หลักการใช้สีและแสงสีในคอมพิวเตอร์

ระบบสี RGB

ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึมจะเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ้ง (Spectrum) ซึ่งแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด เหลือง ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสี ที่มีช่วงคลื่นที่สายตาสามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุดคลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วงเรียกว่า อุลตราไวโอเลต ( ultraviolet ) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสงที่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด (Infrared) คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำ กว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้ และเมื่อศึกษาดูแล้วแสงสีทั้งหมดเกิดจากแสงสี 3 สี คือ สีแดง (Red) สีน้ำเงิน (Blue) และสีเขียว (Green) ทั้งสามสีถือเป็นแม่สีของแสง ซึ่งใกล้เคียงกับตามนุษย์มากที่สุด และแต่ละช่องสีจะสามารถสร้างระดับสีได้ 256 ระดับ ดังนั้นจึงสามารถสร้างสีที่แตกต่างกันได้ถึง 16,777,216 สีต่อ 1 พิกเซล เมื่อนำมาฉายรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่ อีก 3 สี คือ สีแดงมาเจนต้า (Magenta) สีฟ้าไซแอน (Cyan) และสีเหลือง (Yellow) และถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาว จากคุณสมบัติของแสงนี้เราได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป ในการฉายภาพยนตร์ การบันทึกภาพวีดีโอ ภาพโทรทัศน์การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์ และการจัดแสงสีในการแสดง เป็นต้น ดังรูปภาพที่ 2-1

รูปภาพที่ 2-1

ระบบสี CMYK

ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้าอมเขียว) magenta (แดงอมม่วง) yellow (เหลือง) key (สีดำ - ไม่ใช้ B แทน black เพราะจะสับสนกับ blue) ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้ การผสมสีทั้งสี่นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ ซึ่งปกติการเลือกใช้สีนั้น จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบคือ CMYK และ RGB สามารถแบ่งแยกประเภทการใช้งานได้ง่ายๆ นั้นก็คือ ถ้าเป็นสีที่ต้องพิมพ์ออกมา ไม่ว่าจะพิมพ์ในรูปแบบใดก็ตาม จะต้องใช้ค่าสีของ CMYK แต่ถ้าต้องการสีที่แสดงผลออกทางหน้าจอ ก็จะเลือกใช้ RGB เท่านั้น ซึ่งหลักการดังกล่าว ในปัจจุบัน ยังมีผู้มีความเข้าใจในส่วนนี้น้อยมาก เนื่องจากว่า นักออกแบบมือสมัครเล่น หรือ มือใหม่ เวลาต้องการจะทำงานประเภทสิ่งพิมพ์ ก็มักตั้งค่าสีเป็น RGB เพราะว่าค่าสีดังกล่าวสีสดกว่า แต่เมื่อสั่งพิมพ์แล้ว ทำให้ค่าสีที่ออกมาผิดเพี้ยน มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสีที่เลือก เช่น เลือกสีแดง อาจจะได้สีชมพู เหลือสีม่วง อาจจะได้สีน้ำเงิน ดังนั้นผู้ที่ใช้โหมดสีควรจะทำความเข้าใจของงานให้มาก เพื่องานที่ออกมาจะได้ค่าสีที่ตรงกับความต้องการ ดังรูปภาพที่ 2-2

รูปภาพที่ 2-2

ระบบสี Grayscale

ระบบสีแบบ Grayscale จะจัดการแต่ละพิเซลในแบบ 8 บิต เหมือนเป็นสวิทท์ เปิด - ปิด แสง 8 อัน เพื่อสร้างเป็น 1 สีดำ, 1 สีขาว, และ 254 ระดับสีเทา มักใช้กับภาพขาว - ดำ หรือแปลงภาพสีเพื่อไปใช้ในงานพิมพ์แบบขาว - ดำ ซึ่งทำให้ขนาดของไฟล์ลดลง 2 ใน 3 ของ RGB ดังรูปภาพที่ 2 - 3

รูปภาพที่ 2-3

ระบบสี Bitmap

ระบบสีแบบ Bitmap จะประกอบด้วยสี 2 สี คือ ขาวและดำ บางครั้งเรียกว่า ภาพแบบ 1 บิต ซึ่งแต่ละพิกเซลในภาพจะเป็นได้เพียงขาว หรือ ดำ เท่านั้น มักใช้กับภาพที่วาดหมึกดำ, ภาพลายเส้น, ภาพสเกตซ์ เป็นต้น ดังรูปภาพที่ 2 - 4

รูปภาพที่ 2-4

ระบบสี HSB

ระบบสีแบบ HSB เป็นระบบสีที่เลียนแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

Hue คือ สีต่างๆที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นต้น

Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก

Brightness คือ ระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อย ซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด ดังรูปภาพที่ 2-5

