บทเรียนที่ 1 บำเพ็ญประโยชน์ต่อวัด หรือศาสนสถาน

ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ( Guide) หมายถึง ผู้ที่ฝึกฝนตนเองให้พร้อมที่จะแนะนำและช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ โดยการฝึกทักษะต่างๆให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และคุณธรรม มีคำปฏิญาณ และกฎ 10 ข้อ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีโดยมีการจัดองค์กรการบริหารตามข้อบังคับและนโยบายขององค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลก



การปฏิบัติตนต่อวัด
การไปวัดควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย โดยใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ หรือสีขาวไม่ควรสวมกางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสั้นขณะที่เราอยู่ในบริเวณวัด เราควรสำรวมกาย วาจา ไม่ควรส่งเสียงดังและไม่ยิงนกตกปลาในวัด


การปฏิบัติตนต่อศาสนสถานอื่น ๆ
1. ช่วยกันรักษาให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่ขีดเขียนสิ่งใด ๆ ให้สกปรก
2. บำเพ็ญประโยชน์โดยการช่วยกันทำความสะอาดการทำความเคารพ เมื่อเดินผ่านวัดหรือ ศาสนสถานควรยกมือไหว้ด้วยความเคารพ


การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่วัด
วัดเป็นสถานที่อำนวยคุณประโยชน์มากมาย วัดตั้งอยู่ทั่วทุกตำบลทุกหมู่บ้าน วัดมีความสำคัญต่อชีวิตส่วนบุคคลตลอดถึงส่วนรวม คือ ประเทศชาติ เป็นสถาบันสำคัญสถาบันหนึ่งใน 3 สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์วัดเป็นสมบัติส่วนรวมของทุกคน เมื่อวัดเป็นสมบัติของเรา เราต้องบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่วัด ดังนี้

1) ไม่ทำลายทรัพย์สมบัติของวัด เช่น ไม่ขีดเขียนกำแพงฝาผนัง หรือข้างฝา

2) ไม่ลักขโมยทรัพย์สมบัติของวัด

3) ป้องกันมิให้ผู้อื่นทำลายหรือลักขโมยทรัพย์สมบัติของวัด

4) ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุที่ชำรุดทรุดโทรมให้มั่นคงแข็งแรง โดยช่วยกันบริจาคทรัพย์ซ่อมแซมหรือชักชวนให้ผู้อื่นช่วยกันบำรุงรักษาวัด

5) ช่วยกันรักษาความสะอาดศาสนสถานรวมทั้งบริเวณใด

6) ปลูกต้นไม้และบำรุงรักษาต้นไม้ เพื่อให้วัดเป็นสถานที่ร่มรื่นสวยงาม

7) บริจาคสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนรวมแก่วัด เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ภาชนะต่าง ๆ เป็นต้น

8) งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด

9) ควรนั่งให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่กำหนดไว้


การให้ทาน
คือ การให้ อันเป็นเจตนาสละ สิ่งใด สิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นการสละ ที่เป็นวัตถุ รูปธรรม และเป็นการสละ ให้ สิ่งที่เป็นนามธรรม มีการให้ ปัญญา ความเข้าใจ เป็นต้น
-วัตถุทาน การให้ การสละวัถตุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น เพราะบุคคลผู้ควรแก่การรับทานนั้นมีมาก ถ้ามีโอกาสที่จะสละวัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นแล้ว ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้ไม่เดือดร้อนในชีวิตประจำวัน
-อภัยทาน เป็นการให้ความไม่มีภัยแก่ผู้อื่น ไม่มีวัตถุสิ่งของที่จะให้ แต่ก็ควรพิจารณาว่า จะยากกว่าการสละวัตถุทานหรือไม่ เพราะเหตุว่าอภัยทาน เป็นการสละความเห็นแก่ตัว สละความรักตัวในการที่ไม่ให้อภัยในความผิดของคนอื่น หรือในความบกพร่องของคนอื่น ขณะที่ไม่อภัยให้บุคคลอื่น ขณะนั้นเป็นเพราะรักตัวเอง ที่ทำให้ไม่สามารถจะอภัยในความผิด หรือในความบกพร่องของคนอื่นได้ ลึกลงไปจริงๆ เป็นเพราะความรักตัว ความยึดมั่นในตัวตนนั่นเอง การสละความเห็นแก่ตัวขั้นอภัยทาน ทำให้สละความคิดร้าย สละความแค้นเคือง สละความผูกโกรธ สละความไม่หวังดี สละความไม่เป็นมิตร สละความไม่เกื้อกูล สละความไม่มีน้ำใจ ต่อคนอื่น
-ธรรมทาน การให้ธรรมเป็นทาน คือ การให้ความรู้ ให้ความเข้าใจ ให้ความเห็นถูกในธรรมะ ชี้แนวทางที่ถูกต้องให้ จะเห็นได้ว่า กุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้นได้ ก็เพราะธรรมทาน เป็นการเกื้อกูลให้ผู้อื่นได้มีความเข้าใจถูกเห็นถูก และเมื่อมีความเข้าใจถูกเห็นถูกแล้ว ความดีประการต่างๆ ก็จะเจริญขึ้นคล้อยตามความเห็นที่ถูกต้องด้วย