ข้อมูลชุมชน

ข้อมูลพื้นฐานตำบลพระธาตุขิงแกง

1. สภาพทั่วไป

ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอจุน ประมาณ 9 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา ประมาณ 54 กิโลเมตร

พื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุขิงแกง มีพื้นที่ประมาณ 78 ตารางกิโลเมตร หรือ 48,750 ไร่

2. ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพทางกายภาพ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้ ด้านทิศใต้ และทิศตะวันออกพื้นที่ราบด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยพื้นที่ป่าไม่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือน้ำแม่ทะลาย และน้ำแม่วังช้าง

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลจุน อำเภอจุน

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบล งิม อำเภอปง

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลนาปรัง อำเภอปง

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลจุน อำเภอจุน

3. จำนวนหมู่บ้าน มีทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านแม่วังช้าง

หมู่ที 2 บ้านแม่ทะลาย

หมู่ที่ 3 บ้านธาตุสันติธรรม

หมู่ที่ 4 บ้านธาตุขิงแกงล่าง

หมู่ที่ 5 บ้านธาตุขิงแกงบน

หมู่ที่ 6 บ้านธาตุสันทุ่งใต้

หมู่ที่ 7 บ้านธาตุสันดงทอง

หมู่ที่ 8 บ้านธาตุสันติสุข

หมู่ที่ 9 บ้านธาตุขิงแกงใหม่

4. ประชากร

ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ขององค์การบริหารส่วนตำบลพระตุขิงแกง มีประชากรทั้งสิ้น 5,076 คน แยกเป็น ชาย 2,521 คน หญิง 2,555 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 6.09 คน/ตารางกิโลเมตร โดยแยกเป็นแต่ละหมู่บ้าน ดังนี้

5. สภาพทางเศรษฐกิจ

5.1 การประกอบอาชีพ ประชาชาชนส่วนใหญ่ในตำบลพระธาตุขิงแกง มีอาชีพ เกษตรกรรม คือ การทำนา ทำไร่ และประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น ค้าขาย รับจ้าง และ ข้าราชการ การว่างงานในเขตตำบลพระธาตุขิงแกง ส่วนเป็นแรงงานภาคเกษตรที่รอฤดูการทำเกษตร

5.2 หน่วยธุรกิจ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุขิงแกง

- ปั้มน้ำมันขนาดเล็ก จำนวน 7 แห่ง

- โรงสี จำนวน 15 แห่ง

- ร้านค้า จำนวน 31 แห่ง


6.3 ด้านสาธารณสุข

1. มีสถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง คือ สถานีอนามัยพระธาตุขิงแกง

2. มีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง

ข้อมูลอื่น ๆ

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

1. วัดพระธาตุขิงแกง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ตั้งอยู่ บ้านธาตุขิงแกง หมู่ที่ 5 เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่

2. มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ มีสภาพป่าต้นน้ำลำธาร บริเวณป่าขุนน้ำแม่ทะลาย มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ เป็นป่าไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ ม.2 บ้านแม่ทะลาย มีเนื้อที่ประมาณ 8,000 ไร่


สภาพทางสังคมการศึกษา

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีเด็กนักเรียน มีเด็ก จํานวน 59 คน

2.โรงเรียนบ้านธาตุขิงแกง หมู่ที่ 9 มีเด็กนักเรียนจํานวน 315 คน

3.โรงเรียนบ้านแม่วังช้าง หมู่ที่ 1 มีเด็กนักเรียน จํานวน 52 คน

4.โรงเรียนบ้านแม่ทะลาย หมู่ที่ 2 มีเด็กนักเรียน จํานวน 41 คน

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

การนับถือศาสนาประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีพุทธสถานดังนี้

1.วัดพระธาตุขิงแกง หมู่ที่ 5

2.วัดบ้านธาตุ หมู่ที่ 3

3.วัดแม่ทะลาย หมู่ที่ 2

4.วัดแม่วังช้าง หมู่ที่ 1

5.วัดม่อนทรายขาว หมู่ที่ 2

6.สํานักปฏิบัติธรรม หมู่ที่ 8

สาธารณสุข

โรงพบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตําบลพระธาตุขิงแกง ตั้งอยู่ที่บ้านธาตุขิงแกงใหม่ หมู่ 9


