ฐานแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา บ้านสบหก หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ฐานการเรียนรู้ฝายชะลอน้ำ ฝายเพื่อชีวิต

ปราชญ์ประจำฐานเรียนรู้ นายสมชาย งามสม

บ้านเลขที่ 86 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ความเป็นมา

ประมาณ ๕๐ กว่าปีก่อน บ้านสาสบหกถือว่ามีความยากจนมาก มีความแห้งแล้งกันดาร ชาวบ้านทำนาไม่ได้ผล ข้าวไม่พอกิน ต้องปลูกผัก/ยา เพื่อเอาไปแลกข้าว ชาวบ้านต้องเดินข้ามดอย(ภูเขา)ไปแลกข้าวบ้านทุ่งอุดม สาเหตุของความแห้งแล้วส่วนหนึ่งเนื่องมาจาก การตัดไม้ทำลายป่า การถางป่าทำไร่ เหมือนพื้นที่อื่นๆ

หลังจากนั้นสถานการณ์เริ่มดีขึ้น เมื่อมีการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหก ทำให้มีน้ำทำนา หน่วยงานต่างๆ เริ่มเข้ามาแนะนำการปลูกข้าวด้วยวิธีหยอดเมล็ด แต่ก็มีปัญหาเรื่องหญ้ามีมาก ความเป็นอยู่ดีขึ้น ชาวบ้านบางครอบครัวมีเงินออมแต่บางครอบครัวก็มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเพราะต้องส่งลูกเรียนหนังสือในเมือง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากร ชุมชนยังให้ความสำคัญ แต่การจัดการทรัพยากร ป่า ดิน น้ำ ยังไม่ปรากฏกิจกรรมที่บ่งบอกจิตสำนึกที่ชัดเจน ของชุมชน ชาวบ้านยังไม่รู้จักการทำ “ฝาย”

วัสดุปกรณ์/ ขั้นตอนการทำงาน

1. ไม้ไผ่ลำขนาด 1 – 1.5 นิ้ว ขนาดความยาว 1 – 1.50 เมตร

2. ไม้ไผ่ลำขนาด 3 – 4 นิ้ว ความยาวขึ้นอยู่กับความกว้างของลำห้วย

3. ไม้ไผ่ฟาก ยาวประมาณ 1 เมตร

4. หินใหญ่

5. ดิน

ขั้นตอนการทำงาน

1. สำรวจและคัดเลือกพื้นที่

2. ปรับพื้นที่ ขุดลอกดินก้นห้วยออกให้ลึกประมาณ 0.50 – 1.00 เมตรและกว้างประมาณ 1.00 เมตรตลอดแนวก่อสร้างโดยให้ขุดดินเข้าไปข้างลำห้วยด้านละประมาณ 0.50 – 1.00 เมตร

3. วางไม้ไผ่ขวางลำห้วย ซึ่งเจาะรูที่หัวและระหว่างข้อ ระยะห่างประมาณ 0.80 – 1.00 เมตร (ขึ้นอยู่กับความกว้างลำห้วย)

4. วางไม้ไผ่ ซึ่งเจาะรูที่หัวและท้ายปลายโผล่ประมาณ 20 เซนติเมตรวางตามยาวลำห้วย โดยให้รูของไม้ไผ่ที่วางลำห้วยและที่วาขวางตามยาวลำห้วยตรงกัน แล้วใช้ไม้ไผ่ขนาด 1 – 1.50 นิ้ว ตอกยึดให้ลึกลงในดินประมาณ 0.30- 0.50 เมตร แล้วเอาไม้ไผ่ที่เจาะรูตามขนาด ซึ่งเตรียมไว้ใส่สลับไขว้กันจนได้ระดับที่ต้องการ