ข้อมูล กศน.ตำบลหว้านคำ


ข้อมูลทั่วไป กศน.ตำบลหว้านคำ

กศน.ตำบลหว้านคำ

ชื่อสถานศึกษา กศน.ตำบลหว้านคำ สถานที่ติดต่อ กศน.ตำบลหว้านคำ หมู่ที่ 11 ตำบลหว้านคำ อำเภอราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33160 โทร 08 – 1954 – 8524

ที่ตั้ง กศน.ตำบลหว้านคำตั้งอยู่ที่ กองทุนร้านชุมชน (หลังเก่า) บ้านหนองโง้ง หมู่ที่ 11 ตำบลหว้านคำ อำเภอราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33160

สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

กศน. ตำบลหว้านคำ เป็นสถานศึกษาในสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอราษีไศล สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นตามหนังสือสำนักงาน กศน.ที่ ศธ 0210.02/3267 ลงวันที่ 4 กันยายน 2552 เรื่องการดำเนินการ กศน.ตำบล สำนักงาน กศน. โดยเลขาธิการ กศน.(นายอภิชาต จิระวุฒิ) ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดทุกจังหวัด ดำเนินการปรับศูนย์การการเรียนชุมชนในทุกตำบลให้เป็น กศน.ตำบล เดิมใช้ชื่อว่าศูนย์การเรียนชุมชนตำบลหว้านคำ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น กศน. ตำบลหว้านคำ ในปัจจุบัน มีครูประจำตำบลหว้านคำ คือ นางสาวสรัญญา กัณท์หา ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน และแต่งตั้งใหม่เป็นครู กศน.ตำบล ในลำดับต่อมา

เขตพื้นที่ให้บริการ

ในเขตตำบลหว้านคำ มีจำนวน 13 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านหว้าน หมู่ที่ 2 บ้านหว้าน หมู่ที่ 3 บ้านดอนม่วง

หมู่ที่ 4 บ้านประอุง หมู่ที่ 5 บ้านดอนต่ำ หมู่ที่ 6 บ้านน้ำอ้อมน้อย

หมู่ที่ 7 บ้านหนองโง้ง หมู่ที่ 8 บ้านหนองขี้นก หมู่ที่ 9 บ้านหนองค้างไฟ

หมู่ที่ 10 บ้านน้ำอ้อมน้อย หมู่ที่ 11 บ้านหนองโง้ง หมู่ที่ 12 บ้านโนน

หมู่ที่ 13 บ้านนานวล

สีประจำสถานศึกษา คือ น้ำเงิน/ชมพู

ปรัชญาของสถานศึกษา คือ “คิดเป็น เน้นคุณธรรม นำสังคม”

วิสัยทัศน์ (Vission) กศน.ตำบลหว้านคำ คือ “มีน้ำใจ ใฝ่ศึกษา พัฒนาสังคม”

พันธกิจ (Mission)

1. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษานอกระบบให้กับประชาชนโดยร่วมกับเครือข่าวชุมชน

2. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่หลากหลายเพื่อการสอดคล้องความต้องการของชุมชน

3. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

4. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้

5. ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบการจัดการ พัฒนากระบวนการเรียนรู้

เป้าหมาย

1. เพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษานอกระบบให้ปับประชาชนอย่างมีคุณภาพ

2. ประชาชนผู้เข้าร่วมรับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ นำความรู้ไปพัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตตนเองและชุมชน

3. ประชาชนผู้เข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

4. ประชาชนผู้เข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน นำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

5. บุคลากรสามารถใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการได้

กลยุทธ์

กลยุทธ์ในการทำงาน 5 กลยุทธ์ ดังนี้

1. จัดกิจกรรมหลากหลาย

2. ขยายแหล่งเรียนรู้

3. ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย

4. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

ยุทธศาสตร์

1. การจัดการศึกษานอกโรงเรียนที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง โดยการเจาะลึก รายตำบลและรายกลุ่มเป้าหมาย

2. พัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้รับบริการงานการศึกษานอกโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ให้บริการข่าวสารแก่ชุมชนโดยการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

4. ส่งเสริมสนับสนุนให้เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียนอย่างทั่วถึง

5. การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน

ภารกิจงานและหน้าที่ที่รับผิดชอบ

1. งานจัดการศึกษาพื้นฐาน (ประถม,ม.ต้น,ม.ปลาย)

2. งานจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

3. งานจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

4. งานจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

5. งานการศึกษาตามอัธยาศัย

6. งานตามนโยบายเร่งด่วนของสำนักงาน กศน.

