น่วยย่อยที่ 4.1

วามสมดุลของสุขภาพกายและสุขภาพจิต

4.1 ความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ใบความรู้ที่ 4.1

เรื่อง ความสัมพันธ์ของภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต

รายวิชา สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

องค์การอนามัยโลก ให้คำจำกัดความของคำว่า สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ไว้ดังนี้

สุขภาพกาย หมายถึง สภาพของร่างกายที่เจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ทุพพลภาพ อวัยวะต่างๆ อยู่ในสภาพที่ดีมีความสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กันทุกส่วนเป็นอย่างดี ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการทำงาน

สุขภาพจิต หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มี สัมพันธภาพอันดี กับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความสามารถของตนเองใน โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจและไม่ขัดกับสภาพความเป็นจริงในสังคมนั้นๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกายและจิต สุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กันมาก ดั่งคำที่ว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว” หมายถึง คนที่มีสุขภาพจิตดี ย่อมมีสุขภาพกายที่ดีตามไปด้วย เพราะจิตเป็นตัวกำหนดและควบคุมร่างกาย จึงกล่าวได้ว่า สุขภาพจิตดี มักอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณกล่าวถึงความเชื่อไว้ว่า “ A Sound Mind in a Sound Body” หมายความว่า “จิตใจที่ดีย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” ถ้าร่างกายสมบูรณ์และแข็งแรงดี จิตใจก็จะเป็นสุข สดชื่น แจ่มใส เบิกบาน แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอ เจ็บไข้ ป่วยบ่อยๆ จิตใจก็จะหดหู่ ไม่สดชื่นแจ่มใส ดังนั้นถ้าจิตใจไม่สบายไม่เป็นสุข มีความเครียด มีความวิตกกังวลใจ ก็จะมีผลต่อร่างกาย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย ร่างกายซูบผอม หน้าซีดเซียวเศร้าหมอง นี่เป็น เครื่องพิสูจน์ว่าร่างกายและจิตใจแยกขาดออกจากกันไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจควบคู่กัน ไป

สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้

1. สภาพร่างกายและจิตใจมีการพัฒนาการและเจริญเติบโตได้เหมาะสมกับวัย

2. การทำงานของอวัยวะต่างๆ มีความสมบูรณ์แข็งแรง และทำงานได้อย่างปกติ

3. บุคคลมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

ภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต หมายถึง สภาวะที่ร่างกายและจิตใจมีความปกติในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในทางตรงกันข้ามหากสุขภาพส่วนใดส่วนหนึ่งมีความบกพร่องหรือมีสภาวะที่ผิดปกติ ก็จะเกิดความไม่สมดุลระหว่างสุขภาพทั้งสองด้านขึ้น

หลังจากศึกษาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ครูกำหนดให้
ให้นักเรียนทำใบงานเรื่องวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
ส่งครูในวันที่

"๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔"

ใบงานประกอบการสอน_เรื่อง_ความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต-01110654.pdf