ประเพณีและงานประจําปี

ประเพณีกินข้าวสลาก – เป็นประเพณีสลากภัต (ตานก๋วยสลากถูกจัดขึ้นทุกปี,เว้นปีหรือทุก 3 ปี ตามแต่ความพร้อมในแต่ละพื้นที่) เป็นพิธีถวายไทยทานแก่พระสงฆ์วิธีหนึ่งอันเป็นที่นิยมของชาวเหนือ โดยทั่วไปจะเริ่มในวันเพ็ญเดือน 12 เหนือ (กันยายน) ถึงแรม 1 คํ่า เดือนเกี๋ยงดับ (พฤศจิกายน) ประเพณีตานประทีปโคมไฟ- ประเพณีตานประทีปโคมไฟ เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของทางล้านนา ประทีปโคมไฟจะบูชารอบพระธาตุเจ้าขิงแกง ซึ่งเชื่อกันว่าการถวายประทีปโคมไฟ จะได้รับอานิสงส์หลายประการตามความเชื่อ

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุขิงแกง- วัดพระธาตุขิงแกง เป็นวัดเก่าแก่ที่สําคัญ เป็นโบราณสถานที่สําคัญ และเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในอําเภอจุนและตําบล พระธาตุขิงแกงมายาวนานซึ่งทุก ๆ ปี ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 จะมีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุขิงแกง ถือเป็นประเพณีความเชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

➢ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตตําบลพระธาตุขิงแกงได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทําเครื่องจักสานสําหรับใช้ในครัวเรือน และวิธีการทอผ้า (ผ้าตีนจก)

➢ภาษาถิ่น ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาคําเมือง

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

ประชาชนในเขตตําบลพระธาตุขิงแกงได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จําหน่ายบ้างได้แก่ เครื่องจักสานที่ทําจากไม้ไผ่ ตะกร้าลายดาว ส่วนการทอผ้านั้นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในชื่อ ผ้าทอตีนจกบ้านแม่วังช้าง

ทรัพยากรธรรมชาติ

น้ำในพื้นที่ตําบลมีน้ำเพื่อการบริโภคเพียงพอเพราะแต่ละหมู่บ้านจะมีระบบประปาประจําาหมู่บ้าน แต่ไม่มีน้ำสําหรับทําการเกษตร มีอ่างเก็บน้ำ จํานวน 2 แห่ง ได้แก่

1.อ่างเก็บน้ำแม่วังช้าง หมู่ที่ 1

2.อ่างเก็บน้ำแม่ทะลาย หมู่ที่ 2


ป่าไม้

พื้นที่ป่าไม้ในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลพระธาตุขิงแกงเป็นป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง เป็นแหล่งต้นน้ำลําธารที่สําคัญ 2 สาย ได้แก่ ลําห้วยแม่วังช้าง และลําห้วยแม่ทะลาย โดยประชากรในพื้นที่ใช้แหล่งน้ำทั้งสองสายนี้เพื่อทําการเกษตรกรรม

ภูเขา

พื้นที่ตําบลพระธาตุขิงแกงห้อมล้อมด้วยภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ ทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ป่าตะเคียนงาม

ที่มีสภาพป่าต้นน้ำลําธาร บริเวณป่าขุนน้ำแม่ทะลาย มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นตะเคียนขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ ประมาณ 8,000 ไร่

มีสัตว์ป่าของท้องถิ่นที่สําคัญอยู่หลายชนิด ได้แก่ นกยูง เลียงผา เก้ง กวาง ไก่ฟ้า กระรอก อีเห็น งูชนิดต่างๆนกเขา ลิงลม หมี หมาป่า กระจง ตะกวด ลิงวอก นกกระราง หมูป่า เป็นต้น

