หลักสูตร จิตวิญญาณความเป็นครูที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา



จิตวิญญาณความเป็นครูต้องเกิดจาก “ใจ” หรือ “จิตสํานึก” หมายถึง ความศรัทธา และความรักในอาชีพ เป็นผู้เสียสละ มีความอดทน มุ่งมั่น เสียสละทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ และปฏิบัติตนให้อยู่ในหลักศีลธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณลักษณะดังกล่าว จะนําไปสู่ “จิตวิญญาณความเป็นครู” หรือครูมืออาชีพ ประกอบด้วย ลักษณะ 3 ประการ 1) แสวงหา ความรู้ และพัฒนาตนเองตลอดเวลา โดยเน้นเจตนาที่จะให้ผู้ร่วมงานประสบความสําเร็จ ด้วยกัน 2) ความปรารถนาดี เป็นความคิดที่อยู่เหนือระดับเหตุผลและตรรกะ เป็นความคิดที่มา จากจิตวิญญาณหรือจิตใต้สํานึก 3) สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง มุ่งมั่นในการทํางาน และศรัทธา ในผลสําเร็จที่เกิดจากการปฏิบัติงาน พร้อมจะพัฒนาตนเองเพื่อสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู

จิตวิญญาณความเป็นครู ฟังแล้วเหมือนคําพูดง่าย ๆ แต่แฝงไว้ด้วยความรับผิดชอบต่อ หน้าที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม พร้อมจะอุทิศตนเพื่อพัฒนา ทรัพยากรของประเทศ คือ เยาวชนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขให้สอดคล้องกับนโยบาย ที่ส่งเสริมการศึกษาไทย ซึ่งปัจจุบันการศึกษาเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครู ไม่ค่อยมีการศึกษา เท่าที่ควร หรืออาจจะมีบ้าง แต่ก็ยังมีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาด้านการศึกษานั้น ยัง มีอีกหลายสาขาที่ขาดแคลนและมีความจําเป็นต่อการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นพื้นฐานของ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศและยังเป็นกลไกเชื่อมโยงถึงโครงสร้างการพัฒนาด้าน อื่น ๆ อีกด้วย ถ้าหากภาครัฐ หรือกระทรงศึกษาธิการไม่ให้ความสําคัญเรื่องการส่งเสริม คุณภาพของครู กระบวนการพัฒนาครูให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพเต็มเปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ ความเป็นครู พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และเกียรติยศของความเป็นครู ปัจจุบันนี้ ประเทศไทย กําลังขาดแคลนครูเฉพาะด้าน เช่น สาขาภาษาไทย สาขาภาษาอังกฤษ สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์ สาขาที่กล่าวมาเหล่านี้ ภาครัฐที่ดูแลการศึกษาไทย และกระทรวงศึกษาธิการต้องพิจารณาปัญหาเหล่านี้ ตั้งเป้าหมายในแต่ละปีว่าจะส่งเสริมและ

สามารถผลิตครูออกมาตอบสนองกับความต้องการของสังคมได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ นโยบายภาครัฐ จะศึกษาค้นหาตัวแปรสภาพแวดล้อมทางจิตวิญญาณที่สามารถจําแนกและมี ความสอดคล้องกับคําว่าจิตวิญญาณความเป็นครูนั้น ควรจะมีลักษณะไหน จึงจะประสบ ความสําเร็จในอาชีพครู และเป็นครูต้นแบบของกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาจิตวิญญาณความ เป็นครู จะเป็นกลไกสําคัญการพัฒนาครูของประเทศ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์การศึกษาให้ทัศนะไว้ ว่าการศึกษาไม่ใช่การบริโภค แต่เป็นการลงทุน ถ้าประเทศชาติใดลงทุนด้านการศึกษา สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาประเทศแล้ว การลงทุนด้านการศึกษา จะให้ผลตอบแทน คือความเป็นครูที่พร้อมด้วยจิตวิญญาณ

จิตวิญญาณความเป็นครู

คําว่า “จิตวิญญาณ” มาจากคําว่า “จิต” และ “วิญญาณ” โดยสรุปหมายถึงสิ่งที่อยู่ใน ตนเอง ทําให้เป็นบุคคลขึ้น เป็นความรู้แจ้งความรู้สึกตัว จิตใจ นักวิชาการได้จําแนกความหมาย ของจิตวิญญาณไว้เป็น 3 ประการ

1. ความเป็นเอกัตตาหรือปัจเจกบุคคล หมายถึง ความเป็นตัวตนที่มีลักษณะ เฉพาะ ของแต่ละบุคคล ซึ่งเกิดจากการหยั่งรู้นําไปสู่การปฏิบัติและการเกิดศรัทธาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (ศุภลักษณ์ ทัดศรี และอารยา พรายแย้ม, 2554)

2. ความมีคุณค่าสูงส่ง หมายถึง ปัญญาหลักการของชีวิต เช่น ความดี บุญกุศล คุณธรรม จริยธรรม การรู้จักผิดชอบชั่วดีมีจิตใจสูงขึ้น (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2558)

3. ความเป็นนามธรรม หมายถึง โครงสร้างหนึ่งของมนุษย์ที่นอกเหนือจากร่างกายและ จิตใจ จับต้องไม่ได้ พัฒนามาจากความผูกพันด้านจิตใจของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งของ ความหวัง พลังใจที่เข้มแข็ง เป็นขุมพลังของชีวิตที่ทําให้ประสบความสําเร็จและมีความสุข (พัชนี สมกําาลัง, 2556)