รูปภาพที่ 2-5

ระบบสี Lab

ระบบสีแบบ Lab เป็นระบบสีแบบเก่าที่ถูกกำหนดขึ้นในฝรั่งเศส โดยสร้างขึ้นเพื่อใช้วัดสีที่ตาของเราสามารถรับได้ แต่เนื่องจากขณะนั้นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังไม่ถือกำหนดขึ้น ดังนั้น ระบบสี Lab นี้จึงไม่ขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และระะบบปฏิบัติการใดโดยเฉพาะ ระบบสี Lab จะวัดแสงและสีโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

L หรือ Lightness เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว

a เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปเป็นแดง

b เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง

ระบบสี Lab นี้จะใช้ได้ดีกับภาพที่นำมาจาก Photo CD หรือ DVD, หรือภาพที่โดนย้ายระหว่างระบบปฏิบัติการ เช่น จาก Photoshop Mac ไปยัง Photoshop Win และภาพที่จะนำไปพิมพ์ในเครื่องพิมพ์แบบ PostScript Level 2 หรือ 3 ดังรูปภาพที่ 2-6

รูปภาพที่ 2-6

ระบบสี Indexed

ระบบสีแบบ Indexed จะมีข้อได้เปรียบ 2 ประการ คือ เราสามารถสร้างภาพที่มีขนาดไฟล์เล็กเท่าแบบ Grayscale (พิกเซลขนาด 8 บิต) และสามารถใส่สีแทนระดับสีเทาได้โดยจะสร้างสีได้ 256 สี เท่ากับระดับสีเทาเป็นภาพแบบ Grayscale

จากทฤษฎีสี สีที่เกิดขึ้นในวงจรสีนั้น ต่างมีคุณลักษณะต่างๆที่สามารถนำมาใช้ในการสร้างสรรค์งานด้านศิลปะงานออกแบบ หรืองานอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้มากมายการใช้สีหรือการนำสีไปใช้ในลักษณะ ต่างๆ เป็นการประยุกต์หรือดัดแปลงไปจากการจัดระบบสีเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใดๆ ควรคำนึงถึงความ เหมาะในด้านต่างๆ เช่น ความสวยงาม ความกลมกลืน ความน่าสนใจและความสอดคล้องกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์งาน เพราะสีสามารถทำให้ผลงานนั้นดูมีคุณค่าและด้อยค่าลงได้ หากใช้ไม่ถูกต้อง ดังนั้นการใช้สีจึงจำ เป็นต้องคำนึงถึงหลักการของสีเพื่อให้ได้ผลงานที่ถูกต้อง สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งหลักการใช้สีมีอยู่หลายประการดังนี

1. การใช้สีเอกรงค์ (Monochrome) หมายถึงการใช้สีเดียว หรือการใช้สีที่แสดงความเด่นชัด ออกมาเพียงสีเดียวแต่มีการลดหลั่นกัน ในเรื่องน้ำหนักสีเพื่อให้เกิดความแตกต่างวิธีการใช้สีเอกรงค์ คือจะใช้สีใดสีหนึ่งที่เป็นสีแท้(Hue)หรือมีความสด (Intensity) เป็นตัวยืนเพียงสีเดียวให้เป็น จุดเด่นของภาพ ส่วนประกอบรอบๆนั้นจะใช้สีเดียวกันแต่ลดความสดของสีให้น้อยกว่าสีหลัก สีที่นำมาเป็นส่วนประกอบอาจแบ่งน้ำหนักได้

2. การใช้สีกลมกลืน (Harmony)หมายถึงการเคียงคู่กันของสีต่างๆ ซึ่งไปด้วยกันโดยไม่ขัดแย้ง หรือ ตัดกัน ความกลมกลืนของสีทำได้หลายลักษณะคือ

2.1 กลมกลืนด้วยค่าของน้ำหนักของสีๆเดียว(Total Value Harmony) คือการใช้สียืนเพียงสี เดียวแต่มีค่าหลายน้า หนักหรือเป็นแบบเดียวกับ สีเอกรงค์อาจใช้การผสมสีขาวให้น้ำหนักอ่อนลงและผสมสีดำ ให้น้ำหนักเข้มข้น

2.2 กลมกลืนโดยใช้สีใกล้เคียง (Simple Harmony) เป็นการใช้สีข้างเคียงกัน ในวงจรสีซึ่งมีลักษณะสีใกล้เคียงกัน เช่น ม่วง - ม่วงน้ำ เงิน - น้ำ เงิน หรือเขียวเหลือง - เขียว - เขียวน้ำ เงิน

2.3 สีกลมกลืนโดยใช้สีคู่ผสม (Two Colours Mixing) หมายถึง สีคู่ใดคู่ใบหนึ่งที่ผสมกันแล้ว ได้สีที่ 3 เช่น สีน้ำเงิน ผสมกับ สีเหลืองได้สีเขียวแล้วนำทั้ง 3 สีมาใช้ในงานเดียวกัน

