สวนสมุนไพร รพ.สต.พระธาตุขิงแกง

ปัจจัย 4 ของคนเราคือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระธาตุขิงแกง ร่วมกับชุมชนตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ได้สร้างทางเลือกทดแทนของยารักษาโรคแผนปัจจุบัน คือสมุนไพร ใกล้ตัวนี่เอง สมุนไพรที่นำมาบำบัดโรค ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย หาง่ายตามชุมชนและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระธาตุขิงแกงตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุขิงแกง ตั้งอยู่ห่างจากโรงพยาบาลจุน ประมาณ 9 กิโลเมตร เป็น รพ.สต.ขนาดกลาง รับผิดชอบทั้งหมด จำนวน 9 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 1,524 หลังคาเรือน สภาพทางกายภาพ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้( หาของป่า) ด้านทิศใต้ และทิศตะวันออกเป็นที่ราบ ทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และที่อยู่อาศัย มีต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ๒ สาย ได้แก่ ลำห้วยแม่วังช้าง และลำห้วยแม่ทะลาย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรกรรม จำนวนประชากรที่รับผิดชอบทั้งหมด 5,951 คน(ข้อมูลเดือนพ.ค. 2564 )พบว่ามีประชากรเพศหญิงมีมากกว่าเพศชาย ปิรามิดประชากรมีรูปร่างบานออกด้านบนแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของวัยผู้ใหญ่มีมากกว่าวัยเด็ก กลุ่มอายุที่มีมากที่สุดคือช่วงอายุ 50-54 ปี ร้อยละ 10.41 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 55-59 ปี ร้อยละ 9.31 กลุ่มช่วงวัยที่มีมากที่สุดคือวัยทำงาน อายุ 25-59 ปี ร้อยละ 54.62 ส่วนกลุ่มวัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 16.86 โดยไม่พบมีผู้สูงอายุที่อายุ 100 ปีขึ้นไป แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ในเขต รพ.สต.พระธาตุขิงแกง เริ่มก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ ในปี 2560 - 2564 สัดส่วนประชากรในเขตตำบลพระธาตุขิงแกงที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก ของ รพ.สต.พระธาตุขิงแกง มีจำนวนมากกว่าที่ไปรับบริการที่ รพ.จุน เนื่องจากการให้บริการคลินิกหมอครอบครัวในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและและสถานการณ์โรคโควิด – 19 จึงทำให้ประชาชนงดเดินทางออกนอกพื้นที่ อีกทั้งนโยบายรับยาที่บ้านโดยอสม.นำส่งยา จึงทำให้ลดความแออัดในการรอรับยาที่โรงพยาบาล สาเหตุการป่วยที่ทำให้ประชาชนตำบลพระธาตุขิงแกง เข้ารับบริการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคระบบทางเดินหานใจ จำนวน 1,731 ครั้ง รองลงมาได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,390 ครั้ง และโรคเบาหวาน จำนวน 1,384 ครั้ง โดยจำนวนผู้รับบริการรักษาพยาบาลด้วยโรควคามดันโลหิตสูงและเบาหวานมีจำนวนมากเนื่องจาก มีการให้บริการตรวจและติดตามในคลินิกหมอครอบครัวซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ


คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี มักพบในคนที่บริโภคผัก ธัญพืชผลไม้ ที่มีสัดส่วนมากว่าอาหารประเภทอื่น ๆ
ร่วมแรง ร่วมใจ สร้างสวนสมุนไพร กันเถอะ ประเด็นมุ่งเน้นการทำงานขององค์กร-พัฒนากลไล เฝ้าระวังเชิงรุก ผู้เดินทางมาในพื้นที่-ความพร้อมด้านอุปกรณ์คัดกรอง และการป้องกัน-ย้ำมาตรการ DMHTT-ระบบการสื่อสาร ทันเหตุการณ์-ความเข้าใจ ความร่วมมือในชุมชน

เก็บเกี่ยวผลผลิตกันเถอะเรา เพื่อสร้างคลีนิคครอบครัวปัญหาสุขภาพตำบลพระธาตุขิงแกงยาเสพติด / บุหรี่ / สุรา /เกษตรปลอดโรค / การจัดการขยะในชุมชน/การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม
ผลงานที่น่าชื่นชม ของรพ.สต.พระธาตุขิงแกง ในปี2563-25641.ผู้นำชุมชน คณะทำงาน พชต.พระธาตุขิงแกง และแกนนำด้านสุขภาพจิตเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน จัดเวรเข้าไปดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีญาติดูแล 2.นำข้อมูลกลุ่มเปราะบางในหมู่บ้าน มาหาสาเหตุ และปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดโรค ใช้แผนที่เดินดินเป็นเครื่องมือ 3.จัดทำแผนการพัฒนากลุ่มและขยายเครือข่ายครอบครัวกลุ่มเปราะบาง (เครือข่ายญาติ/ครอบครับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และกลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย) การสร้างรายได้ สร้างอาชีพ หางานทำ 4.จัดตั้งกลุ่มที่มีคณะกรรมการ , มีระเบียบปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเพื่อช่วยเหลือกันในชุมชน เช่น ทำประชาคม/ มาตรทางสังคมการงดขายเหล้าในวันพระ งดจำหน่ายในเด็ก ต่ำกว่า 18 ปี ยุบโรงเหล้าจาก 5 โรง เหลือ 2 โรง 5.สร้างทัศนคติ และบุคคลต้นแบบในชุมชน โดยจัดทำโครงการครอบครัวอบอุ่น รร.ผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ความรักและห่วงใยในครอบครัว
มาบำบัด รักษา ด้วยแพทย์แผนไทย และสมุนไพรไทยกันรพ.สต.พระธาตุขิงแกง มีเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 9 หมู่บ้าน มีจำนวนอสม.หมอประจำบ้าน 19 คน รับผิดชอบเฉลี่ย 1 คนต่อ 80 ครัวเรือน หมอสาธารณสุขจำนวน 6 คน รับผิดชอบเฉลี่ย 1 คนต่อ 80 ครัวเรือน และมีนายแพทย์กิตติวัฒน์ เผ่ากันทะ จากโรงพยาบาลจุน เป็นหมอครอบครัว รับผิดชอบทั้งหมด 1,524 ครัวเรือน โดยทั้ง 3 หมอประจำตัว ทำหน้าที่ในการเชื่อมประสานติดต่อข้อมูลการดูแลประชาชนในพื้นที่ร่วมกัน ตามนโยบาย ปี 2564 คนไทยทุกคน มีหมอประจำตัว 3 คน



ทีมงานคุณภาพ ทีมงานสมุนไพร ใกล้ตัว รพ.สต.พระธาตุขิงแกงทางเลือกทดแทนของยารักษาโรคแผนปัจจุบัน คือสมุนไพร ใกล้ตัวนี่เอง สมุนไพรที่นำมาบำบัดโรค ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย หาง่ายตามชุมชนและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน