ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง 

1. ด้านการนิเทศการศึกษา 

พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ โดยใช้กระบวนการนิเทศด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเสมือน (Virtual professional learning community to develop management learning computing science: VPLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยดำเนินการดังนี้

ผลลัพธ์ (Outcomes)

มีแผนการนิเทศนิเทศการจัดการเรียนการสอนสาระเทคโนโลยี
-ปฏิทินการนิเทศห้องเรียนแบบออนไลน์

ตัวชี้วัด (Indicators) 

ครูสาระเทคโนโลยี ร้อยละ 80 มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ระดับดีขึ้นไป 

-ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของครูที่สมัครเข้ารับการนิเทศการศึกษา

2. คัดเลือกสื่อ นวัตกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประกอบการนิเทศการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี 

ผลลัพธ์ (Outcomes)

มีโปรแกรมสื่อสารออนไลน์ ที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ 

ตัวชี้วัด (Indicators) 

คลังเครื่องมือสื่อออนไลน์ 

3. นิเทศการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี 

ผลลัพธ์ (Outcomes)

มีการนิเทศครู และบุคลากร การจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการนิเทศ VPLC 

ตัวชี้วัด (Indicators) 

วิดีโอการเข้านิเทศออนไลน์ 

4. พัฒนาผลงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ 

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ครูนำความรู้จากบทความวิจัยไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้อย่ามีคุณภาพ 

ตัวชี้วัด (Indicators) 

บทความวิจัยการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง กระบวนการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5. ประสานกับผู้บริหาร ครู โรงเรียนในสังกัดเพื่อนำกระบวนการนิเทศด้วย VPLC ไปใช้ 

ผลลัพธ์ (Outcomes)

กระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม ระหว่าง ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และศึกษานิเทศก์ 

กระบวนการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Education In-service Process with Digital Professional Learning Community to Develop Management Learning Science and Technology)

ตัวชี้วัด (Indicators)

เอกสารประกอบการนิเทศด้วยกระบวนการนิเทศ VPLC
(Education In-service Process with Digital Professional Learning Community

to Develop Management Learning Science and Technology)

6. ติดตามและประเมินผลการนิเทศด้วยกระบวน VPLC เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ของครูสาระเทคโนโลยี 


ผลลัพธ์ (Outcomes) คือ
ข้อมูลสารสนเทศการติดตามและประมวลผของครูที่เข้ารับการนิเทศด้วยกระบวน VPLC 

ตัวชี้วัด (Indicators) คือ
ร้อยละ 80 ของครูที่เข้ารับการนิเทศด้วยกระบวนการนิเทศ VPLC ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ 

7. รายงานผลการนิเทศ ด้วยกระบวนการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเสมือน (VPLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ของครูสาระเทคโนโลยี 

สรุปผลการจัดกาเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลการการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพบว่า ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของครูที่สมัครเข้ารับการนิเทศการศึกษา พบว่าการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.45 และส่วนเบียงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.22 ผลการสังเกตการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของครูที่สมัครเข้ารับการนิเทศการศึกษาพบว่าการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.51 และส่วนเบียงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.21 ผลการสังเกตการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของครูที่สมัครเข้ารับการนิเทศการศึกษา พบว่าการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.80 และส่วนเบียงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.14 และผลสำรวจความพึงพอใจของครูที่สมัครเข้ารับการนิเทศการศึกษา พบว่า การประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.52 และส่วนเบียงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.03 การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของครูที่สมัครเข้ารับการนิเทศการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับดี สำหรับการสังเกตการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การสังเกตการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ความพึงพอใจของครูที่สมัครเข้ารับการนิเทศการศึกษา พบว่าการประเมินทั้ง 3 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปราย

       สำหรับการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษานิเทศก์คือบุคคลที่เป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัล การศึกษาข้อมูลของครูที่เข้ารับการนิเทศคือปัจจัยที่สำคัญที่สุด ลำดับถัดไปคือการจัดกลุ่มของสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลให้สมาชิกมีความคล้ายคลึงกันมากที่สุด เมื่อถึงเวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลสถาณการณ์ ณ ขณะนั้นจะทำให้สมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลรู้สึกถึงความเป็นกัลยาณมิตร ความเป็นเจ้าของ และมีความปลอดภัยต่อการแสดงความคิดเห็น ผลของสังเกตชั้นเรียนของสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลจะมีหลายรูปแบบ มีการจัดการเรียนรู้ทั้งแบบ Online, Onsite และ On Demand ขึ้นอยู่กับสถาณการณ์ปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ที่สามารถทำได้

2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา 

ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี 

1. สำรวจข้อมูลครูที่เข้ารับการนิเทศสาระเทคโนโลยี เพื่อวางแผนการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ผลลัพธ์ (Outcomes)

สารสนเทศครูที่เข้ารับการนิเทศ 

ตัวชี้วัด (Indicators)

รายงานการวิเคราะห์สารสนเทศครูที่เข้ารับการนิเทศ 

2. อบรมให้ความรู้ การนำเครื่องสื่อสารออนไลน์ไปใช้กับการจัดการเรียนรู้ 

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ครูมีความรู้ ความสามารถในการนำเครื่องสื่อสารออนไลน์ไปใช้กับการจัดการเรียนรู้
VDO ของนายพุทธิชัย สุริยุทธโรงเรียนไทรน้อย

วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก 1 รหัสวิชา ว30241 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ชื่อแผนฯ ออกแบบโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์จังหวัด ตัวชี้วัด ว4.1 ม.4/5


ตัวชี้วัด (Indicators)

วิดีโอการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูทัศนีย์  ตีระกิจวัฒนา
โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ 6 เรื่อง Google Site

3. ติดตาม และประเมินผลการส่งเสริม การจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี  

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ครูสามารถนำผลการประเมิน ไปปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 

ตัวชี้วัด (Indicators)

เกียรติบัตรรับรองคุณภาพการพัฒนา ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4. จัดทำรายงานสารสนเทศ 

ผลลัพธ์ (Outcomes)

รายงานสารสนเทศนำไปประกอบการวางแผนสนับสนุน การบริหารของเขตพื้นที่ และสถานศึกษา
บทความวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของโรงเรียนในสังกัด สพม.นนทบุรี

HYBRID LEARNING MANAGEMENT MODEL OF AFFILIATED SCHOOLS SPM.NONTHABURI

 

ตัวชี้วัด (Indicators)

เผยแพร่รายงานสารสนเทศ ให้องค์กรภายนอกได้รับรู้ ผ่านเว็บไซต์ สพม.นนทบุรี
ผลการวิจัยพบว่า

  1. การวิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนลักษณะต่างๆ ด้านข้อดี ข้อเสีย  โอกาส อุปสรรค (SWOT) ในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่าประเด็นจุดแข็ง มี 10 ประเด็น ประเด็นจุดอ่อนมี 15 ประเด็น ประเด็นโอกาส มี 18 ประเด็น และประเด็นภัยคุกคาม มี 8 ประเด็น

  2. การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาโรงเรียนทุกลักษณะในการบริหารจัดการการจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่าอยู่ในขอบเขตของจุดอ่อน และโอกาส และแผนภูมิ Startegic Map อยู่ในขอบเขตของแผนกลยุทธ์เชิงรุก และแผนกลยุทธ์เชิงแก้ไข

  3. การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนองค์การดิจิทัลสำหรับสถานศึกษาสมรรถนะสูง ยุทธศาสตร์ที่ 2: ส่งเสริมความสามารถทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการให้บริการทางวิชาชีพ เกิดค่านิยม คือ SPM Intelligent (S-support, P-professional, M-management)

3. การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
พัฒนาตนเอง และวิชาชีพ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 

1. ศึกษา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการนิเทศที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของครู 

