การทำสบู่โฮมเมด

หลักสูตรการทำสบู่โฮมเมด

จำนวน 10 ชั่วโมง

กลุ่มอาชีพความคิดสร้างสรรค์

ความเป็นมา

สบู่เป็นเครื่องสำอางค์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เดิมใช้เพื่อทำความสะอาดร่างกายเท่านั้น ปัจจุบันกระบวนการผลิตสบู่มีการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เพื่อให้สบู่มีสรรพคุณตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่นมีสีสันที่สวยงามน่าใช้ มีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณทางยาในทางการค้ามีการใช้สารสงเคราะห์เพิ่มขึ้นทำให้ ผลิตภัณฑ์น่าใช้ แต่แฝงไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายมีสารพิษตกค้างและมีราคาที่แพง ปัจจุบันนิยมใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่แทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ จึงทำให้สมุนไพรเข้ามามีบทบาทในเรื่องของส่วนผสม ทำให้ผลิตภัณฑ์สบู่ที่ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติมีคุณลักษณะเฉพาะที่หลากหลายเช่นมีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะใช้ในการบำบัดโรค มีสีสันสวยงาม หาง่าย ราคาถูก ประหยัด ปลอดภัย ไร้สารสังเคราะห์ และไม่มีสารพิษตกค้าง จึงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของสบู่โฮมเมดที่มีคุณค่าอย่างยิ่งของภูมิปัญญาไทย

สบู่ธรรมชาติจะผลิตโดยใช้ไขมันจากพืชหรือสัตว์ผสมกับด่าง NaOH จะได้สบู่ธรรมชาติถือว่าเป็นสบู่ที่ดีเนื่องจากค่าความเป็นค่า pH (Power of hydrogen) คือที่อยู่ในระดับเดียวกับร่างกายและเป็นสภาวะที่ดีที่สุด นั่นคือ มีค่าเป็นกลางใกล้เคียงกับผิวพรรณมากที่สุดทำให้ไม่ค่อยมีความระคายเคืองต่อผิว ส่วนสบู่โฮมเมด ได้ถูกพัฒนาขึ้น อันเนื่องมาจากการผลิตสบู่แบบดั้งเดิม ที่สามารถเลือกน้ำมันที่มีคุณค่าทางความงาม เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันระกำ น้ำมันมะกอก จึงทำให้มีผู้ซึ่งผลิตโดยใช้โซเดียมไฮดอกไซด์เป็นด่างทำปฏิกิริยาเกิดเป็นกรดไขมัน ที่มีคุณสมบัติในการชะล้างมาอัดเป็นก้อนและผสมกลิ่นน้ำหอม และเติมสี จากธรรมชาติ สบู่ประเภทนี้ให้การชะล้างที่ดีมากและมีกลิ่น สี น่าใช้เพราะแต่งเติมไปด้วยกรรมวิธีใหม่ๆ ผู้ผลิตจึงควรเข้าใจในรายละเอียดของสบู่ สบู่ที่ดีจะต้องมีส่วนประกอบที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อผิว ซึ่งนอกจากจะทำให้สบู่ที่ใช้ทำความสะอาดผิวได้ดีแล้ว ยังสามารถบำรุงผิวได้อีกด้วยทั้งนี้ สบู่เป็นสิ่งที่ต้องใช้เป็นประจำทุกวัน หากคัดสรรวัตถุดิบนำมาทำสบู่ๆก็จะมีคุณภาพ จะทำให้เรามีสุขภาพผิวที่ดี สาเหตุที่คนในอดีตมีผิวพรรณที่สวยงามนั้น ก็เกิดจากการนำสมุนไพรมาขัดตัวไม่ว่าจะเป็นขมิ้น มะขาม ใยมะพร้าว และข้าวกล้อง ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและหาได้ไม่ยาก นำมาปรุงใช้เองโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการที่ยุ่งยาก ตามแบบฉบับภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในปัจจุบันสมุนไพรไทยได้รับความนิยมเป็นมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือคนไทยเอง ก็ได้เห็นถึงสรรพคุณ ประโยชน์ของสมุนไพรเหล่านี้ที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ไม่ว่าจะเป็น ยาสระผม เกลือขัดผิว ครีมนวด สบู่เหลว และสบู่ข้าวกล้องเพื่อให้สะดวกแก่การใช้และทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงคุณค่าของสมุนไพรไทย เป็นการสืบสานภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่สืบไป