2.4 สีกลมกลืนโดยใช้วรรณะของสี (Tone) หมายถึง นำสีในกลุ่มวรรณะเดียวกันมาจัดอยู่ด้วยกัน เช่น สีในวรรณะร้อน เช่น แดง ส้ม เหลือง ม่วงแดง หรือสีในวรรณะเย็น ได้แก่ น้ำเงิน ม่วง เขียว เขียวน้ำเงิน เป็นต้น

3. การสร้างสภาพสีโดยรวม (Tonality) หมายถึงการทา ให้เป็นสีโดยภาพรวม หรือเป็นโครงสีส่วนใหญ่ที่ปกคลุมหรือครอบงา สีอื่นอยู่ ถึงแม้ในรายละเอียดส่วนอื่นอาจมีสีอื่นๆปะปนอยู่ก็ตาม แต่ก็ไม่ทา ให้ภาพสีโดยรวมขัดแย้งกัน เกินไป การใช้สีโดยรวมช่วยให้ภาพมีความกลมกลืนและมีเอกภาพ

4. การใช้สีขัดกัน (Discord) หมายถึงการกลับค่าของน้ำหนักระหว่างสีแก่กับสีอ่อน โดยการกลับ สีที่แก่มาเป็นสีอ่อนด้วยการผสมสีขาว หรือทา ให้เจือจางลง เพื่อให้มีน้ำหนักอ่อนกว่าอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสีที่อ่อน แต่ปรับให้เป็นสีแก่ โดยการผสมสีดำ หรือสีเข้ม เพื่อเพิ่มน้ำหนักสีให้เข้มข้นแล้วนำมาจัดเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความ แตกต่างหรือความขัดแย้งที่เหมาะสม ทำให้ผลงานดูมีจังหวะ น่าสนใจกว่า การใช้สีกลมกลืนซึ่งอาจดูช้าๆๆ และจืดชืดการกลับค่าของสีมักใช้เพื่อแต่งแต้ม ภาพเป็นบางจุดให้เกิดความน่าสนใจ ซึ่งมักจะใช้คู่สีระหว่างสีแก่กับสีอ่อนที่มีความเข้มต่างกันอย่างชัดเจน เช่น โครงสีของภาพเป็นสีเหลืองซึ่ง เป็นสีอ่อน แต่กลับเพิ่มน้ำหนักสีให้เข้มข้น ขณะเดียวกัน ก็นำสีม่วงซึ่งเป็นสีแก่มาลดค่าน้ำหนักลงให้อ่อนกว่า สีเหลือง โดยการนา มาเป็นส่วนประกอบในปริมาณน้อยจะทำให้ภาพไม่จืดชืดและ น่าสนใจขึ้น

5. ระยะของสี (Perspective of Colour) หมายถึงการใช้สีซึ่งมีผลต่อความรู้สึกเรื่องระยะไกลใกล้ของภาพ โดยการนำ สีแท้มาผสมให้สีหม่น ลงโดยการทำให้เป็นสีกลาง เช่น การผสมสีตรงกันข้าม หรือสีกลาง เพื่อบ่งบอกระยะ ซึ่งโดยทั่วไป แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะใกล้ (Foreground) ระยะกลาง (Middleground) และระยะไกล (Background) โดยมีหลักการให้สีคือ สีระยะใกล้สามารถใช้สีสด หรือเข้มกว่า ระยะที่ไกลออกไป สี ที่อยู่ไกลออกไปมากเท่าใดค่าน้ำหนักสีก็จะอ่อนและจะดูเป็นสีกลางมากยิ่งขึ้น เช่น ภาพทิวทัศน์ที่ บ่งบอกถึงระยะไกลใกล้และช่วงเวลา ซึ่งสีจะเป็นตัวช่วยสร้างบรรยากาศให้ภาพได้เป็นอย่างดี

6. จุดเด่นจากสี (Dominance) หมายถึงการใช้สีที่ทา ให้ส่วนสำคัญ มีความเด่นชัดสะดุดตาเป็นแห่งแรก หรือเป็นจุดที่ดึงดูดความ สนใจจากผู้ดูมากที่สุดในผลงานนั้นการทำ ให้เกิดจุดเด่นจะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้สีโดยอาจเลือกใช้ สีที่ส่งเสริมให้เกิดพลังสีเด่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนพื้น และส่วนเด่นหรือจุดสนใจ ซึ่งมี หลายเทคนิควิธี การใช้สีตัดกัน หรือคู่ตรงข้ามกันเช่น พื้นสีน้าเงิน จุดเด่นสีเหลือง การให้จุดเด่นเป็นสีแท้ส่วนพื้นเป็นสีที่ถูกลดน้ำหนักลง โดยการทำให้สีหม่น สีนวล สีคล้า หรืออาจใช้สีดำเพื่อขับให้สีแท้ยิ่งเด่นชัดขึ้น

ที่มา : http://kroopim.net/lesson2/lesson2.html