วิญญาณความเป็นครูเป็นคุณลักษณะที่แสดงทางด้านพฤติกรรมส่วนตัวและพฤติกรรม ส่วนรวมเป็นที่ประจักษ์แก่สังคมและเป็นที่ยอมรับในการปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยคุณธรรม จริยธรรมและความปรารถนาที่จะพัฒนาศิษย์ตามศักยภาพพร้อมกับตระหนักถึงการพัฒนาองค์ รวมด้วยความ เสียสละ มีความคิดสร้างสรรค์เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมและเป็นผู้มีจิตใจใฝ่ต่อ การศึกษา พัฒนาตนเองสอดรับกับแนวคิดสุทัศน์ สังคะพันธ์ (สุทัศน์ สังคะพันธ์, 2558)การปฏิรูปคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะต้องให้ความสําคัญกับการยกระดับคุณภาพของครู ซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสําคัญที่สุดอีกประการหนึ่งในระบบการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากครูมี ความสําคัญในการใช้กลวิธีทางการศึกษาที่หลากหลายที่จะทําให้ผู้เรียนมีความรู้ วิทยาการใน การช่วยฝึกให้มีทักษะชํานาญการเฉพาะด้าน เพื่อนําประกอบอาชีพรวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนได้รู้ คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชาติตลอดจนมีความสํานึกและความรับผิดชอบใน การรักษาความมั่นคง ความมีเสถียรภาพและเอกราชของประเทศชาติ ซึ่งครูถือว่าเป็นวิชาชีพที่ มีองค์ประกอบสําคัญ คือ เป็นวิชาชีพที่ให้บริการแก่สังคมในลักษณะแบบจําเฉพาะเจาะจงด้วย การใช้กระบวนการแห่งปัญญาในการให้บริการ มีวิธีการศึกษาอบรมให้ความรู้กว้างขวางลึกซึ้ง โดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร ให้มีเสถียรภาพในการใช้วิชาชีพนั้น ๆ ตรงตามมาตรฐาน วิชาชีพมีจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีสถาบันแห่งวิชาชีพเป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์ จรรโลง ความเป็นมาตรฐานวิชาชีพ (ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, 2557)

กล่าวโดยสรุปว่า จิตวิญญาณความเป็นครูหมายถึง บุคคลผู้มีความรัก ความศรัทธาใน วิชาชีพความเป็นครู มีจิตใจมุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนความภาคภูมิใจในความเป็นครู พัฒนาตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ทันต่อเหตุการณ์ รักและศรัทธาในวิชาชีพครู มีความ เสียสละ มีคุณธรรม จริยธรรม พร้อมจะการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ มีความมุ่งมั่นในการ พัฒนาเด็กและเยาวชนและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และสังคม

จิตวิญญาณความเป็นครูมืออาชีพ

วิญญาณความเป็นครูมืออาชีพ สังคมกําลังเรียกร้องหาและเป็นความคาดหวังของ ผู้ปกครองที่เฝ้ารอและหวังว่า บุตรหลานของตนนั้น จะได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ ไม่เกิด ความเลื่อมล่ําทางการศึกษา ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ แต่มีความเสมอภาคทางการศึกษาเท่าเทียบ กันทุกพื้นที่ของประเทศไทย ความคาดหวังเหล่านี้ จึงตกเป็นภาระหน้าที่ของผู้ทําหน้าที่ คือ “ครู” ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องและเป็นที่เคารพนับถือของสังคมด้วยเกียรติยศของอาชีพ ครูจึงเป็นบุคคลต้นแบบ หรือเป็นแบบอย่างที่ดีทางกาย วาจา จิตใจที่อ่อนโยน และความ ประพฤติที่แสดงออกต่อสังคม บ่งบอกถึงความรักความเมตตาต่อศิษย์ทุก ๆ คน และเพื่อน ร่วมงาน ความประพฤติของครู จึงมีอิทธิพลต่อสังคมและศิษย์ด้านการศึกษา ความเสียละ ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับศิษย์ได้ยึดเป็นแนวทางการ

ปฏิบัติตนทั้งด้านความประพฤติ เพราะการศึกษาของเยาวชน จะมีประสิทธิภาพ หรือด้อย ประสิทธิภาพ ไม่ได้เกิดจากความล้มเหลวทางการศึกษาของเยาวชนเท่านั้น ครูก็เป็นส่วนหนึ่ง ของความสําเร็จ เพราะเป็นผู้ทําหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ต่าง ๆ โดยพร่ําสอนให้ลูกศิษย์ได้รับ การศึกษาด้วยความเสียสละ ความรัก ความเมตตา ต่อลูกศิษย์ และยังอุทิศตนต่อการปฏิบัติ หน้าที่ โดยไม่รู้จักคําว่าเหน็ดเหนื่อย หรือความยุ่งยากลําบาก แต่แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ มีศิลปะวิทยาทั้งศาสตร์และศิลป์ในคนเดียวกัน เรียกว่า ครูที่มีจิตวิญญาณความ เป็นครูมืออาชีพและครูควรได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาด้านการสอน และการฝึกอบรมการ จัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน สอดรับกับแนวคิด อมรรัตน์ แก่นสาร (2558) กล่าวว่า จิตวิญญาณความเป็นครูแบ่งเป็น 3 ช่วงดังต่อไปนี้

ช่วงที่ 1 ช่วงพัฒนาสู่การเป็นครู ช่วงการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู และช่วง การคงอยู่ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู

ช่วงที่ 2 การเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู การตระหนักรู้ในความเป็นครู การ ปฏิบัติตนบนวิถีความเป็นครู การมีเป้าหมายการทํางานเพื่อเด็ก และการปฏิบัติต่อเด็กด้วย ความรักและเมตตา

ช่วงที่ 3 การคงอยู่ของการเป็นครู ผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูประกอบด้วย ความสุข ความภาคภูมิใจ ความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ และความศรัทธาต่อบุคคลผู้ทรงคุณค่าของ แผ่นดิน

สํานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สํานักงานส่งเสริมสังคม แห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน, 2557) ได้กล่าวถึงจิตวิญญาณความเป็นครู หมายถึง คุณลักษณะครูที่มีคุณภาพในการยกระดับคุณภาพครูในศตวรรษที่ 21 ได้แก่เป็นผู้ที่มีจิต วิญญาณความเป็นครูและผู้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดการเรียนรู้ มีทักษะการ สื่อสารอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ตื่นรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ เป็น แบบอย่างทางคุณธรรมจริยธรรมและศีลธรรม รวมทั้งภาคภูมิใจในการเป็นพลเมืองไทยและพล โลก ในขณะที่กลยุทธ์เป็นแนวทาง หรือวิธีการที่จะทําให้การดําเนินงานขององค์กรบรรลุผล สําเร็จเป็นไปอย่างมีทิศทางสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธะกิจขององค์กรด้วยการมีส่วนร่วมของ บุคลากรในการจัดทําและยึดถือปฏิบัติรวมกันซึ่งการจัดทํากลยุทธ์ที่ถูกต้อง และเหมาะสมจะ นํามาสู่การบรรลุคุณภาพ และประสิทธิภาพในการดําเนินงานขององค์กรตามมา