หลักการของหลักสูตร

1. เป็นหลักสูตรที่เน้นการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

2. เป็นหลักสูตรที่เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้จริง

จุดหมาย

ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะในการทำสบู่โฮมเมดในการเสริมสร้างรายได้และเพื่อใช้ในครัวเรือน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียน

1. ผู้ที่ไม่มีอาชีพ

2. ผู้ที่มีอาชีพและต้องการพัฒนาอาชีพ

ระยะเวลา จำนวน 10 ชั่วโมง

โครงสร้างหลักสูตร

1. ช่องทางการประกอบอาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง

1.1 ความสำคัญและประโยชน์ของการทำสบู่โฮมเมด

1.2 การประกอบอาชีพการทำสบู่โฮมเมดและการทำสบู่โฮมเมดเพื่อเสริมสร้างรายได้

- คุณธรรม จริยธรรมสำหรับอาชีพในการทำสบู่โฮมเมด

1.3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำสบู่โฮมเมด

1.3.1 วัสดุ-อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ทำสบู่และวิธีใช้

1.3.2 อัตราส่วนผสมและการคัดสรรวัตถุดิบโฮมเมด

1.4 ข้อควรระวังและความปลอดภัยในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์

1.5 การเตรียมสถานที่

2. ทักษะการประกอบอาชีพโฮมเมด จำนวน 7 ชั่วโมง (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง ปฏิบัติ 6 ชั่วโมง)

2.1 การเตรียมสารตั้งต้น

2.2 การเตรียมวัตถุดิบเพิ่มสรรพคุณสบู่โฮมเมด

2.3 สารเติมแต่ง

2.4 ขั้นตอนการทำสบู่โฮมเมด

2.5 การออกแบบบรรจุภัณฑ์

3. การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)

3.1 การคำนวณต้นทุน และคำนวณราคาในการทำสบู่โฮมเมด

3.2 การศึกษาประโยชน์ของแบรนด์ผู้ผลิตสินค้า

3.3 การกำหนดคุณภาพ และการควบคุมมาตรฐานของการผลิตสินค้า

3.4 การประชาสัมพันธ์ การหาตลาดและลูกค้า

4. โครงการประกอบอาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง ( ทฤษฎี 1 ชั่วโมง )

4.1 ความสำคัญของโครงการ

4.2 ประโยชน์ของโครงการ

4.3 องค์ประกอบของโครงการ

4.4 การเขียนโครงการ

4.5 การประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของโครงการ

การจัดกระบวนการเรียนรู้

1. จัดกิจกรรมการสำรวจพื้นที่ชุมชนและทรัพยากร อาชีพ การรวมกลุ่มอาชีพและความต้องการของตลาด เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นช่องทางการประกอบอาชีพ

2. จัดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลการส่งเสริมอาชีพ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาประกอบอาชีพ

3. ฝึกทักษะการประกอบอาชีพ

- เรียนรู้จากวิทยากร

- เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง

สื่อการเรียนรู้

1. เอกสารการอบรม เช่น ใบความรู้ ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง เทคนิคส่วนผสม

2. วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ

3. วัสดุจริง

การวัดและประเมินผล

1. การประเมินความรู้ภาคทฤษฎีระหว่างเรียนและจบหลักสูตร

2. การประเมินผลงานระหว่างเรียนจาการปฏิบัติ ได้ผลงานที่มีคุณภาพสามารถสร้างรายได้ และจบหลักสูตร

การจบหลักสูตร

1. มีเวลาเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2. มีผลการประเมินตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

