ตัวชี้วัดที่ 3.1
การกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนและเครือข่าย
ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนและเครือข่าย โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นฐานเพื่อเป็นแนวทางเชิงรุกในการพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพผู้เรียน ศึกษานโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำกระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA และหลักการมีส่วนร่วมมาใช้ในการบริหารงาน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี 2567 และที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี มีการบริหารงานตามโครงสร้างการบริหาร 5 ฝ่าย ดำเนินการประชุมกำหนดข้อตกลงในการพัฒนาร่วมกับคณะครู ดังนี้
1.จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2.มีการกำหนดนโยบาย แผนกลยุทธ์ ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย ปฏิบัติตามแผนการพัฒนาคุณภาพและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.สร้างความเข้าใจตรงกัน กับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการกำหนดทิศทางของสถานศึกษา
4.ใช้หลักบริหารการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ผลการดำเนินงาน
1. ผู้เรียน : ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีแนวทางการพัฒนา การยกระดับผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
2. ครู : ตระหนักให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาไปตามวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา ที่กำหนดไว้
3. สถานศึกษา : มีทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาที่ชัดเจน โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนบริหารงานมากยิ่งขึ้น มีส่วนร่วมและเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดี