2.2 มลพิษจากการผลิตและการใช้งาน

มลพิษจากการผลิต

อุตสาหกรรมการผลิตโลหะ พอลิเมอร์ และเซรามิกส์ส์ จัดเป็นอุตสาหกรรม ขั้นพื้นฐานของประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญของประเทศ เนื่องจากโลหะ พอลิเมอร์ และ เซรามิกส์ เป็นวัตถุดิบพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรม ยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น

กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญ ทั้งมลพิษ ทางอากาศ กากของเสียและน้ำเสีย ซึ่งสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ หากมีการจัดการไม่เหมาะสม

2.1 สาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษจากการผลิต

1) กระบวนการหลอมและเกิดมลพิษ กระบวนการหลอม เป็นการนำวัตถุดิบทั้งในรูปวัสดุใหม่และเศษวัสดุที่ใช้แล้วมาให้ความร้อนเพื่อให้หลอมละลาย และทำการปรับปรุงคุณภาพด้วยสารต่าง ๆ มลพิษหลักที่เกิดขึ้นในกระบวนการหลอม คือ ฝุ่นควัน ไอโลหะ และก๊าซพิษต่าง ๆ

2) กระบวนการหล่อและเกิดมลพิษกระบวนการหล่อ สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การหล่อโดยใช้เครื่องหล่อแบบต่อเนื่อง และการหล่อในแม่แบบชนิดต่าง ๆ

ในการหล่อชิ้นงานในแม่แบบ วัสดุเหลวจะถูกเทใส่ในแม่แบบ แล้วปล่อย ให้แข็งตัวระยะหนึ่ง จากนั้นรื้อแบบแยกออกเอาชิ้นงานออกแบบหล่อ แล้วเอาไปทำความสะอาดตกแต่งชิ้นงานให้ได้คุณภาพตามต้องการ

มลพิษหลัก ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการหล่อทั้งสองลักษณะจะเกิดขึ้น ในระหว่างการหล่อ แต่สำหรับการหล่อโลหะบางชนิดจะเกิดมลพิษในระหว่างการทำแม่แบบไส้แบบและการนำชิ้นงานออกจากแบบหล่อ ซึ่งควรมีการจัดการอย่างเหมาะสมเช่นเดียวกัน

3) กระบวนการหล่อและเกิดมลพิษ การรีดมักใช้อุตสาหกรรมโลหะ เป็นการนำแท่งโลหะผ่านการรีดลดขนาด ที่วางต่อกันหลายชุดจนได้ขนาดตามต้องการ ซึ่งการรีดโลหะมีทั้งการรีดร้อนและรีดเย็นขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

มลพิษที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในกระบวนการรีดร้อนคือ ฝุ่นควัน ไอโลหะ ก๊าซพิษ และน้ำเสีย

4) กระบวนการสนับสนุนการผลิตและเกิดมลพิษ

ระบบสนับสนุนการผลิตที่สำคัญระบบหนึ่งคือ ระบบหล่อเย็น ซึ่งหากระบบหล่อเย็นเกิดขัดข้อง กระบวนการผลิตบางส่วนอาจหยุดการผลิตลง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับโรงงานได้

มลพิษที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในกระบวนสนับสนุนการผลิตคือมลพิษทางอากาศ และน้ำเสียจากน้ำหล่อเย็น ซึ่งอาจใช้เพียงครั้งเดียวแล้วระบายทิ้ง

2.2 สาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษจากการใช้งาน

1) จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน ก็มากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน ดังนั้น จำนวนวัสดุที่ใช้แล้วจึงเพิ่มทวีคูณมากขึ้นเรื่อย ๆ

2) คนทั่วไปไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการกับเศษวัสดุที่ใช้แล้ว

ส่วนใหญ่มักจัดการกับเศษวัสดุด้วยวิธีการเผาซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดมลพิษทางอากาศ

3) ความมักง่ายและขาดจิตสำนึก ไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เช่น การทิ้งเศษวัสดุใช้แล้วลงแม่น้ำลำคลอง เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำเสีย

4) การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น เช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกหุ้มหลายชั้น การซื้อสินค้าโดยห่อแยกและใส่ถุงพลาสติกหลายถุง ทำให้เศษวัสดุใช้แล้วมีปริมาณมากขึ้น