กล่าวโดยสรุปว่า การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้มีความรู้ โดยเฉพาะทักษะการใช้ เทคโนโลยี และทักษะในการสอน ประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี เอาใจใส่ และหวังดีต่อศิษย์ ปรารถนาให้ศิษย์ทุกคนได้มีการงานที่ดีทําและเป็นคนดีของสังคม การปฏิบัติงานของครู ลักษณะดังกล่าวเรียกได้ว่าการปฏิบัติด้วย “จิตวิญญาณความเป็นครู” การปฏิบัติหน้าที่ ของครู ด้วยความวิริยะ มุ่งมั่นและทุ่มเทด้วยจิตและวิญญาณ อุทิศตนเพื่อการสอน และมีการพัฒนาสื่อ การสอนตลอด ก็จะทําให้เกิดความตระหนักและมุ่งมั่นทุ่มเทในการทํางาน พยายามรักษา ศักดิ์ศรีแห่งตนและวิชาชีพ และที่สําคัญคือ ความศรัทธาในวิชาชีพครู มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง

ครูจะต้องมีการพัฒนาตนเอง และครูจะประสบความสําเร็จต่อหน้าที่การงานที่ปฏิบัติ อยู่ จะต้องเกิดจากการพัฒนา “ใจ” หรือ “จิตสํานึก” มีใจรักต่ออาชีพครู และใจต้องพร้อมที่ จะเสียสละเพื่อสังคม จึงจะประสบความสําเร็จตามเป้าหมาย ครูที่ได้รับการพัฒนานั้น จะมีมาก น้อยเพียงใดในแต่ละปี ส่วนหนึ่งก็ขึ้นกับต้นสังกัด จะทําให้โอกาสของครูเหล่านี้ได้มีโอกาส พัฒนาตนเองด้านการศึกษา หรือไม่อย่างไร สังคมกําลังต้องการครูที่มีสํานึกในความเป็นครู เป็นผู้เสียสละ อดทน อุทิศตนในการสอน หรือการบริหาร ก็นับว่าเป็น “ครูที่มีจิตวิญญาณ ความเป็นครู” ปฏิบัติหน้าที่และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องระมัดระวังการประพฤติปฏิบัติให้อยู่ ในหลักศีลธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งลักษณะ ดังกล่าว จะนํา ไปสู่การเป็น “ครูมือ อาชีพ” ควรมีลักษณะ 3 ประการ 1) แสวงหาความรู้ พัฒนาตนเองตลอดเวลา เน้นเจตนาที่จะ ให้ผู้ร่วมงานประสบความสําเร็จด้วยกัน 2) ความปรารถนาดี เป็นความคิดที่อยู่เหนือระดับ เหตุผลและตรรกะ เป็นความคิดที่มาจากจิตวิญญาณหรือจิตใต้สํานึก 3) สร้างความเชื่อมั่นใน ตนเอง มุ่งมั่นในการทํางาน และศรัทธาในผลสําเร็จที่เกิดจากการปฏิบัติงาน


หลักธรรมสำหรับครู

การเป็นครูที่ดีนั้น จึงไม่ใช่มีความรู้อย่างเดียว แต่จะต้องมีคุณธรรมควบคู่ไปด้วย

ความหมายของคุณธรรม ตามราชบัณฑิตยสถาน (2525: 187) ได้ให้ความหมายของคุณธรรมไว้ว่า “เป็นสภาพคุณงามความดี”

คาร์เตอร์ วี. กู๊ด (Carter V. Good. 1973 : 641) ให้ความหมายคุณธรรม ไว้ว่า คุณธรรมคือ คุณลักษณะที่ดีงาม หรือพฤติกรรมที่ปฏิบัติจนเป็นนิสัย และการที่บุคคลได้กระทำตามความคิดและมาตรฐานของสังคมในทางความประพฤติและจริยธรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานหลักคุณธรรมสำหรับคนไทยในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ ท้องสนามหลวง วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2525 ทั้งนี้เพื่อยึดถือปฏิบัติมีอยู่ 4 ประการ คือ

ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีนั้น

ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด

ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความสุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

คุณธรรมทั้ง 4 ประการนี้จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ร่มเย็น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นครู จำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น

ธรรมโลกบาล หมายถึง ธรรมที่คุ้มครองโลก ที่ใช้ปกครอง ควบคุมจิตใจมนุษย์ไว้ให้อยู่ในความดีมิให้ละเมิดศีลธรรม ร่วมกันด้วยความสงบสุขไม่เดือดร้อน สับสน วุ่นวาย ซึ่งประกอบด้วย 2 ประการ คือ

หิริ ได้แก่ ความละอายแก่ใจตนเองในการทำความชั่ว

โอตตัปปะ ได้แก่ ความเกรงกลัวบาป เกรงกลัวต่อการทำความชั่วและผลของกรรมชั่วที่ได้กระทำขึ้น

ธรรมที่ทำให้งาม ประกอบด้วย 2 ประการ คือ

ขันติ ได้แก่ ความอดทนต่อความทุกข์ต่อความลำบาก ต่อความโกรธ ความหนักเอาเบาสู้เพื่อให้บรรลุจุดหมายที่ดีงาม

โสรัจจะ ได้แก่ ความสงบเสงี่ยม ความมีอัธยาศัยงดงาม รักความประณีต และรักษาอากัปกิริยาให้เหมาะสมเรียบร้อย เป็นลักษณะอาการที่ต่อเนื่องจากความมีขันติ

อิทธิบาท 4 คือคำสอนที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จ

ฉันทะ คือความพอใจในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

วิรยะ คือ ความขยันหมั่นเพียรและอดทนในการทำสิ่งต่าง ๆ

จิตตะ คือ ความตั้งใจที่จะทำงานให้สำเร็จ ไม่ทอดทิ้งงาน

วิมังสา คือ ความคิดพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งที่ทำอยู่เสมอโดยทำในสิ่งที่เราคิดว่าทำแล้วได้ผลดี

สังคหวัตถุ 4 คือ หลักธรรม ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่น

ทาน คือการให้สิ่งที่ควรให้

ปิยวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะนาฟังพูดในสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์

อัตถจริยา ประพฤติประโยชน์แก่ผู้อื่น และแก่ตนเอง

สมานัตตตา ประพฤติตนให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่ถือตัว

พรหมวิหาร 4 คือ ธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ หรือผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่ดุจพระพรหมได้แก่

เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาดีต้องการให้ผู้อื่นเป็นสุข

กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดปรารถนาจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์

มุทิตา หมายถึง การพลอยยินดีชื่นชมโสมนัสเมื่อผู้อื่นได้ดีมีความสุข

อุเบกขา หมายถึง ความตั้งมั่นแห่งจิตใจ ไม่หวั่นไหว ในสุขทุกข์ของตนและผู้อื่นที่เราไม่สามารถช่วยได้

ฆราวาสธรรม 4 เป็นธรรมของผู้ครองเรือน ประกอบด้วย

สัจจะ ความซื่อสัตย์ต่อกัน

ทมะ ความฝึกฝนปรับปรุงตนให้รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ควบคุมตนเองและปรับตัวให้เข้ากับงานและสิ่งแวดล้อม

ขันติ ความอดทนต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่

จาคะ ความเสียสละเผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ

มรรค 8 หมายถึง ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์เพื่อแก้ปัญหาชีวิตและปัญหาสังคม หรือ เป็นทางปฏิบัติสายกลาง 8 อย่าง คือ

1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ เช่น เห็นว่าทําดีย่อมได้ดีทําชั่วย่อมได้ผลชั่ว เป็นต้น

2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดําริชอบ เช่น การดําริออกจากกาม ไม่มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส

3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ เช่น เว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ การพูดและวิธีพูดของครู มีผลต่อความรู้สึก และจิตใจของนักเรียนเสมอ ดังนั้น ครูควรพูดด้วยความจริงใจ อ่อนโยนให้นักเรียนเกิดความเคารพนับถือ

4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทําชอบ เป็นการทํางานที่ปราศจากโทษทั้งปวง เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ไม่ลักทรัพย์และไม่ประพฤติผิดประเวณีเป็นต้น ครูต้องกระทําการเหล่านี้ด้วยความอดทน ซื่อสัตย์และรอบคอบ

5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีวิตชอบ ไม่ทํามาหากินในทางที่ผิด ศีลธรรมและผิดกฎหมาย ธรรมข้อนี้สําหรับครูคือ ไม่เบียดเบียนเวลาสอนไปทําอาชีพอย่างอื่น หรือรู้จักใช้เวลาว่างเพื่อค้นหาความรู้เพื่ื่อใช้ในการสอน

6. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรพยายามชอบ เป็นการเพียรพยายามมิให้ความชั่วเกิด เพียรละความชั่ว เพียรกระทําความดีและรักษาความดี

7. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ เป็นการระลึกในสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลต่างๆ ครูผู้ระลึกชอบย่อมเป็นครูผู้มีสติไม่เสียสติและอยู่ในทํานองคลองธรรมและไม่นอกลู่นอกทาง

8. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจชอบ เป็นความตั้งใจให้มีอารมณ์สงบระงับโลภ โกรธ หลง ทั้งปวง

ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 หมายถึง หลักธรรมสําหรับพระราชานักบริหาร และผู้ทําหน้าที่ปกครองคนอื่น เช่น ครูอาจารย์เป็นต้น ทศพิธราชธรรม มี 10 อย่าง คือ

1. ทาน คือ การให้การสละทรัพย์สิ่งของ การช่วยเหลือ

2. ศีล คือ ความประพฤติเรียบร้อยทางกาย วาจา

3. บริจาคะ คือ การเสียสละความสุขของตน เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น

4. อาชวะ คือ ความซื่อตรง มีความจริงใจ ปฏิบัติงานด้วยความสุจริต

5. มัททวะ คือ ความสุภาพอ่อนโยน มีอัธยาศัยงดงาม

6. ตบะ คือ การระงับยับยั้งมิให้กิเลสเข้าครอบงํา มีความเป็นอยู่ธรรมดา

7. อักโกธะ คือ ความไม่โกรธไม่ลุแก่อํานาจความโกรธ มีเมตตา ประจําใจ

8. อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียน ไม่บีบบังคับกดขี่ไม่หลงระเริงอํานาจ

9. ขันติ คือ ความอดทน อดทนต่อความยากลําบาก ต่อคํายั่วยุและ เยาะเย้ยต่าง ๆ

10. อวิโรธนะ คือ ความไม่ประพฤติผิดธรรม ไม่หวั่นไหวต่อลาภ ยึดมั่นอยู่ในธรรม

จริยธรรม

จริยธรรมสำหรับครู จริยธรรม (Ethics) เป็นเรื่องของความรู้สึก เป็นจิตสำนึกของบุคคล เป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องดีงามทั้งกายวาจาใจ เป็นปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมทางสังคม เป็นรากฐานของสันติสุขที่ยั่งยืน คนเป็นครูจึงควรต้องสร้างจิตสำนึกที่ดีงามให้เกิดขึ้นมนตนเอง ในสังคม ต้องซื่อสัตย์สุจริตต่อวิชาชีพของตน

จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพครู มีดังนี้

1. จริยธรรมต่อตนเอง

2. จริยธรรมต่อบุตรธิดา

3. จริยธรรมต่อภริยาหรือสาม

4. จริยธรรมต่อบิดามารดา

5.จริยธรรมต่อลูกศิษย์ ครูต้องให้ความรักต่อลูกศิษย์เหมือนกับบุตรของตนเอง เพราะครูเปรียบเหมือนกับ บิดามารดาคนที่สองของศิษย์ ดังนั้น ครูต้องมอบความรักให้กับศิษย์ มีเมตตากรุณา มีความยุติธรรม ว่ากล่าวตักเตือนเมื่อศิษย์กระทำผิด ไม่เปิดเผยความลับของศิษย์เป็นต้น

6. จริยธรรมต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ค่านิยม

ค่านิยม คือ ความนิยมในสิ่งที่มีค่าควรแก่การปกป้องคุ้มครองป้องกันดูแลรักษาไว้ให้มั่นคง ดำรงอยู่ให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม

ค่านิยมที่ครูควรยึดถือ คือ แนวคิดหรือความประพฤติอันดีงามที่ครูควรยึดถือเป็นหลักประจำใจ และปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ยึดถือนั้นเป็นประจำ

ตัวอย่าง การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีวินัย ประหยัด ปฏิบัติตามศีล 5 ซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม เสียสละ กล้าหาญ รักสุขภาพ มีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

