ใบความรู้ 1 เรื่อง สารบอแรกซ์
(ผงกรอบ)

        สารบอแรกซ์หรืออาจเรียกชื่อว่า ผงกรอบ น้ําประสานทอง
ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก ผงกัน บูดและเม่งแซหรือเพ่งแซ มีลักษณะเป็นผงหรือผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่นมีรสขมเล็กน้อย ซึ่งกระทรวง สาธารณสุข
ประกาศกําหนดให้เป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร เพราะเป็นสารเคมีที่นํามาใช้ในอุตสาหกรรม หลายชนิด เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมทําแก้ว ใช้เป็นส่วนประกอบของยาฆ่าเชื้อ ใช้เป็นสารฆ่าแมลง ใช้ทําอุปกรณ์ไฟฟ้า
ใช้ในการเชื่อมทอง ใช้ชุบและเคลือบโลหะและใช้ในการผลิตถ่านไฟฉายเป็นต้น ชื่อ ทางเคมีของสารบอแรกซ์ คือ "โซเดียมบอเรต"
(Sodium Borate) "โซเดียมเตตราบอเรต" (Sodium Tetraborate)
"โซเดียมไบบอเรต" (Sodium Biborate) ฯลฯ


         เนื่องจากสารบอแรกซ์ทําให้อาหารมีลักษณะหยุ่นกรอบและมีคุณสมบัติเป็นวัตถุกันเสียด้วย จึงพบมีการลักลอบนํามาผสมในอาหารเพื่อให้อาหารมีความหยุ่น กรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูด เสียง่าย นอกจากนี้ยังมีการนําเอาสารบอแรกซ์ไปละลายน้ําแล้ว
ทาที่เนื้อหมู เนื้อวัว เพื่อให้ดูสด ไม่บูดเน่าก่อนเวลา บางแห่งใช้เนื้อหมูเนื้อวัวจุ่มลงในน้ําสารบอแรกซ์ รวมทั้งพบว่ามี
การปลอมปนใน ผงชูรส เนื่องจากมีลักษณะเป็นผลึกเล็ก ๆ คล้ายผงชูรส

อาหารที่มักตรวจพบสารบอแรกซ์

เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ เช่น หมูสด หมูบด ปลาบด ทอดมัน ลูกชิ้น ไส้กรอก ทับทิมกรอบ ผลไม้ดอง เป็นต้น

ผลกระทบที่เกิดจากการเข้าสู่ร่างกายจากสารบอแรกซ์

     สารบอแรกซ์ เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกาย ความรุนแรงของการเกิดพิษขึ้นกับปริมาณที่ร่างกายได้รับและการสะสมในร่างกาย หากได้รับในปริมาณไม่มากแต่ได้รับบ่อยเป็นเวลานานจะเกิด อาการเรื้อรัง เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังแห้งอักเสบ หนังตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับและไตอักเสบ ระบบสืบพันธุ์เสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น ถ้าได้รับสารบอแรกซ์ในปริมาณสูงจะเกิด อาการเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อุจจาระร่วง เป็นต้น บางครั้ง รุนแรง
ถึงเสียชีวิตได้


วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารบอแรกซ์

- ไม่ควรซื้อเนื้อสัตว์บดสําเร็จรูปควรซื้อเป็นชิ้นและต้องล้างให้สะอาด แล้วจึงนํามาบด

- หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ผิดปกติจากธรรมชาติ เช่น เนื้อหมูที่แข็งกด

- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีลักษณะหยุ่นกรอบอยู่ได้นานผิดปกติ อาหารที่
เก็บไว้ เป็นเวลานาน ก็ไม่บูดเสีย