การถอด-ประกอบ และตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนงานสายพานไทม์มิ่ง เครื่องยนต์

TOYOTA 1-KD, 2-KD

แนวคิด เครื่องยนต์ TOYOTA 1-KD, 2KD เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้สายพานไทม์มิ่ง (Timing belt) ในการถ่ายทอดกำลังจากเฟืองปั๊มน้ำมันคอมมอนเรล (Common rail pump) เพื่อไปขับเฟืองเพลาลูกเบี้ยวให้ทำหน้าเปิด – ปิดลิ้นไอดีและลิ้นไอเสีย ให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ขึ้นและลงของลูกสูบ ตามวัฎจักรการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ ซึ่งเครื่องยนต์ TOYOTA 1-KD, 2KD จะมีอายุการใช้งานของสายพานไทม์มิ่งประมาณ 150,000 กิโลเมตร

ลักษณะของเครื่องยนต์ TOYOTA 1-KD, 2KD

ลักษณะการส่งกำลังของสายพานไทม์มิ่งเครื่องยนต์ TOYOTA 1-KD, 2,KD

งานถอดประกอบสายพานไทม์มิ่งเครื่องยนต์ TOYOTA 1-KD, 2KD

ระบบกลไกยกลิ้นแบบสายพานไทม์มิ่ง TOYOTA 1-KD, 2KD

เครื่องมือและอุปกรณ์

1. เครื่องมือเบื้องต้น 2. ประแจวัดแรงบิด 3. ถาดใสเครื่องมือ

4. เครื่องมือถอดพูลเลย์ 5. เครื่องยนต์ดีเซล TOYOTA 2L, 3L, 5L

ขั้นตอนการถอดสายพานไทม์มิ่ง

1. ถอดท่อยางหม้อน้ำด้านบนออกเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ง่าย (ลูกศรสีแดง)

2. ถอดโบลท์ฝาครอบสายพานทุกตัว และถอดฝาครอบสายพานออก (ลูกศรสีแดง)

3. ใช้ประแจขันโบลท์เพลาข้อเหวี่ยงหมุนเครื่องยนต์ตามทิศทางการหมุน โดยให้สูบ 1 อยู่ในตำแหน่งอัดสุด ตรวจสอบตำแหน่งเครื่องหมายทั้ง 2 ตำแหน่ง ต้องตรงกันก่อนทำการถอดสายพานไทม์มิ่ง


4. ตรวจสอบตำแหน่งเครื่องหมายทั้ง 3 ตำแหน่ง ต้องตรงกันก่อนทำการถอดสายพานไทม์มิ่ง (ลูกศรสีแดง)

5. คลายโบลท์กระบอกไฮดรอลิค (ลูกศรสีแดง) และโบลท์ลูกกลิ้งดันสายพาน (ลูกศรสีแดง) ออกพร้อมๆกัน

6. จากนั้นทำการถอดสายพานไทม์มิ่งออก


การตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนงานสายพานไทม์มิ่ง

1. ตรวจสอบความคล่องตัวของลูกปืนลูกกลิ้งกดสายพาน (ตามที่ลูกศรสีแดงชี้) โดยใช้มือหมุน ถ้ามีการขัดตัวหรือมีเสียงดังควรเปลี่ยนใหม่


2. ตรวจสอบกระบอกไฮดลอลิค ที่ดันเรือนลูกกลิ้งกดสายพาน (ตามที่ลูกศรสีแดงชี้) โดยใช้มือกด หรือใช้แท่นปากกาบีบเบาๆ ถ้ามีการขัดตัวหรือยุบตัวได้ง่ายควรเปลี่ยนใหม่


**ลูกกลิ้งกดสายพาน กับ กระบอกไฮดลอลิค ควรเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง

3. ตรวจสอบเบอร์ขนาดของสายพานไทม์มิ่งว่าตรงกับค่ามาตรฐานหรือไม่

TOYOTA 1-KD, 2-Kd สายพานไทม์มิ่งมีขนาดหน้ากว้าง 31 มิลลิเมตร จำนวน 97 ฟัน

4. กรณีใช้สายพานไทม์มิ่งเส้นเดิม แต่ถ้าสายพานชำรุดดังภาพ ควรเปลี่ยนใหม่


5. การตรวจสอบปั๊มน้ำ

- ตรวจสอบการรั่วของน้ำหล่อเย็น โดยสังเกตถ้ามีคาบน้ำไหลออกมาควรเปลี่ยนใหม่ (ลูกศรสีแดง)

- ตรวจสอบลูกปืนปั๊มน้ำ หน้าแปลนพลูเลย์ปั๊มน้ำ ถ้าขัดตัวและมีเสียงดังควรเปลี่ยนใหม่ (ลูกศรสีน้ำเงิน)

ขั้นตอนการประกอบสายพานไทม์มิ่ง

1. จัดตำแหน่งเครื่องหมายทั้ง 3 ตำแหน่งที่เฟือง ให้ตรงกันก่อนทำการประกอบสายพานไทม์มิ่ง (ลูกศรสีแดง)

2. ก่อนประกอบสายพานไทม์มิ่ง ให้สังเกตที่สายพานจะมีเครื่องหมายขีดสีขาว (ลูกศรสีแดง)

***ใช้อ้างอิงในการประกอบ เมื่อจัดเครื่องหมายทั้ง 2 ตำแหน่งตรงกันแล้ว (ตามขั้นตอนที่ 1) เครื่องหมายขีดสีขาวบนสายพานจะต้องตรงกับเครื่องหมายทั้ง 2 ตำแหน่งที่เฟืองด้วย

3. ทำการประกอบลูกกลิ้งกดสายพานไทม์มิ่ง (ลูกศรสีแดง)

4. ทำการประกอบกระบอกไฮดลอลิค เพื่อดันเรือนลูกกลิ้งกดสายพาน (ลูกศรสีแดง) จากนั้นดึงสลักล็อกแกนดันเรือนลูกกลิ้งกดสายพานออก (ลูกศรสีน้ำเงิน)

*** อย่าดึงสลักล็อกแกนกระบอกไฮดลอลิค (ลูกศรสีน้ำเงิน) ออกก่อนประกอบกระบอกไฮดลอลิค

5. ทำการดึงสลักล็อกแกนกระบอกไฮดลอลิค (ลูกศรสีแดง) ออก

*** สังเกตสายพานไทม์มิ่งจะต้องตึง

6. ใช้ประแจขันโบลท์เพลาข้อเหวี่ยงหมุนเครื่องยนต์ตามทิศทางการหมุน 2 รอบ ตรวจสอบตำแหน่งเครื่องหมายทั้ง 3 ตำแหน่ง ต้องตรงกันทั้งหมด

7. ตรวจสอบความเรียบร้อย จากนั้นประกอบฝาครอบสายพานไทม์มิ่งและขันโบลท์ยึดฝาครอบให้แน่น