คานิยมที่ครูไมควรยึดถือ คือสิ่งที่ครูไม่ควรจะยึดถือประจำใจ เพราะเห็นว่าไม่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นครู และการประกอบวิชาชีพการงานของครู

ตัวอย่าง การฟุ่มเฟือย แสวงหาโชค สนุกสนาน ทำตัวตามสบาย ใช้สิ่งเสพติดมึนเมา ยกย่องผู้ประพฤติผิดคุณธรรมให้เป็นบุคคลสำคัญ

ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ

ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้เชิญชวนให้ทุกคนร่วมกันส่งเสริมปลูกฝังและปฏิบัติตาม ได้แก่

1. การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ

2. การประหยัด อดออม

3. การมีระเบียบวินัย และเคารพกฏหมาย

4. การปฏิบัติตามคุณธรรมทางศาสนา

5. ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ค่านิยมไทย 12 ประการ

การสร้างค่านิยมหลักของคนไทย ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติ ให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ (15ก.ค. 2557)

มีดังนี้

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย

6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์

7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย

8. มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ

12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา

1. คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา

คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาก็คือ คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลักธรรมหมวดนี้ คือ “ กัลยาณมิตตาธรรม ” ซึ่งมี 7 ประการ ดังนี้

1. ปิโย - น่ารัก หมายความว่า บุคคลใดที่เป็นครูนั้นจะต้องเป็นผู้ที่น่ารักศิษย์ได้พบเห็นแล้วอยากเข้าไปพบ สบายใจเมื่อได้พบปะกับอาจารย์ผู้นั้น สำหรับแนวทางกระทำตนให้น่ารักของศิษย์นั้นสามารถกระทำได้ดังนี้

1.1. มีเมตตาหวังดีต่อเด็กเสมอ

1.2. ยิ้มแย้ม แจ่มใส ไม่บึ้งตึงทั้งเวลาสอนและนอกเวลาสอน

1.3. ให้ความสนิทสนมกับศิษย์ตามควรแก่กาลเทศะ

1.4. พูดจาอ่อนหวานสมานใจ

1.5. เอาใจใส่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง

1.6. เป็นเพื่อนในสนามกีฬา เป็นครูที่สง่าในห้องเรียน

1.7. เมื่อเด็กมีความทุกข์ ครูให้ความเอาใจใส่คอยปลอบประโลมให้กำลังใจ

2. ครุ - น่าเคารพ หมายความว่า บุคคลที่เป็นครูนั้นต้องเป็นผู้ประพฤติตนเหมาะสมแก่ฐานะของความเป็นครู กระทำตนเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ทั้งพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ

3. ภาวนีโย – น่าเจริญใจหรือน่ายกย่อง หมายความว่ากระทำตนให้เป็นที่เจริญน่ายกย่องของศิษย์และบุคคลทั่วไป มีความรู้และภูมิปัญญาอย่างแท้จริง มีคุณธรรมควรแก่การกราบไหว้บูชาของศิษย์เสมอ เปิดรับความรู้ใหม่ ๆ เชื่อกฎแห่กรรม เป็นผู้รักษาศีล ควบคุมจิตด้วยสมาธิ

4. วัตตา - มีระเบียบแบบแผน หมายความว่า ครูต้องกระทำตนให้เป็นบุคคลที่เคารพกฎระเบียบ มีระเบียบแบบแผน ขณะเดียวกันก็อบรมตักเตือนศิษย์ให้เป็นผู้มีระเบียบ

5. วจนักขโม - อดทนต่อถ้อยคำ หมายความว่า ครูจะต้องอดทนต่อคำพูดของศิษย์ที่มากระทบความรู้สึก ครูต้องพร้อมรับฟังข้อซักถาม ให้คำปรึกษาหารือ แนะนำ ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว

6. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา - แถลงเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง หมายความว่าครูจะต้องมีความสามารถในการสอน ใช้คำพูดในการอธิบายเรื่องราวต่างๆได้อย่างแจ่มแจ้ง มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะพูด

7. โน จัฏฐาเน นิโยชเย - ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสื่อม หมายความว่า ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางที่ต่ำทรามใดๆ สิ่งใดเป็นความเสื่อมโทรมทางจิต จะไม่ชักนำศิษย์ไปทางนั้น ในขณะเดียวกันครูต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งปวง


ครูดีตามนัยทางพระพุทธศาสนา

ดร.ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

คำว่า “ครู” หรือ “คุรุ” มาจากคำว่า คุรุ หรือ ครุ คือผู้ที่หนักแน่น ผู้มีภาระอันใหญ่หลวงในวิชาความรู้ ในคุณธรรม และในภารกิจการงาน รวมทั้งการทำหน้าที่สร้างสรรค์ ยกย่องเชิดชูศิษย์ของตนเอง จากผู้ที่ไม่รู้ให้กลายเป็นผู้รู้ ผู้ที่ไม่มีความสามารถให้มีความสามารถ ผู้ที่ไม่มีความคิดให้มีความคิด ผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม ให้มีความเหมาะสม และจากผู้ที่ไม่พึงปรารถนาให้เป็นผู้ที่พึงปรารถนา ซึ่งตามนัยของความเป็นครูในภาษาไทยจึงเป็นผู้ที่ต้องทำงานหนักจริงๆ ส่วนในภาษาอังกฤษมาจากคำว่า TEACHER กล่าวคือ

T- Teach

E– Example

A–Ability

C- Characteristic

H– Health

E- Enthusiasm

R - Responsibility

ขยายความในแต่ละคำ

1. TEACH (การสอน)

คุณลักษณะประการแรกของความเป็นครูก็คือ ต้องสอนได้ และสอนเป็น สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ในตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีได้หลังจากได้รับประสบการณ์ที่ครูได้จัดให้ โดยการ :

1. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม

2. สอนให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนในเรื่องที่สอน

3. สอนศิลปวิทยาให้หมดสิ้น ไม่ปิดบังอำพลาง

4. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะและสาธารณชน

5. สร้างภูมิคุ้มกันในทั่วทุกสารทิศ (สอนให้รู้จักเลี้ยงตัว รักษาตนในอันที่จะดำเนินชีวิตต่อไปด้วยดี)และที่สำคัญคือ