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ศึกษานิเทศก์เกิดองค์ความรู้มีแนวทางในการสร้างรูปแบบการนิเทศที่สอดคล้องกับบริบทของครูที่เข้ารับการนิเทศ นำเสนองานวิจัย The 14th National Conference on Technical Education The 9th International Conference on Technical Education Engineering education and Blended Learning to the NeXT-GENeration King (Mongkut's University of Technology North Bangkok (KMUTNB)

ตัวชี้วัด (Indicators)

ตารางวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศ จากการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

2. เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพฒันาการจัดการเรียนรู้ 

ผลลัพธ์ (Outcomes)

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม PLC
กำกับให้สมาชิกกลุ่ม PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปสอนได้จริง และแจ้งโฟล์เดอร์การส่งแผนการจัดการเรียนรูที่ถูกปรับแก้ วิดีโอที่บันทึกการสอน ตัวอย่างชิ้นงาน/ผลงานนักเรียน และบันทึกหลังแผนการจัดการเรียนรู้   

ตัวชี้วัด (Indicators)

การรวมกลุ่ม PLC ระหว่างผู้บริหาร ครู และศึกษานิเทศก์ 

3. นำความรู้ ความสามารถที่ได้จากการสังเคราะห์ มาพัฒนากระบวนการนิเทศ 

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ศึกษานิเทศก์มีทักษะการสังเคราะห์ เอกสาร งานวิจัย เกียติบัตรจากการนำเสนอบทความวิจัย
บทความวิจัย เรื่อง กระบวนการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Education In-service Process with Digital Professional Learning Community to Develop Management Learning Science and Technology)


ตัวชี้วัด (Indicators)

 เกียติบัตรจากการนำเสนอบทความวิจัย บทความวิจัยเรื่อง ผลของการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (The Results of Education In-service with Digital Professional Learning Community to Develop Management Learning Teacher of Science and Technology Department

4. เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการนิเทศ การจัดการเรียนรู้ 

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ศึกษานิเทศก์นำความรู้จากบทความวิจัยไปพัฒนาการนิเทศการศึกษาได้อย่ามีคุณภาพ  เกียติบัตรจากการนำเสนอบทความวิจัย เรื่อง กระบวนการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Education In-service Process with Digital Professional Learning Community to Develop Management Learning Science and Technology)


ตัวชี้วัด (Indicators)

 เกียติบัตรจากการนำเสนอบทความวิจัย บทความวิจัยเรื่อง ผลของการนิเทศการศึกษาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดิจิทัลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (The Results of Education In-service with Digital Professional Learning Community to Develop Management Learning Teacher of Science and Technology Department

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในหน่วยงานการศึกษาที่รับผิดชอบ 

ประเด็นท้าทาย

เรื่อง การพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสาระเทคโนโลยี

โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE)

นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 2

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

โล่ รางวัล ระดับเพชร

ผลที่เกิดจากการนิเทศในปีการศึกษาที่ผ่านมา

โครงการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล OBEC ACADEMY

โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBEC Content Center

นางกานต์นารี ธรรมครบุรี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนปากเกร็ด

นางสาวอังสณา นำ้ทอง ครูชำนาญการ โรงเรียนศรีบุณยานนท์

เกียรติบัตรผลการคัดเลือกผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ประจำเขตตรวจราชการที่ 1 

โล่รางวัลผลงานดีเด่นด้าน Coding “CODING Achievement Awards” และจัดนิทรรศการการเผยแพร่องค์ความรู้และแสดงผลงานดีเด่นด้าน Coding “CODING Achievement Awards” ภาคกลางและภาคตะวันออก

นายชรัมภ์ เพชรมาก ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนนทบุรีพิทยาคม

นางสาวนภาจิตร ดุสดี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกาามัธยมศึกษานนทบุรี

ผลการคัดเลือกสื่อ YouTube ดีเด่น กิจกรรมการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรม

การจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบออนไลน์ “ปั้นครูเป็นยูทูบเบอร์” สพม.นนทบุรี