เเหล่งท่องเที่ยว ทางประวัติศาสตร์

ประวัติ และความเป็นมาของวัดม่วงคำ

                เมื่อเกือบสองพันปีที่ผ่านมา สมัยพระนางจามรี ได้ทรงนำขบวนช้างม้ามาลี้ภัย โดยขึ้นดอยมาถึงดอยอีฮุย (อุ้ย เป็นภาษากะเหรี่ยงแปลว่า รู้สึกอิดโรย) จึงทรงพาขบวน ช้างม้ามาพักที่ทุ่งข้าวหาง แล้วเดินทางต่อผ่านมาทางบ้านตะเคียนปม จนมาถึงบ้านหัว คั่ว และหยุดพักพลที่ติดตามมาด้วย ณ ที่นี้

              (หัวคั่ว หมายถึง ในอดีตชาติที่หลวงพ่อครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้เกิดเป็น พญากวางคำ ขณะที่พญากวางคำพาฝูงกวางเล็มหญ้าอยู่ พญากวางคำแลเห็นนายพราน เกรงว่าฝูงกวางจะถูกทำร้าย จึงวิ่งแยกออกมาตัวเดียวเพื่อล่อให้นายพรานตามไปจนถึง ยอดดอยแห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่า วัดดอยกวางคำ ในขณะนั้น ได้มีพระมหาเถระ รูปหนึ่งกำลังสาธยายธรรมอยู่ พญากวางคำรู้สึกเพลิดเพลินและเคลิ้มตามเสียงของพระ มหาเถระ จึงได้ถูกนายพรานยิงตาย หลังจากพญากวางคำถูกยิงตายแล้วนายพรานก็แบ่ง เนื้อกัน ส่วนหัวพญากวางคำนั้นนายพรานได้นำมาคั่วเพื่อเอาน้ำมัน ณ สถานที่นี้จึง 

                  เรียกว่า หัวคั่ว มาจนบัดนี้ชื่อเรียกสถานที่นี้จึงกร่อนเป็น หัวขัว ตามที่เรียกกันอยู่ใน ขณะนี้)  พระนางจามรี ได้ทรงอธิษฐานจิตสร้างเจดีย์และวิหาร โดยการก่ออิฐ ณ ที่แห่งนี้ และต่อจากนั้นได้ทรงนำขบวนช้างม้าเดินทางลัดเลาะจนมาถึงบริเวณ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัด พระธาตุตรงเดียวในปัจจุบัน จึงสร้างเมืองที่ดวงเดียว(วัดพระธาตุดวงเดียว)และสร้าง วัดที่ห้าดวง วัดพระธาตุห้าดวง ซึ่งอยู่บริเวณติดต่อกัน กาลเวลาล่วงมาจนถึงสมัยครูบาศีลธรรม ครูบาเจ้าศรีวิชัย) ได้เดินทางมาพบวัด หัวคิ้ว เห็นว่าวัดวาอารามทรุดโทรมมาก เดิมทีที่บริเวณวัดนี้มีต้นมะม่วงต้นหนึ่งใหญ่ มากและมีรสเปรี้ยวมาก ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงอธิษฐานจิตว่า “ถ้าที่นี่จะเป็นวัดต่อไป ก็ขอให้มะม่วงที่มีรสเปรี้ยวกลายเป็นรสหวาน”หลังจากอธิษฐานจิตแล้ว ทันใดนั้นมะม่วงที่มีรสเปรี้ยวมากก็กลายเป็นรสหวานทันทีตามคำอธิษฐานของท่านครูบา ดังนั้น ต่อมาวัดนี้จึงได้ชื่อ วัดม่วงคำ ตามที่ เรียกกันในปัจจุบันจากนั้นมา วัดม่วงคำ จึงกลายเป็น วัดร้าง มาประมาณ 40 ปีหลังจากนั้นหลวงพ่อครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ท่านได้มาพบพระเจดีย์และวิหาร ซึ่งอยู่ ในสภาพเก่าแก่ทรุดโทรมมาก จึงได้ปรึกษาผู้เฒ่าผู้แก่ ว่าจะบูรณะขึ้นมาใหม่ หลวง พ่อจึงอธิษฐานจิตโดยการวัดว่าไม้ว่า“ถ้าเป็นของผู้ที่จะได้สร้างสำเร็จก็ให้ไม้ที่ว่านี้ยาวออก เพื่อจะได้สร้างวัดขึ้นมา ใหม่ให้ญาติโยมทั้งหลายได้ทำบุญสุนทานกันต่อไปในภายหน้า และหลังจากที่หลวงพ่อได้วัดว่าไม้ใหม่อีกครั้ง ไม้อันเดิม ยาวออกมาตามค้า อธิษฐาน หลวงพ่อท่านจึงได้ทำการบูรณะวัดนี้ให้เจริญขึ้นมาใหม่อีกครั้ง หลวงพ่อได้ นิมนต์พระสงฆ์จำนวน 9 รูปมาทำพิธีสวดถอน โดยมีครูบาหวัน เจ้าคณะตำบลตะเคียน ปม เจ้าคณะตำบลทุ่งหัวช้างร่วมอยู่ด้วย หลวงพ่อได้สร้างวิหารหลังใหม่ครอบเจดีย์องค์เดิมและสร้างเจดีย์องค์ใหม่ครอบ ของเดิมเอาไว้ โดยเริ่มลงมือก่อสร้าง เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓

                   หลวงพ่อได้มอบหมายให้ ญี่ปุ่น มาช่วยควบคุมการก่อสร้างและดูแลวัด ทั้งนี้ โดย มีหลวงพ่อเป็นองค์ประธานให้การอุปถัมภ์ มีพระธรรมจาริกและเจ้าคณะตำบลรวมทั้ง ผู้ใหญ่บ้าน 4 หมู่บ้าน ได้พาชาวบ้านมาช่วยทำความสะอาดและแผ้วถางบริเวณวัด ประมาณ ๑๐๐ คนต่อมาวันศุกร์ที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ก็เริ่มสร้างวิหารต่อจนแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีฉลอง(ปอยหลวง วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วิหารหลังนี้ถือได้ว่าหลวงพ่อได้ออกแบบการก่อสร้างให้มีลักษณะที่แปลกไป จากวิหาร โดยทั่วไปคือ เป็นวิหารที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอทุ่งหัวช้างก็ว่าได้และที่แปลกกว่า ที่อื่นๆก็คือ สร้างครอบพระธาตุเจดีย์เอาไว้ วิหารหลังนี้จึงเป็นเสมือนวิหารครอบพระ เจดีย์ไปโดยปริยาย โดยทั้งนี้ สิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นเงินถึง 6,345,600 บาท และนอกจากนี้ช่างที่ก่อสร้างวิหารและพระเจดีย์ก็เป็นช่างกะเหรี่ยงจาก วัดพระพุทธบาทห้วยต้มทั้งสิ้น หากใช้แรงงาน ช่างคนเมืองหรือพื้นเมืองอาจจะทำให้ มูลค่าการก่อสร้างสูงกว่านี้เป็นเท่าตัวเลยทีเดียว กล่าวได้ว่าวิหารและพระเจดีย์ของวัดม่วงคำนี้เป็นฝีมือช่างกะเหรี่ยงโดยแท้จริง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ออกแบบการก่อสร้างทั้งหมดก็คือ หลวงพ่อครูบาเจ้าชัยยะ วงศาพัฒนา)...คนบุญแห่งล้านนาผู้ได้ชื่อว่า เทพเจ้าของชาวกะเหรี่ยงโดยแท้ 

อ้างอิงจาก https://archive.org/details/2019072205/page/n7/mode/2up



ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านดอยวงค์

สถานที่ตั้งและพิกัด ของวัดม่วงคำ

ชื่อเดิม วัดม่วงคำ เดิมมีชื่อเรียกว่า “ วัดดอยวงศ์" ซึ่งชาวบ้านเรียกกัน เนื่องจาก หลวงพ่อวงศ์ (ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา) เป็นผู้สร้าง

 สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๒ ตำบล ทุ่งหัวช้าง อำเภอ ทุ่งหัวช้าง จังหวัด ลำพูน ขนาดเนื้อที่ เนื้อที่มีทั้งหมด ๖ ไร่

ประวัติวัดม่วงคำ



อ้างอิงภาพจาก https://www.google.com/maps/contrib/105050381195567406567/photos/@16.09838,177.9480737,3z/data=!4m3!8m2!3m1!1e1

ผุ้เรียบเรียงข้อมูล

นางสาวอรอนงค์  ขวัญอยู่ถาวร