6. สอนให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญา อารมณ์ สังคม มีความคิด และสร้างสรรค์สิ่งดีงามออกมา การสอนของครูแต่ละคนนั้น ขึ้นกับทักษะและลักษณะของตนเอง (Teaching skill and style) ที่ได้ฝึกฝนอบรมมา เป็นการนำเทคนิควิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านมาผสมผสานให้เหมาะสมสอดคล้องกัน จึงต้องใช้เทคนิคและทักษะหลายด้านร่วมกับประสบการณ์เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และต้องมุ่งจัดสรรการเรียนรู้นั้นไปในทิศทางที่ดีและมีคุณธรรมในสังคม บทบาทการสอนของครูจึงต้องดำเนินการโดย

6.1จัดการเรียนรู้ สอนเนื้อหาวิชาการตามหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย เป็นอย่างดี

ก่อนที่จะสอน ครูจะต้องมีการเตรียมการสอนอย่างเป็นอย่างดี ตั้งแต่การทำแผนจัดการ

เรียนรู้หรือแผนการสอนรายชั่วโมง การดำเนินการสอน และการประเมินผล มี

การปรับปรุงพัฒนา และสร้างผลงานทางวิชาการอยู่เสมอ

6.2 สอนและปลูกฝังทักษะการปรับตัวให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข

6.3 อบรมสั่งสอนให้ให้เจริญเติบโต มีความคิด มีเหตุผล และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ฉลาดทางอารมณ์และเฉียบคมทางสติปัญญา

2. EXAMPLE (เป็นตัวอย่าง)

ผู้เรียนโดยทั่วไปนั้นจะ “เรียน” และ “เลียนแบบ” จากครู การทำตัวเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดีจึงมีคุณค่ามากกว่าคำสอน มีอิทธิพลมากกว่าการบอกกล่าวเฉยๆ เพราะการแสดงต้นแบบให้เห็นด้วยสายตานั้นเป็นภาพที่มองเห็นชัดเจนและง่ายต่อการลอกเลียนยิ่งกว่าการรับฟังและบอกเล่าอย่างปกติ ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเป็นอะไร จงพยายามแสดงออกเช่นนั้นทั้งในการดำเนินชีวิตและการแสดงพฤติกรรมออกมาการวางตัวของครูเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้เรียนได้มาก แม้ว่าผู้เรียนจะมีความคิด ความอ่านของตนเองที่ไม่ต้องการเลียนแบบผู้ใหญ่ทุกประการเหมือนเด็กเล็ก แต่ครูก็ คือครูที่ผู้เรียนพิจารณาว่ามีความหมายสำคัญอยู่มาก โดยเขาจะสนใจและเฝ้าสังเกตนับตั้งแต่การแต่งกาย ไปจนถึงการประพฤติปฏิบัติ จะเป็นประสบการณ์ให้เขาได้พิจารณา นอกจากนี้การรู้ตัวเองของครู การแนะนำให้ผู้เรียนประพฤติให้เหมาะสม ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ครู (ตัวเรา) ต้องประพฤติและปฏิบัติตนให้เหมาะสมด้วย

3. ABILITY (ความสามารถ)

คำว่า “ความสามารถ” หมายถึงกำลังที่มีจริงในการแสดงหรือในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำทางกายหรือทางจิตใจ และไม่ว่ากำลังนั้นจะได้มาจากการฝึกฝนอบรมหรือไม่ก็ตาม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความสามารถทั่วไป (general ability) และความสามารถพิเศษ(specific ability)

4. CHARACTERISTIC (คุณสมบัติ)

หมายถึง คุณภาพหรือคุณสมบัติที่สังเกตได้ชัดเจนในตัวบุคคล ทำให้ทราบได้ว่า บุคคลนั้นแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆอย่างไร ความหมายเฉพาะ อุปนิสัยหมายถึง ผลรวมของนิสัยต่างๆ ที่บุคคลมีอยู่ หรือผลรวมของลักษณะของพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล ตามความเข้าใจของคนทั่วไป

คำว่าอุปนิสัยนี้แฝงความหมายของคุณธรรมจรรยาในตัวด้วย เช่น เราพูดว่าเขาผู้นั้นมีอุปนิสัยดี เป็นต้น ในคุณสมบัติของความเป็นครู สิ่งสำคัญคือ ครูจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน ต่อวิชาที่สอน และต่องานที่ทำ

5. HEALTH (สุขภาพดี)

ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ การมีสุขภาพดี หมายถึงการไม่มีโรค มีสภาพร่างกายแข็งแรงและจิตใจเข้มแข็งพอที่จะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ผู้ที่เป็นครูนั้นต้องทำงานหนัก ดังนั้น สุขภาพทางด้านร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่าคือสุขภาพจิต คงเคยได้ยินคำว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” หรือ “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน” ดังนั้น ครูนอกจากจะรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงแล้ว จำต้องฝึกจิตให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วยจิตดีนั้นไม่เพียงแต่ไม่เป็นโรคจิตโรคประสาทเท่านั้น แต่เป็นผู้ที่มีสมรรถภาพ มีการงานและมีชีวิตที่เป็นสุขทำประโยชน์ต่อสังคมด้วยความพอใจ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งต่อบุคคลที่เราอยู่ร่วมและต่อสังคมที่เราเกี่ยวข้อง โดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

6. ENTHUSIASM (ความกระตือรือร้น)

ความกระตือรือร้นของครูนั้น อาจจะเป็นการใฝ่หาความรู้ใส่ตน เพราะจะต้องถือว่าการใฝ่หาความรู้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของการพัฒนาตน (Learning to teach is a process of self-development) การเพิ่มพูนความรู้มีหลายรูปแบบ เช่น การประชุมสัมมนา อบรมระยะสั้น และการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต จะทำให้ครูที่ขาดความรู้ในเรื่องที่ตนสอนได้มีความรู้เพิ่มเติมและทำให้มีความมั่นใจในการสอนมากขึ้นความกระตือรือร้นของครูนั้น ไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาตัวครูเท่านั้น แต่จะต้องมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วย

7. RESPONSIBILITY (ความรับผิดชอบ)

ครูที่ดีจะต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนตามที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นอย่างดี รวมทั้งยอมรับผลแห่งการกระทำนั้นๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขการสอนของครูคำถามต่อไปนี้จะบ่งชี้ว่าครูท่านนั้นเป็นครูที่ดีหรือไม่ รวมทั้งตัวเราเองที่เป็นครูด้วย ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

