รายวิชา วิทยาการคำนวณ ม.1

เกณฑ์การวัดผลประเมินผล þ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ¨ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 

รายวิชา   วิทยาการคำนวณ   รหัสวิชา   ว21103    ระดับชั้น ม.1

1.    คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาแนวคิดเชิงนามธรรม การคัดเลือกคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา ขั้นตอนการแก้ปัญหา

การเขียนรหัสลำลองและผังงาน การเขียนออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย ที่มีการใช้งานตัวแปร เงื่อนไข และการวนซ้ำ เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ การประมวลผลข้อมูล การสร้างทางเลือกและประเมินผลเพื่อตัดสินใจ ซอฟต์แวร์และบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการจัดการข้อมูล แนวทางการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ปลอดภัย การจัดการอัตลักษณ์ การพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา ข้อตกลงและข้อกำหนด การใช้สื่อและแหล่งข้อมูล

นำแนวคิดเชิงนามธรรมและขั้นตอนการแก้ปัญหา ไปประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรม หรือการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวบรวมข้อมูลและสร้างทางเลือก ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและตระหนักถึงการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และไม่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น

          ศึกษาอธิบายความหมายของเทคโนโลยี วิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การทำงานของระบบทางเทคโนโลยี ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และทรัพยากร โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบและเลือกข้อมูลที่จำเป็นเพื่อออกแบบวิธีการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันในด้านการเกษตรและอาหาร และสร้างชิ้นงานหรือพัฒนาวิธีการโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม รวมทั้งเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

2.    สาระการเรียนรู้

          สาระที่ 4 เทคโนโลยี

 

3.    ตัวชี้วัด

มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

ม. 1/1 อธิบายแนวคิดหลักของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันและวิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

ม. 1/2 ระบุปัญหาหรือความต้องการในชีวิตประจำวัน รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

ม. 1/3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็น นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา

ม. 1/4 ทดสอบ ประเมินผล และระบุข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนำเสนอผลการแก้ปัญหา

ม. 1/5 ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัย

มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

ม. 1/1 ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรมเพื่อแก้ปัญหาหรืออธิบายการทำงานที่พบในชีวิตจริง

ม. 1/2 ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์

ม. 1/3 รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ประมวลผล ประเมินผล นำเสนอข้อมูล และสารสนเทศ ตามวัตถุประสงค์โดยใช้ซอฟต์แวร์ หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย

ม. 1/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ใช้สื่อและแหล่งข้อมูลตามข้อกำหนดและข้อตกลง

 

4.  เกณฑ์การผ่านของเวลาเรียน 32/40 ชั่วโมง

 

5.  อัตราส่วนคะแนน      80 : 20

 

6.  คะแนนเต็ม     100     คะแนน   แบ่งดังนี้

6.1          คะแนนระหว่างภาค        80             คะแนน ประกอบด้วย

6.1.1  คะแนนเก็บก่อนสอบกลางภาค                 30      คะแนน

6.1.1.1 จำนวนชิ้นงาน                       2       ชิ้น                  20              คะแนน

6.1.1.2 ทดสอบย่อย                          1       ครั้ง                 10              คะแนน

6.1.2  คะแนนสอบกลางภาค                           20      คะแนน

6.1.3  คะแนนหลังสอบกลางภาค                      30      คะแนน

6.1.3.1 จำนวนชิ้นงาน                       2        ชิ้น                   20             คะแนน

6.1.3.2 ทดสอบย่อย                          1        ครั้ง                  10             คะแนน

6.2          คะแนนปลายภาคเรียน                     20      คะแนน

 

7.  วิธีวัดผลประเมินผล

          เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน

 

8.  เกณฑ์การตัดสินผลการเรียน

 

 

9.  รายการวัดผลประเมินผล

9.1          วัดผลตามหน่วยการเรียนรู้ มีทั้งหมด   6   หน่วยการเรียนรู้

เก็บคะแนน        60      คะแนน 

ก่อนกลางภาค

9.1.1 หน่วยที่ 1 แนวคิดเชิงนามธรรม การแก้ปัญหา และการโปรแกรม

        10   คะแนน   ตัวชี้วัดที่  ว4.2 ม.1/1, ว4.1 ม.1/2,

9.1.2 หน่วยที่ 2 ข้อมูลและการประมวลผล

        10   คะแนน   ตัวชี้วัดที่  ว4.2 ม.1/3

9.1.3 หน่วยที่ 3 การเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย    

        10   คะแนน   ตัวชี้วัดที่  ว4.2 ม.1/4

หลังกลางภาค

9.1.4 หน่วยที่ 4 เทคโนโลยีรอบตัว          

        10   คะแนน   ตัวชี้วัดที่  ว4.1 ม.1/1

9.1.5 หน่วยที่ 5 วัสดุและอุปกรณ์

        10   คะแนน   ตัวชี้วัดที่  ว4.1 ม.1/5

9.1.6 หน่วยที่ 6 การแก้ปัญหาตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

        10   คะแนน   ตัวชี้วัดที่  ว4.1 ม.1/2, ว4.1 ม.1/3, ว4.1 ม.1/4,

ว4.1 ม.1/5

9.2          สอบกลางภาค   ตัวชี้วัดที่  ว 4.2 ม. 1/3           

เก็บคะแนน                20      คะแนน

9.3          สอบปลายภาค   ตัวชี้วัดที่  ว 4.1 ม. 1/5 

เก็บคะแนน                20      คะแนน

 

 

10.ประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์         8        ข้อ  ดังนี้

10.1  รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

10.2  ซื่อสัตย์สุจริต

10.3  มีวินัย

10.4  ใฝ่เรียนรู้

10.5  อยู่อย่างพอเพียง

10.6  มุ่งมั่นในการทำงาน

10.7  รักความเป็นไทย

10.8  มีจิตสาธารณะ

 

11.      ประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ         5       ข้อ ดังนี้

11.1  สามารถคัดสรรสื่อที่ต้องการอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศได้ตามวัตถุประสงค์ สามารถสร้างความเข้าใจและประยุกต์ใช้ความรู้จากการอ่าน

11.2  สามารถจับประเด็นสำคัญและประเด็นสนับสนุน โต้แย้ง

11.3  สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ ความสมเหตุสมผล ความน่าเชื่อถือ ลำดับความและความเป็นไปได้ของเรื่องที่อ่าน

11.4  สามารถสรุปคุณค่า แนวคิด แง่คิดที่ได้จากการอ่าน

11.5  สามารถสรุป อภิปราย ขยายความ แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง สนับสนุน โน้มน้าว โดยการเขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ผังความคิด เป็นต้น