หลักสูตรการสอน

    หลักสูตรการศึกษา

        ชั้นที่ ๑ จูฬอาภิธรรมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา ๖ เดือน) ปริจเฉทที่ ๑ จิตตสังคหะ ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ การจำแนกจิต โดยย่อและโดยพิสดาร ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหะ ศึกษาความหมาย ลักษณะและความ สัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหะ นิพพาน ศึกษาความหมาย โครงสร้างประกอบ เนื้อหาของรูปและนิพพาน

        ชั้นที่ ๒ จูฬอาภิธรรมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา ๖ เดือน) ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหะ ศึกษาความหมายประเภทและความสัมพันธ์ ระหว่างจิตและ เจตสิกที่มีต่อเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหะ ศึกษาความหมาย ความสำคัญ โครงสร้างและเนื้อหาตามหลัก สมุจจยสังคหะโดยละเอียดอกุศล มิสสกะ โพธิปักขิยะ และสัพพสังคหะ

        ชั้นที่ ๓ จูฬอาภิธรรมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา ๖ เดือน) ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ) ศึกษาความหมายโครงสร้าง เนื้อหาสาระของคัมภีร์ธัมมสังคณี ประเภทของมาติกา, ติกมาติกา, ทุกมาติกา, อภิธัมมทุกมาติกา, สุตตันติกทุกมาติกา

        ชั้นที่ ๔ มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน) ปริจเฉทที่ ๔ วีถีสังคหะ ศึกษาความหมายของวิถีจิต โครงสร้าง และกฏเกณฑ์ของวิถีจิต ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี การจำแนก วิถีจิตโดยภูมิและบุคคลอย่างละเอียด ปริจเฉทที่ ๕ วิมุตตสังคหะ ศึกษาความหมายโครงสร้างและเนื้อหาของวิมุตตสังคหะภูมิจตุกกะ ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกกะโดยละเอียด

        ชั้นที่ ๕ มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน) ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหะ ศึกษาความหมายของปัจจยสังคหะตามปฏิจจสมุปบาทนัย ความเป็น ไปของเหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกัน ตามปัฏฐานนัย ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหะ ศึกษาความหมาย ประเภท ความสำคัญ และประโยชน์ของ สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ

        ชั้นที่ ๖ มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน) ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (ปัญหาพยากรณโชติกะ) ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาและประเภทของธาตุกถา ในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา

        ชั้นที่ ๗ มหาอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน) ยมกสรูปัตถนิสสยะ(มูลยมก) ศึกษาความหมายโครงสร้างเนื้อหาสาระและประเภทของมูลยมก การจำแนกมูลยมก ทั้ง ๔ ประเทภ โดยนัย ๔ การจำแนกมูลยมก ๔ และนัย ๔ โดยยมก ๓ ยมกสรูปัตถนิสสยะ (ขันธยมก) ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระและประเภทของขันธยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ และปริญญาวาระ

        ชั้นที่ ๘ มหาอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน) ยมกสรูปัตถนิสสยะ (อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก) ศึกษาความหมายโครงสร้างเนื้อหาสาระของอายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ประเภทของ อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ ปริญญาวาระ

        ชั้นที่ ๙ มหาอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา ๑๒ เดือน) มหาปัฏฐาน (ปัจจัยโชติกะ) ศึกษาความหมายโครงสร้างเนื้อหาสาระ ของปัฏฐาน และประเภทของปัฏฐาน สรุปเนื้อความ ๓ ประการ การจำแนกปัจจัย ๒๔ โดยความเป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะ

        รวมใช้เวลาในการศึกษาจนจบหลักสูตรทั้ง ๙ ชั้น ๗ ปี ๖ เดือน