ครูดีตามนัยทางพระพุทธศาสนา

พุทธทาสภิกขุ ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับครูที่ดีไว้ ดังนี้คือ

1. ครูดี คือ ผู้นำทางวัตถุ หมายถึง การเป็นผู้นำใน 4 ประการดังนี้ คือ

1.1 เป็นผู้นำในการแสวงหาอย่างถูกต้อง ยึดหลักการแสวงหาอย่างสัตบุรุษไม่ก่อให้เกิดทุกข์ ทั้งแก่ตนเองและ ผู้อื่น ไม่กระทบกระทั่งให้ผู้อื่นเดือดร้อน

1.2 เป็นผู้นำในการเสวยผลอย่างถูกต้อง หมายถึง ไม่ผูกขาดเอาผลที่ได้รับจากการแสวงหามาเป็นของตนแต่ ผู้เดียว แต่จะต้องเผื่อแผ่ไปให้แก่ผู้อื่นโดยรอบด้าน

1.3 เป็นผู้นำในการเป็นอยู่อย่างถูกต้อง คือ ดำเนินชีวิตโดยปฏิบัติตามอริยมรรค อันมีองค์แปด ซึ่งเมื่อปฏิบัติ จนถึงที่สุดแล้วจะเกิดปัญญาเห็นธรรมชาติ ตามสภาพที่เป็นจริง คือ ความไม่มีตัวตน ทุกสิ่งเป็นเพียง ผลการปรุง แต่งของธาตุต่างๆ ตามธรรมชาติ และจะต้องเกิด-ดับ ไป ตามสภาพ จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเรา อันจะก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัว และเบียดเบียนซึ่งกันและกัน

1.4 เป็นผู้นำในการใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

2. เป็นผู้นำทางวิญญาณ หมายถึง ความเป็นผู้นำในเรื่องจิตใจ 4 ประการดังนี้คือ

2.1 มีความเข้าใจในกฏอิทิปปัจจัยตา คือ มองเห็นตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งในโลกนี้เป็นไปตามเหตุตาม ปัจจัย เมื่อมีเหตุมีปัจจัยอย่างไรก็มีผลไปตามเหตุตามปัจจัย

2.2 มีความเข้าใจกฏตถตา ตถตาเป็นภาษาบาลี แปลว่า เป็นเช่นนั้นเอง คือ ทุกสิ่งเป็นเช่นนั้นเองตามธรรมชาติ เช่น มีการเกิดก็ต้องมีตาย ในความสบายก็มีความเจ็บไข้ซ่อนอยู่ การเจ็บการตายล้วนเป็นเช่นนั้นเอง ตามธรรมชาติ ไม่ใช่โชคร้ายหรือเคราะห์ภัยอะไรทั้งสิ้น เป็นต้น

2.3 มีความเป็นอยู่อย่างไม่มีอุปสรรค คือ ไม่ถือเอาอุปสรรคเป็นสิ่งขัดขวางหรือทำให้ท้อถอย แต่ให้ยินดีรับเอา อุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิต ในการงานหรือในจิตใจมาเป็นบทเรียนที่จะช่วยให้มีความรู้มีประสบการณ์ และมีความ สามารถในเรื่องนั้นๆ ดียิ่งขึ้น

2.4 มีความเป็นอยู่อย่างไม่มีทุกข์ ความทุกข์เกิดจากความไม่รู้ เช่น เมื่อมีความต้องการแล้วไม่เป็น ไปตาม ความต้องการที่เกิดความทุกข์ ถ้าไม่ต้องการให้เกิดทุกข์ก็ต้องให้ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่ต้องการให้มาก ไป กว่า ความเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยนั้น

3. มีชีวิตเป็นธรรม คือ อยู่ด้วยธรรมและเพื่อธรรม หมายถึง ใช้กรรมเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตเพื่อ ให้ได้ผลคือธรรมที่พึงปรารถนา เช่น การดับทุกข์ ธรรมที่เป็นเครื่องมืออยู่มากมายเช่น ฆราวาสธรรม อัน เป็นธรรม สำหรับผู้ครองเรือนมี 4 ประการคือ

1. สัจจะ ความจริง

2. ทมะ ความข่มใจ

3. ขันติ ความอดทน

4. จาคะ การเสียสละ การให้

อิทธิบาท 4 คือ ธรรมที่ช่วยให้สำเร็จประโยชน์มี 4 ประการคือ

1. ฉันทะ ความพอใจในสิ่งนั้น

2. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น

3. จิตตะ ความเอาใจใส่ในสิ่งนั้น

4. วิมังสา ความสอดส่องค้นคว้าในสิ่งนั้น

อย่างไรก็ตามธรรมบางประการก็เป็นได้ทั้งธรรมที่เป็นเครื่องมือ และธรรมที่เป็นผล เช่น ใช้ศีลเป็นเครื่องมือ ให้เกิดสมาธิ สมาธิจึงเป็นผลที่ต้องการ ขณะเดียวกันก็ใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดผลคือปัญญา เป็นต้น

4. มีอุดมคติ ครูดีจะต้องมีอุดมคติ 4 ประการ คือ

4.1 ทำงานเกินค่า คือทำงานให้แก่โลกเกินค่าที่ได้รับตอบแทนจากสังคม เพราะครูเป็นผู้สร้างทางจิตใจ ซึ่งมีค่าเกินกว่าจะตีค่าเป็นเงิน

4.2 ทำงานเพื่อหน้าที่มิใช่เพื่อตนเอง ไม่เห็นแก่ตัว และไม่หวังประโยชน์ส่วนตน

4.3 ทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม ไม่หลงใหลในความสุขทางกาม ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ

4.4 ทำงานเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ คือ เป็นผู้มีธรรมและมีชีวิตเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง แก่ผู้อื่นและแก่โลก

คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา

ครูดี ต้อง มี “กัลยาณมิตตาธรรม” 7 ประการ ดังนี้

1. ปิโย - น่ารัก หมายความว่า บุคคลใดที่เป็นครูนั้นจะต้องเป็นผู้ที่น่ารักศิษย์ได้พบเห็นแล้วอยากเข้าไปพบ สบายใจเมื่อได้พบปะกับอาจารย์ผู้นั้น สำหรับแนวทางกระทำตนให้น่ารักของศิษย์นั้นสามารถกระทำได้โดยมีเมตตาหวังดีต่อเด็กเสมอ ยิ้มแย้ม แจ่มใส ไม่บึ้งตึงทั้งเวลาสอนและนอกเวลาสอน ให้ความสนิทสนมกับศิษย์ตามควรแก่กาลเทศะ พูดจาอ่อนหวานสมานใจ เอาใจใส่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง เป็นเพื่อนในสนามกีฬา เป็นครูที่สง่าในห้องเรียน เมื่อเด็กมีความทุกข์ ครูให้ความเอาใจใส่คอยปลอบประโลมให้กำลังใจ