ร่าง) นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

วิสัยทัศน์

คนไทยได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสม กับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21

พันธกิจ

1. จัดและส่งเสรีมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับ การศึกษา พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมทุกช่วงวัย พร้อมรับ การเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย ในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียนและ แหล่งการเรียนรู้อื่น ในรูปแบบต่าง ๆ

3. ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิด ประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง

4. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผล ในทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทในป้จจุบัน

5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งจัดการศึกษา และ การเรียนร้ที่มีคุณภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล

เป้าประสงค์

1. ประชาชนผู้ด้อย พลาด และชาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับโอกาส ทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษา ตามอัธยาศัย ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามสภาพ ป้ญหา และความต้องการชองแต่ละ กลุ่มเป้าหมาย

2. ประชาชนได้รับการยกระดับการศึกษา สร้างเสริมและปลูกฝืงคุณธรรม จริยธรรม และ ความเป็นพลเมือง อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เพื่อพัฒนำไปสู่ ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม

3. ประชาชนได้รับโอกาสในการเรียนรู้ และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที,เหมาะสม สามารถคิด วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งแก้ป้ญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้อย่างสร้างสรรค์

4. ประชาชนได้รับการสร้างและส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่านเพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

5. ชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมขน

6. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนา เทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ ในการยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับประขาขน

7. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาลื่อและการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อแก้ปีญหาและพัฒนา คุณภาพ,ชีวิต ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตามความต้องการของประขาชนและชุมชนในรูปแบบที่หลากหลาย

8. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

9. บุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดเซิงปริมาณ

1. จำนวนผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายตาม สิทธิที่กำหนดไว้

2. จำนวนของคนไทยกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/ได้รับบริการกิจกรรม การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และความต้องการ

3. ร้อยละของกำลังแรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป

4. จำนวนภาคีเครือข่ายที,เข้ามามีส่วนร่วมในการจัด/พัฒนา/ส่งเสริมการศึกษา (ภาคีเครือข่าย : สถานประกอบการ องค์กร หน่วยงานที'มาร่วมจัด/พัฒนา/ส่งเสริมการศึกษา)

5. จำนวนประชาชน เด็ก และเยาวขนในพื้นที่สูง และชาวไทยมอแกน ในพื้นที่ 5 จังหวัด 11 อำเภอ ได้รับบริการการศึกษาตลอดชีวิตจากศูนย์การเรียนชุมชนสังกัดสำนักงาน กศน.

6. จำนวนผู้รับบริการในพื้นที่เป้าหมายได้รับการส่งเสริมด้านการรู้หนังสือและการพัฒนาทักษะชีวิต

7. จำนวนนักเรียน/นักศกษาที เดรับบริการติวเขมเติมความรู

8. จำนวนประขาชนที่ได้รับการ!!กอาซีพระยะสั้น สามารถสร้างอาชีพเพื่อสร้างรายได้

9. จำนวน ครู กศน. ตำบล จากพื้นที่ กศน.ภาค ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียน การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการลื่อสาร

10. จำนวนประชาขนที่ได้รับการ,ฝึกอบรมภาษาต่างประเทศเพื่อการลื่อสารด้านอาชีพ

11. จำนวนผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในระบบ Long Term Care มีผู้ดูแลที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

12. จำนวนประชาชนที่ผ่านการอบรมจากศูนย์ดิจิทัลชุมชน

13. จำนวนศูนย์การเรียนชุมชน กศน. บนพื้นที่สูง ในพื้นที่ 5 จังหวัด ที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ การฟ้ง พูดภาษาไทยเพื่อการลื่อสาร ร่วมกันในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. ตชด. และ กศน.

14. จำนวนบุคลากร กศน. ตำบลที่สามารถจัดทำคลังความรู้ได้

15. จำนวนบทความเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระดับตำบลในหัวข้อต่าง ๆ

16. จำนวนหลักสูตรและสื่อออนไลน์ที่ให้บริการกับประชาชน ทั้งการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย

ตัวชี้วัดเซิงคุณภาพ

1. ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบ (N-NET) ทุกรายวิชาทุกระดับ

2. ร้อยละชองผู้เรียนที่ได้รับการสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเทียบกับค่าเป้าหมาย

3. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนในทุกหลักสูตร/กิจกรรมการศึกษา ต่อเนื่องเทียบกับเป้าหมาย

4. ร้อยละของผู้ผ่านการ‘รกอบรม/พัฒนาทักษะอาชีพระยะสั้นสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการประกอบอาชีพหรือพัฒนางานได้

5. ร้อยละชองผู้เรียนในเชตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใด้ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ หรือทักษะ ด้านอาชีพ สามารถมีงาบทำหรือนำไปประกอบอาชีพได้

6. ร้อยละของผู้จบหลักสูตร/กิจกรรมที่สามารถนำความรู้ความเข้าใจไปใข้ได้ตามจุดมุ่งหมาย ชองหลักสูตร/กิจกรรม การศึกษาต่อเนื่อง

