น่วยย่อยที่ 4.4

ารเลือกใช้บริการสุขภาพ

4.4 การเลือกใช่้บริการสุขภาพในชีวิตประจำวัน

ใบความรู้ที่ 8

เรื่อง การเลือกใช้บริการทางสุขภาพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9

เรื่อง การเลือกใช้บริการทางสุขภาพ

รายวิชา สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โรงพยาบาล (หรืออาจใช้ว่า สถานพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์) เป็นสถานที่สำหรับการบริการทางด้าน สุขภาพ โดยมักที่จะมุ่งเน้นทางด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วย หรือโรคต่างๆ ทั้งทาง ร่างกายและทางจิตใจ ในประเทศไทยมีการให้บริการทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งคลินิกที่เปิด บริการโดยทั่วไป

1. โรงพยาบาลรัฐบาล

1.1 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย – วิทยาลัยแพทยศาสตร์

1.2 โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสถาบันผลิตแพทย์

1.3 โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก

1.4 โรงพยาบาลส่วนกลาง

1.5 โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค

1.6 โรงพยาบาลศูนย์

1.7 โรงพยาบาลทั่วไป
1.8 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

1.9 โรงพยาบาลชุมชน

1.10 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

1.11 โรงพยาบาลเฉพาะทาง

2. โรงพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ

2.1 สภากาชาดไทย

2.2 สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

2.3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.4 กรมแพทย์ทหารบก

2.5 กรมแพทย์ทหารเรือ

2.6 กรมแพทย์ทหารอากาศ

2.7 สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

2.8 การรถไฟแห่งประเทศไทย

2.9 การท่าเรือแห่งประเทศไทย

2.10 การไฟฟ้านครหลวง

2.11 กระทรวงการคลัง

2.12 กระทรวงยุติธรรม

อาการฉุกเฉินวิกฤติ เข้ารักษาในโรงพยาบาลฟรี 72 ชม. สพฉ. ตั้งอนุกรรมการฯ ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติให้ได้รักษาฟรีตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุก สิทธิ์” เสนอครม.ของบสนับสนุน 1,000 ล้านบาท ย้ำมีเกณฑ์การคัดแยกชัดเจน พร้อมจัดทีมแพทย์ประจำ เพื่อให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาการคัดแยกให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) เกี่ยวกับโครงสร้างค่า รักษาพยาบาลในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และความคืบหน้าตาม นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุก สิทธิ์” ว่าที่ประชุม ได้เตรียมนำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีถึงแนวทาง ในการจัดการโดยจะให้สถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักเบื้องต้นได้เสนอของบประมาณ ในสนับสนุนโครงการนี้ 1,000 ล้านบาท และ กพฉ. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็น ประธาน มาเพื่อรับผิดชอบดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพื่อบูรณาการการทำงานกับ ภาคส่วนต่างๆ ให้เป็นเอกภาพ รวมถึง การเจรจาต่อรองค่ารักษาพยาบาลกับทั้ง 3 กองทุน และภาคเอกชนด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติเข้ารับรักษาฟรีใน 72 ชั่วโมงแรก ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์” ส่วนกรณีที่หลายโรงพยาบาลมีข้อขัดแย้งเรื่อง การรับรักษาประชาชนเนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤตินั้น สพฉ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อ คัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินไว้ในประกาศ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแล้ว โดย ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คือ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่ง มีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับ ปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือ ระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาส เสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่าง ฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะต้องได้รับการตรวจ รักษาภายใน 0-4 นาทีเลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า สำหรับอาการที่สามารถเข้ารับสิทธิรักษาฟรีได้จะต้องมีอาการดังนี้ 1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร ต้องได้รับการกู้ชีพทันที 2. การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน 3. ระบบหายใจ ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือ ร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ 4. ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤติอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบ เมื่อลุกยืนขึ้น 5. อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ 6. อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรือกำลังชักขณะ แรกรับที่จุดคัดแยก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://th.wik...84%E0%B8%97%E0%B8%A2