2. ครุ - น่าเคารพ หมายความว่า บุคคลที่เป็นครูนั้นต้องเป็นผู้ประพฤติตนเหมาะสมแก่ฐานะของความเป็นครู กระทำตนเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ทั้งพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ

3. ภาวนีโย – น่าเจริญใจหรือน่ายกย่อง หมายความว่ากระทำตนให้เป็นที่เจริญน่ายกย่องของศิษย์และบุคคลทั่วไป มีความรู้และภูมิปัญญาอย่างแท้จริง มีคุณธรรมควรแก่การกราบไหว้บูชาของศิษย์เสมอ เปิดรับความรู้ใหม่ ๆ เชื่อกฎแห่กรรม เป็นผู้รักษาศีล 5 เบญจธรรม 5 และควบคุมจิตด้วยสมาธิ

4. วัตตา - มีระเบียบแบบแผน หมายความว่า ครูต้องกระทำตนให้เป็นบุคคลที่เคารพกฎระเบียบ มีระเบียบแบบแผน ขณะเดียวกันก็อบรมตักเตือนศิษย์ให้เป็นผู้มีระเบียบวินัยในตนเองด้วย

5. วจนักขโม - อดทนต่อถ้อยคำ หมายความว่า ครูจะต้องอดทนต่อคำพูดของศิษย์ที่มากระทบความรู้สึก ครูต้องพร้อมรับฟัง

ข้อซักถาม ให้คำปรึกษาหารือ แนะนำ ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว ครูจำต้องทนฟังคำที่ศิษย์ซักถาม และทนต่อคำพูดที่ไม่ดีด้วย

6. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา แถลงเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง หมายความว่าครูจะต้องมีความสามารถในการสอน ใช้คำพูดในการอธิบายเรื่องราวต่างๆได้อย่างแจ่มแจ้ง มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะพูด สามารถขยายความลึกซึ้งได้กระจ่าง

7. โน จัฏฐาเน นิโยชเย - ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสื่อม หมายความว่า ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางที่ต่ำทรามใดๆ สิ่งใดเป็นความเสื่อมโทรมทางจิต จะไม่ชักนำศิษย์ไปทางนั้น ในขณะเดียวกันครูต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งปวงด้วย เพราะครูเป็น

ต้นแบบทางความประพฤติของนักเรียน



สรุป

การเป็นครูที่ดีนั้น ไม่ใช่ว่า ใครก็เป็นได้ แต่ต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เพราะยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม นอกจากนี้แล้วยังต้อง“สอนเป็น ถ่ายทอดเป็น” ถือว่าเป็นภารกิจหลักของครู ครู (มืออาชีพ) จึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียนและเยาวชนของชาติ การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า “คุณภาพของเด็ก” สะท้อน “คุณภาพของครู” หรือ “ถ้าอยากรู้ว่า ครูเป็นอย่างไรนั้น ให้ดูเด็กที่ได้อบรมสั่งสอนมา” ดังนั้นครูมืออาชีพ ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เมตตา และ กัลยาณมิตร ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป ผู้ที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูทุกท่าน ล้วนแต่มีความต้องการให้ลูกศิษย์ประสบผลสำเร็จในการเรียนและในชีวิตของเขาทั้งสิ้น ความสำเร็จนั้นได้มีการทดสอบจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากครู อาจารย์ ดังนั้นเมื่อรู้แล้วว่าพฤติกรรมการสอนใดที่จะส่งผลต่อพวกเขา จึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง มีคำกล่าวว่า "การพัฒนาชาติให้เริ่มที่ประชาชน จะพัฒนาคนให้เริ่มที่ใจ จะพัฒนาอะไรให้เริ่มที่ตัวเองก่อน" หรือ “อนาคตของชาติ อยู่ในกำมือของเด็กและเยาชน แต่อนาคตเด็กและเยาวชน อยู่ในกำมือครู และผู้เกี่ยวข้องทุกคน”

ดังนั้น ขอให้ครูเราจงรวมพลัง สร้างสรรค์ พัฒนาอาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชันสูง มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สืบต่อไป


เอกสารอ้างอิง


วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2562) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พัชนี สมกําาลัง. (2556). จิตวิญญาณของผู้นําทางการพยาบาล ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2557). ครูมืออาชีพในบทความศูนย์ การฝึกนักศึกษาวิชาทหารมณฑล

ทหารบกที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 28 มีนาคม 2562 จาก http://www. rtckorat. org/wordpress/?=164

ศุภลักษณ์ ทัดศรี และอารยา พรายแย้ม. (2554). จิตวิญญาณในชีวิตประจําวัน.

กรุงเทพมหานคร: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2558). ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษา

ขั้นพื้นฐานสอบครู ครูอาชีพกับอาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

สํานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). การยกระดับคุณภาพครู

ไทยในศตวรรษ ที่ 21. ในการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์ การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยน ประเทศไทย”. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพ เยาวชน.

สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2558). ทําไมต้องทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. 21st Century Skill : Why ?

“TEACH LESS, LEARN, MORE”. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมรรัตน์ แก่นสาร. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครูของครู. สังกัดสํานักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ครูเชียงราย https://www.kruchiangrai.net/

ครูดี มีคุณธรรมประจำจิต

ครูดี สร้างชีวิตให้สดใส

คุณภาพ คุณประโยชน์โปรดใส่ใจ

ครูดีไซร้ทำดี ทำชอบ ทำเก่ง เคร่งวินัย ใส่ใจผู้เรียน

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.oknation.net/blog/Duplex/2009/03/17/ent...

https://sites.google.com/site/khrukhonmai/k1

http://www.oknation.net/blog/Duplex/2009/03/17/ent...

https://sites.google.com/site/khrukhonmai/k1

https://wbscport.dusit.ac.th/artefact/artefact.php?artefact=14571&view=66&block=12029

https://www.krupatom.com/education_574