7. ร้อยละของประชาชนที่ได้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการ/เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาตามอัธยาศัย

8. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการ/เข้าร่วมกิจกรรมที่มีความรู้ความเข้าใจ/เจตคติ/ ทักษะ ตามจุดมุ่งหมายของกิจกรรมที่กำหนด ของการศึกษาตามอัธยาศัย

9. ร้อยละของนักเรียน/นักศึกษาที่มีผลลัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาที่ได้รับบริการติวเข้มเต็มความรู้เพิ่มสูงขึ้น

10. ร้อยละชองผู้สูงอายุที,เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีโอกาสมาเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต


หลักการดำเนินงานของ กศน. ตำบล

1. การจัดตั้ง กศน. ตำบล

ตามหนังสือสำนักงาน กศน. ที่ ศธ 0210.02/3267 ลงวันที่ 4 กันยายน 2552 เรื่องการดำเนินงาน กศน. ตำบล สำนักงาน กศน. โดยเลขาธิการ กศน. (นายอภิชาต จีระวุฒิ) ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัด ทุกจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.กทม. ดำเนินการปรับศูนย์การเรียนชุมชนในทุกตำบลให้เป็น กศน.ตำบล

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบางตำบลยังไม่มีศูนย์การเรียนชุมชน จึงให้ กศน.อำเภอ เสนอประกาศจัดตั้งให้ครบทุกตำบล โดยให้บุคลากร กศน. ร่วมกับชุมชนและ/หรือภาคีเครือข่ายดำเนินการสำรวจ และคัดเลือกอาคารสถานที่ที่เหมาะสมที่อยู่ในแหล่งชุมชนหรือศูนย์รวมประชาคม เช่น วัด ศาสนสถาน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล อาคารอเนกประสงค์ ศาลาประชาคม เป็นต้น พร้อมทั้งประสานงานการใช้อาคารสถานที่ โดยเจ้าของ หรือ ผู้รับผิดชอบดูแลอาคารสถานที่ที่เป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนเป็นผู้ลงนามหนังสืออนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่ หรือกรณีที่ใช้สถานที่ของชุมชนจัดตั้งอาคารศูนย์การเรียนชุมชน สำหรับชุมชนในกรุงเทพมหานครในเขตพื้นที่รอบใน ผู้ลงนามหนังสืออนุญาตให้จัดตั้งหรือใช้สถานที่ คือประธานชุมชน ส่วนในเขตพื้นที่รอบนอกผู้ลงนามในหนังสืออนุญาต คือผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน

อนึ่งในการจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนมีความเป็นไปได้ใน 3 กรณี ดังนี้

1. กรณีที่เป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีอาคาร ให้ กศน.อำเภอวางแผนการก่อสร้างอาคารร่วมชุมชน โดยใช้งบประมาณของ กศน. และ/ หรือขอรับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย

2. กรณีที่เป็นพื้นที่ที่มีอาคารดำเนินการอยู่แล้ว ให้ กศน.อำเภอ ร่วมกับชุมชนดำเนินการพัฒนา ปรับปรุงให้พร้อมที่จะใช้งาน โดยใช้งบประมาณของ กศน. และ/หรือขอรับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย

3. กรณีที่มีอาคารของหน่วยงานอื่นที่ว่างเปล่า ให้ กศน.อำเภอ ประสานงานขอใช้สถานที่ดังกล่าวกับผู้มีอำนาจ

การจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนให้ กศน.อำเภอจัดทำประกาศจัดตั้งโดยให้ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเป็นผู้ลงนาม ส่วนการจัดตั้ง กศน.ตำบล จัดทำเป็นประกาศของจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ลงนามในประกาศจัดตั้ง สำหรับตำบลใดที่มีศูนย์การเรียนชุมชนมากกว่า 1 แห่ง ให้ กศน.อำเภอ ต้นสังกัดคัดเลือกเพื่อจัดตั้งเป็น กศน.ตำบล เพียงแห่งเดียว โดยเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามในประกาศจัดตั้ง

สำหรับหัวหน้า กศน.ตำบลและครูศูนย์การเรียนชุมชนให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด ลงนามแต่งตั้ง

เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ การจัดทำป้ายชื่อ กศน.ตำบล ให้เขียนชื่อ กศน.ตำบล อยู่แถวบน และ ศูนย์การเรียนชุมชน อยู่แถวล่างในขนาดป้ายที่เหมาะสมกับขนาดของอาคาร โดยชื่อ กศน.ตำบล มีขนาดโตกว่าข้อความ ศูนย์การเรียนชุมชน และสำหรับตำบลที่มี ศูนย์การเรียนชุมชน มากกว่า 1 แห่ง