การท่องเที่ยว

ตําบลพระธาตุขิงแกงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญดังนี้


วัดพระธาตุขิงแกง

วัดพระธาตุขิงแกง วัดเก่าแก่ที่สำคัญของอําาเภอจุน พระธาตุขิงแกงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ องค์พระธาตุได้บรรจุพระเกศาธาตุและพระธาตุกระดูกเท้าข้างขวาของพระพุทธเจ้าไว้ อยู่ห่างจากอําเภอจุนออกไปประมาณ 8 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 1091 จุน-ปง ก่อนถึงถึงโรงเรียนบ้านธาตุขิงแกง ซึ่งวัดพระธาตุขิงแกงตั้งอยู่บนเนินเขา มีเนื้อที่กว้างบรรยากาศสงบร่มรื่น สามารถมองเห็นทัศนียภาพของหมู่บ้านขิงแกงได้อย่างชัดเจน โดยลักษณะของเจดีย์พระธาตุขิงแกงนั้นเป็นเจดีทรงล้านนาขนาดใหญ่ ฐานกว้างด้านละ 15 เมตร สูง 20 เมตร ประดิษฐานพระพุทธรูปในซุ้มเรือนแก้วทั้งสี่ด้านช่วงกลางองค์ เจดีประดับกระจกสี มีกําาแพงแก้วล้อมรอบและเจดีบริวารทั้ง สี่มุม ด้านนอกกําาแพงแก้วมีรูปปั้น ครูบาศรีวิชัย ผู้มีบทบาทสําคัญในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ จัดว่าเป็นวัดที่มีประวัติยาวนานและมีความเป็นพุทธศิลป์อันงดงามตระการตา

ป่าตะเคียนงาม

“ป่าตะเคียนงาม” เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ อยู่ติดกับบริเวณอ่างแม่ทะลาย (วังมัจฉา) เป็นแหล่งท่องเที่ยวของผู้ที่รักธรรมชาติ เพราะเต็มไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ที่สําาคัญมีต้นตะเคียน อายุมากว่า 50 ปี จํานวนมากพร้อมทั้งยังมี ต้นพระเจ้า 5 พระองค์

ผาสะโตก

เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ผาสะโตก ยอดเขาในพื้นที่เขตติดต่อ หมู่ที่ 1 และ 2 ตําบลพระธาตุขิงแกง อําเภอจุนจังหวัดพะเยา ที่สามารถชมทะเลหมอกได้ 360 องศา ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวตื่นเข้าชมทะเลหมอกกันคึกคัก ขณะที่ทางองค์การบริหารส่วนตําบลพระธาตุขิงแกง เตรียมพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เนื่องจากสามารถชมทะเลหมอกที่สวยงามได้รอบทิศ ทะเลหมอกที่เข้าปกคลุมระหว่างขุนเขาเป็นเวิ้งกว้าง รอบทิศทางผาสะโตก ยอดเขาในพื้นที่เขตติดต่อ หมู่ที่ 1 และ2 ตําบลพระธาตุขิงแกง อําเภอจุน จังหวัดพะเยา สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่เดินทางมาชมและสัมผัสบรรยากาศทะเลหมอกที่นี่เป็นอย่างมาก หลังชาวบ้านในพื้นที่เริ่มเห็นทะเลหมอกเกิดขึ้นที่นี่ อย่างสวยงามในช่วงปีนี้ ซึ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจกับผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก และมีการบอกกล่าวและเผยแพร่ผ่านโลกโซเซี่ยลจนเป็นที่ฮือฮาของคนที่ได้พบเห็น และในช่วงนี้เริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าชมความงามของทะเลหมอกที่นี่อย่างต่อเนื่อง จนทําให้บรรยากาศการท่องเที่ยวช่วงนี้เป็นไปอย่างคึกคักขณะที่องค์การบริหารส่วนตําบลพระธาตุขิงแกง อําเภอจุน จังหวัดพะเยา เตรียมพัฒนาพื้นที่ทั้งถนนและลานผาสะโตกให้เป็นจุดชมทะเลหมอกและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ของอําเภอจุน ซึ่งมีระยะทางเดินทางไม่ไกลมากนักจากตัวเมืองสําหรับทะเลหมอกผาสะโตกนั้น เป็นทะเลหมอกที่สามารถชมได้รอบทิศทาง 360 องศา เป็นเขาที่มีเขตรอยต่อระหว่างอําเภอจุนกับอําเภอปง ซึ่งการเกิดทะเลหมอกที่นี่สามารถที่จะชมได้จนถึงเวลา 8 นาฬิกาในช่วงนี้ที่เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเต็มตัว

วังมัจฉา

อ่างเก็บน้ำแม่ทะลายอ่างเก็บน้ำแม่ทะลาย (วังมัจฉา) เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ป่า เขา อยู่ก่อนถึงทางที่จะเข้าไปในป่าใหญ่ตะเคียนงาม เหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อน ซึ่งแม้จะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก แต่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และเป็นความภูมิใจของชาวอําเภอจุนที่รู้จักการเก็บรักษาคุณค่าของแหล่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก่น เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กกว่าอ่างแม่ทะลาย (วังมัจฉา) อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ป่า เขา เหมาะสําหรับเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และสํารวจระบบนิเวศน์”