หน้าแรก

หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 1 “สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้มุ่งเน้นให้ความส าคัญในกระบวนการปรับสภาพสังคม ให้เกิดภาวะที่ “ไม่ทนต่อการทุจริต” โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกระดับช่วงวัยตั้งแต่ ปฐมวัย เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริตยึดประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เป็นการดำเนินการผ่านสถาบันหรือกลุ่มตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการกล่อม เกลาสังคมให้มีความเป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนรวมและเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วน มีพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้มีค าสั่งที่ 646/2560 ลงวันที่ 26 เมษายน 2560 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตร หรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการ เรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต เพื่อดำเนินการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต นำไปใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียน นักศึกษาในทุกระดับชั้นเรียนทั้งในส่วน ของการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งอาชีวศึกษาและการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นอกจากนี้ ยังรวมถึงสถาบันการศึกษา อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งระบบ รวมทั้งบุคลากรภาครัฐและ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งภาคประชาชน เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการแยกแยะประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ ส่วนรวมจิตพอเพียงต้านทุจริต และสร้างพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและไม่ทนต่อการทุจริต เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริต โดยเริ่มปลูกฝังนักเรียนตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม “การป้องกันการทุจริต” ให้สถานศึกษาทุกแห่งนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังและสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต ให้แก่นักเรียนสร้างความตระหนักให้นักเรียน ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีจิตพอเพียง ต้านทุจริต ละอายและเกรงกลัวที่จะไม่ทุจริตและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะองค์กรรับผิดชอบการจัดการศึกษาให้แก่ นักเรียน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จึงได้จัดท ารายวิชาเพิ่มเติม “การป้องกันการทุจริต” ประกอบด้วย เนื้อหา 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวม 2) ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต 3) STRONG / จิตพอเพียงต่อต้าน การทุจริต และ 4) พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งทั้ง 4 หน่วยนี้ จะจัดทำเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่งนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อปลูกฝังและป้องกันการ ทุจริตให้แก่นักเรียนทุกระดับ ทั้งนี้ เป็นการสร้างพลเมืองที่ซื่อสัตย์สุจริตให้แก่ ประเทศชาติ ปัญหาคอร์รัปชันลดลง และดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันของประเทศไทย มีค่าคะแนนสูงขึ้น บรรลุตามเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 - 2564)

หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education)

กรอบการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต โดยที่ประชุม ได้เห็นชอบร่วมกันในการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต หัวข้อวิชา 4 วิชา ประกอบด้วย

1) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม

2) ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต

3) STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต

4) พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม

เนื้อหาหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต โดยได้แบ่งกลุ่มตามการเรียน การสอนในแต่ละช่วงชั้น และการฝึกอบรมในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม 1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ระดับปฐมวัย และ ป.1-ม.3) มีชื่อหลักสูตรว่า “รายวิชา เพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต”

กลุ่ม 2 หลักสูตรอุดมศึกษา มีชื่อหลักสูตร “วัยใส ใจสะอาด “Youngster with good heart”

กลุ่ม 3 หลักสูตรกลุ่มทหารและตำรวจ มีชื่อหลักสูตร “หลักสูตรตามแนวทางรับราชการ กลุ่มทหารและตำรวจ”

กลุ่ม 4 หลักสูตรวิทยากร มีชื่อหลักสูตร “สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อ การทุจริต”

กลุ่ม 5 หลักสูตรโค้ช มีชื่อหลักสูตร “โค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต” หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการจัดทำเป็นแผนการจัดการเรียนรู้โดยแยกเป็น 11 ระดับชั้นปี ได้แก่ ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 - 6 และระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 - 3 ในแต่ละระดับชั้นปี จะใช้เวลาเรียนทั้งปี จ านวน 40 ชั่วโมง ต้องจัดทำเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนให้ แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมและการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย

รายละเอียดของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education)

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. ชื่อหลักสูตร รายวิชาเพิ่มเติม “การป้องกันการทุจริต”

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้ และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต สำหรับใช้เป็นเนื้อหามาตรฐานกลางให้สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้กับกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทุกระดับชั้นเรียน เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการแยกประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม จิตพอเพียง การไม่ยอมรับและ ไม่ทนต่อการทุจริต โดยใช้ชื่อว่าหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) หลักสูตรที่ 1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีแนวทางการนำไปใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียน ดังนี้

1.1 นำไปจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมของโรงเรียน

1.2 นำไปจัดในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

1.3 นำไปบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (สาระหน้าที่พลเมือง) หรือนำไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ

2. จุดมุ่งหมายของรายวิชา เพื่อให้นักเรียน

2.1 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ ส่วนรวม

2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต

2.3 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต 2.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

2.5 สามารถคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมได้

2.6 ปฏิบัติตนเป็นผู้ละอายและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ

2.7 ปฏิบัติตนเป็นผู้ที่ STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต

2.8 ปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

3. คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต รู้หน้าที่ของพลเมืองและรับผิดชอบต่อสังคมในการต่อต้านการทุจริต โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ จำแนก แยกแยะ การฝึกปฏิบัติจริง การทำโครงงาน กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) การอภิปราย การสืบสอบ การแก้ปัญหา ทักษะการอ่านและการ เขียน เพื่อให้มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการต่อต้านและการป้องกันการทุจริต

4. ผลการเรียนรู้

4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน กับผลประโยชน์ ส่วนรวม

4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต

4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต

4.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

4.5 สามารถคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน กับผลประโยชน์ส่วนรวมได้

4.6 ปฏิบัติตนเป็นผู้ละอายและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ

4.7 ปฏิบัติตนเป็นผู้ที่ STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต

4.8 ปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

4.9 ตระหนักและเห็นความสำคัญของการต่อต้านและป้องกันการทุจริต

รวมทั้งหมด 9 ผลการเรียนรู้

เข้าสู่เนื้อหา..>>คลิก<<..

เมื่อท่านศึกษาเนื้อหาครบทุกหน่วยแล้ว จึงจะสามารถเข้าสู่ระบบการทดสอบออนไลน์ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาได้ครับ

ข้อมูลอ้างอิง

1. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2561). แผนการจัดประสบการณ์ “รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต”ระดับปฐมวัย. ชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti - Corruption Education).

2. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2561). หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม “การป้องกันการทุจรติ”ชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti - Corruption Education).

3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2561). หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา. (Online). Available : https://www.nacc.go.th/ewt_news.php?nid=18384

นายสุภัทรชัย กระสินหอม

ศึกษานิเทศก์

สพป.สระบุรี เขต 2