ความเป็นมา


ข้าวหลาม เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่ชาวล้านนานิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนา จะเป็นพิเศษ เพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร และสอดคล้องกับบริบทชุมชนที่มีไม้ไผ่ จึงมีการจัดการศึกษาต่อเนื่องในรูปแบบกลุ่มสนใจให้กับคนในชุมชน การทำข้าวหลามถือเป็นอาชีพเสริมของชุมชน ประชาชนในท้องถิ่นประกอบอาชีพหลัก คือเกษตรกรและจะใช้เวลาว่างจากการทำไร่ทำนามาทำข้าวหลามขาย เพื่อหารายได้เสริมมาเลี้ยงครอบครัวข้าวหลามที่ทำขายมีคุณภาพดีรสชาติอร่อยจึงเป็นสินค้าที่ขายดีถูกใจผู้บริโภคที่ สัญจรไปมาจำหน่ายได้ราคาดีทำให้เกษตรกรมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงวัตถุดิบต่างๆที่ใช้ในการทำข้าวหลาม ไม่ว่าจะเป็น เผือก ถั่วดำมะพร้าวอ่อน ฟักทอง ล้วนเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายภายในชุมชน เพราะมีการเพาะปลูกไว้เพื่อ จำหน่ายจึงนับได้ว่าการทำข้าวหลามขายเป็นอาชีพเสริมที่ควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและเผยแพร่ให้มีการทำจำหน่ายอย่างแพร่หลาย กลุ่มอาชีพการทำข้าวหลามให้อยู่คู่กับคนในท้องถิ่น การเผาข้าวหลามจะแตกต่างจากที่อื่น เพราะว่าใช้เผาในถังที่มี ขนาด 200 ลิตร จะทำให้ข้าวหลามสุกทั่วทั้งกระบอกสามารถเผาได้ทีละ30-40 กระบอก สะดวกกว่าการเผาแบบเดิม

ข้อมูลทั่วไป

อาชีพการทำข้าวหลาม :บ้านเวียงเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

สามารถหาซื้อกันได้ที: นางพิกุล รามศิริ กาดนวัตวิถี บ้านเวียงเหนือ หมู่ที่ 2 โทร 093-2597232




ภายถ่ายโดยวราภัสร์ ศรียา