วัดบ้านอ้อยหลวง

ประวัติความเป็นมา

เดิมชื่อ“วัดอุสุกาม” มี เจ้าอาวาสชื่อครูบาชุมภู พอตั้งวัดขึ้น ก็สร้างวิหารพร้อมพระประธานขึ้นมาจนเรียบร้อย

ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2380 ก็เกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น คือ กุฏิลอกคราบ ชาวบ้านกับเจ้าอาวาสจึงย้ายวัดไปตั้งทางทิศตะวันตก ซึ่งอยู่ห่างจากวัดเดิม ประมาณ 20 เมตร เป็นบริเวณป่าหญ้าคาเป็นที่ของนายอินทร์ (นามสกุลไม่ปรากฏ) อุทิศให้วัดอุสุกามก็กลายเป็นวัดร้างไป ซึ่งชาวบ้านพากันเรียกว่า “วัดห่าง”

ชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างวัดใหม่ แต่ยังไม่ทันเสร็จ ครูบาชุมภูเจ้าอาวาสก็มรณภาพลงครูบาอ้อยซึ่งเป็นรองเจ้าอาวาสก็ได้เป็นเจ้าอาวาสแทน ขณะนั้นพื้นที่ยังเป็นป่าอยู่ชาวบ้านจึงพากันปลูกอ้อยกันเป็นส่วนมาก ทั้งบริเวณภายในวัด และนอกวัด และบ้านและในขณะเดียวกันทางพระธาตุปูแจก็กำลังซ่อมแซมองค์พระธาตุองค์ก่อน จึงมอบหมายให้บ้านที่มีอ้อยบริจาคน้ำอ้อย เพื่อนำไปผสมกับทราย และปูนขาว เพื่อใช้ก่ออิฐ องค์พระธาตุ (ในขณะนั้นไม่มีปูนซีเมนต์อย่างเดี๋ยวนี้) จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ ตามที่มอบหมายสิ่งของให้ และเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่กว่าหมู่บ้านอื่น จึงเรียกชื่อว่า “บ้านอ้อยหลวง” หรือบ้านอ้อย จนตราบเท่าทุกวันนี้

สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 1ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

พิกัด18.21909, 100.27735