดอเซอกอพอและแชะฉ่าแอะแต่ลายที่นิยมนำมาทอและปักมี๔ ลายคือโยห่อกือเกอเปเผลอฉุ่ยข่อลอและลายทีข่าปัจจุบันยังมีการคิดค้นลายใหม่ ๆเกิดขึ้นอีกมากมายชาวปากอเญอมีพื้นฐานการทอผ้ามาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นการผลิตไว้ใช้ในครัวเรือนที่เหลือจึงนำมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวลักษณะลายผ้าที่ผลิตกันจะเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำลายผ้าเป็นไปตามความอำเภอใจของผู้ทอ ไม่มีเอกลักษณ์ มาตรฐานการผลิตที่แตกต่างกัน จึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้น 

อ้างอิง https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=772&code_db=610007&code_type=TK003


อ้างอิง : เพจลูกกะเหรี่ยง

ประวัติความเป็นมา


คำว่าผ้าทอกีเอวมาจากวิธีการทำหรือวิธีการผลิตผ้าชาวกะเหรี่ยงจะนิยมทอผ้าแบบกีเอวเนื่องจากมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยากอีกทั้งใช้อุปกรณ์ไม่มากซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้มักสามารถหาได้ตามแหล่งธรรมชาติในชุมชุน ฝ้ายที่ใช้ทอในอดีตจะผลิตจากนุ่นซึ่งชาวบ้านจะนิยมปลูกไว้ตามรั้วบ้าน หรือตามไร่ นา และมีการย้อมฝ้ายจากสีธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ เปลือกไม้ ถ่าน เป็านต้น ผ้าทอกีเอวจะมักนิยมมาทอเป็นกระเป๋าเสื้อผ้าซิ่นผ้าพันคอเป็นต้นแต่ด้วยการเปลี่ยนเเปลงของยุคสมัยฝ้ายที่ใช้ในการทอในปัจจุบันก็นิยมซื้อฝ้ายสำเร็จรูปมากจากท้องตลาดซึ่สามารถเลือกสีได้ตามความชอบสามารถสร้างลวดลายของผ้าได้อย่างสวยงามตามความต้องการลวดลายต่างๆของผ้าทอนั้นมาจากจิตนาการของคนทอ ส่วนมากจะเป็นลวดลายของดอกไม้ ใบไม้หรือธรรมชาติรอบข้างบางคนสร้างลวดลายบนผ้าจากเรื่องราววิถีชีวิตของคนกะเหรี่ยงเช่นการปลูกข้าวทำไร่ทำนาหรือประเพณีต่างๆรวมถึงตำนานงูใหญ่ๆเนื่องจากมีวิธีการทำและลวดลายที่แตกต่างและโดดเด่นอีกทั้งเรื่องราวที่ทักทอลงในผ้าทอจึงทำให้ผ้าทอกะเหรี่ยงมีความสวยงามและมีความเป็นเอกลักษณ์

กระบวนการ ขั้นตอนการผลิต 

 1. นําฝ้ายที่จัดหามาม้วนหรือปั่นให้เป็นรูปกลม ๆ โดยห่อแ่นม้วนด้วยกระดาษ หรือหนังสือพิมพ์เก่า

 2. นําเบลิงวางไว้ให้พอเหมาะกับความต้องการ กะระยะให้ได้ขนาดตามที่ต้องการและนําอุปกรณ์เสียบไว้ตามรูของเบลิง

 3. คล้องฝ้ายไปมาลักษณะคล้ายแถวเรียงหน้ากระดานให้ได้ขนาดตามความ ต้องการ แล้วยกลง(การเลือกสีของผ้าอยู่ในขั้นตอนนี้)

 4. ถอดออกมาทั้งหมด วางลงในแนวนอน ดึงอุปกรณ์ออกจากทาเบลิง

 5. เสียบลู่คูให้ได้ขนาด 45 องศา แล้วเริ่มทําการทอไปเรื่อย ๆ การยกดอก หรือลาย ต่าง ๆ แล้วแต่จะจินตนาการของ ผู้ทอ 

6. นํามาเย็บเป็นรูปร่าง หรือปักลูกเดือย สร้างลวดลายของผ้า แล้วแต่ความต้องการ

ผู้ให้ข้อมูล

นางสาวอรอนงค์  ขวัญอยู่ถาวร (ครูอาสาสมัคร กศน.) ศศช.บ้านดอยวงค์

ที่อยู่ ที่ตั้ง (พิกัด) ของผู้ประกอบอาชีพ 

บ้านดอยวงค์ ตั้งอยู่หมู่ที่  12  ตำบลทุ่งหัวช้าง  อำเภอทุ่งหัวช้าง  จังหวัดลำพูน