3. มีผลงานที่มีคุณภาพ

เอกสารหลักฐานการศึกษา

1. หลักฐานการประเมินผล

2. ทะเบียนคุมวุฒิบัตร

3. วุฒิบัตรการศึกษา ออกโดยสถานศึกษา

ในทางเคมี สบู่คือเกลือของกรดไขมัน สบู่ในบ้านเรือนใช้ชะล้าง อาบ และใช้ในการทำความสะอาดบ้าน โดยสบู่ทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิว และน้ำมันอิมัลซิไฟเออร์เพื่อให้สบู่ไหลไปกับน้ำได้ในอุตสาหกรรม สบู่ยังใช้กับการปั่นผ้า และเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารหล่อลื่นบางชนิด

สบู่สำหรับการชะล้างได้มาจากน้ำมันพืชหรือสัตว์ และไขมันที่มีค่าเบสสูง เช่น โซดาไฟ หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ในสารละลายในน้ำ ไขมันและน้ำมันเป็นส่วนประกอบของไตรกลีเซอไรด์ กล่าวคือ โมเลกุลของกรดไขมันสามโมเลกุลติดกับโมเลกุลของกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุลสาร

ประกอบอัลคาไลน์ที่มักถูกเรียกว่า ไล (lye) ชักนำให้เกิดกระบวนการการเปลี่ยนเป็นสบู่ (saponification)

ในปฏิกิริยานี้ ไขมันไตรกลีเซอไรด์จะสลายด้วยน้ำ (hydrolyze) กลายเป็นกรดไขมันอิสระ และกรดไขมันอิสระจะรวมกับอัลคาไลจนเกิดเป็นสบู่หยาบ หรือส่วนผสมของเกลือสบู่ ไขมันหรืออัลคาไลที่เกินมา น้ำ และกลีเซอรอลอิสระ (กลีเซอรีน) ผลพลอยได้คือกลีเซอรีนสามารถคงอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์สบู่ ทำหน้าที่เป็นสารที่ทำให้อ่อนโยน หรือถูกแยกออกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น

โดยคำว่า "สบู่" ในภาษาไทย เพี้ยนมาจากคำว่า "sabão" ในภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เชื่อว่าสบู่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยอยุธยา พร้อมกับชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขาย, รับราชการ และพำนักอยู่ในประเทศไทยในเวลานั้น

อุปกรณ์ วัตถุดิบ

1.ไม้พาย 2.ที่วัดอุณหภูมิ 1.น้ำมันมะกอก

3.ถ้วยตวง 4.กรวย 2.น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

5.ตะกร้อมือ 6.แม่พิมพ์ 3.โซเดียมไฮดรอกไซด์

7,ตะแกรงร่อน 8.ชาม 4.น้ำเปล่า

9.เครื่องชั่งดิจิทัล 10.เครื่องปั่นมือ

น้ำมันมะกอก 150 กรัม

น้ำมันมะพร้าว

สกัดเย็น 450 กรัม

โซเดียมไฮดรอกไซด์ 80 กรัม

น้ำเปล่า 239 กรัม

วิธีการทำ

1.นำโซเดียมไฮดรอกไซด์ 80 กรัม เทลงในน้ำเปล่าที่สะอาด 239 กรัม (ห้ามนำน้ำเทใส่โซเดียมไฮดรอกไซด์)ละลายทิ้งไว้ 24 ชม.ก่อนนำมาทำสบู่

2.นำน้ำมันมะกอก 150 กรัม เทผสม น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น 450 กรัม ผสมให้เข้ากัน

3.นำส่วนผสม ข้อที่ 1 มาผสมกับ ส่วนผสม ข้อที่ 2

4.นำเครื่องปั่นมือ ปั่นวัตถุดิบทุกอย่างให้ผสมกันจนเป็นเนื้อสบู่ดังวิธีโอ ประมาณ 30 นาที

5.ระหว่างปั่นสบู่ต้องคอยวัดอุณหภูมิ อย่าให้สบู่ร้อนเกิน 60 องศาเซลเซียส

6.เมื่อปั่นจนเนื้อสบู่ได้ที่ เทเนื้อสบู่ลงแม่พิมพ์ตามที่เตรียมไว้

7.นำสบู่ออกจากแม่พิมพ์ ทิ้งไว้ 1 เดือน จึงสามารถนำมาใช้งานได้ตามปกติ

วิดิโอวิธีการทำสบู่โฮมเมด