ข้อมูลผู้ประเมิน

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู วิทยฐานะ - ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้) (เปลี่ยนตามวิทยฐานะของคุณครู)

 ประเด็นท้าทาย 

เรื่อง การพัฒนาทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆรายวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่2                                       ร่วมกับการบูรณาการเรียนรู้ทุกระดับชั้น ภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาต่างประเทศ

1.  สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

แม้เด็กไทยจะได้รับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมาเป็นเวลานาน แต่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง สาเหตุ อาจจะเป็นเพราะการเรียนการสอนที่ผิดวิธีคือ เน้นการสอนโครงสร้างกฎเกณฑ์ทางภาษามากกว่าการสอนใช้ภาษาในการสื่อสาร (Juhana, 2012: 12) เมื่อใดที่ผู้เรียนต้องใช้ภาษาจะกังวลอยู่ตลอดเวลาในเรื่องของไวยากรณ์ต้องพูดถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ อ่านออกเสียงถูกต้อง สําเนียงชัดเจน ซึ่ง ความสามารถด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียนมีอยู่อย่างจํากัด จึงส่งผลให้ผู้เรียนเกิดอาการเขินอาย กลัวถูกหัวเราะหรือเยาะเย้ยว่าพูดไม่ถูกตามหลักไวยากรณ์ หรือสําเนียงไม่ตรงเจ้าของภาษา แม้ว่าชาวนานาชาติเมื่อต้องใช้ภาษาอังกฤษ ต่างก็พูดในสําเนียงภาษาของตนเองโดยไม่วิตกกังวล ซึ่งในบาง สําเนียงภาษานั้นอาจจะฟังยาก ทําให้สื่อสารผิดพลาด ความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม แต่เหนือสิ่งอื่นใด พวกเขาก็ไม่เขินอายในสําเนียงภาษาที่ฟังยากของเขา และอีกสาเหตุหนึ่งคือผู้เรียนยังไม่มีแรงจูงใจในการเรียนที่มากพอ จึงมีผลต่อการพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษของคนไทยที่จํากัด และจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ในวิชาภาษาอังกฤษ (อ22102) พบว่า ทักษะที่เป็นปัญหามาก ได้แก่ ทักษะการพูด ดังนั้น ทักษะการพูดจึงเป็นทักษะที่นักเรียนต้องได้รับการพัฒนามากที่สุด เพราะทักษะการพูดเป็นทักษะที่แสดงเห็นว่าผู้พูดมีความรู้ทางภาษา และช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ทักษะอื่นได้ง่ายขึ้น สําหรับประเทศไทยวิชาภาษาอังกฤษได้กําหนดให้จัดการเรียนการสอนใน ลักษณะภาษาต่างประเทศ นักเรียนแทบไม่มีโอกาสได้พูดหรือใช้ภาษาอังกฤษ ในชีวิตประจวัน นอกจากเวลาเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียนเท่านั้น โดยในสาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร 

มาตรฐาน ต1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ต1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียนสาระที่ 4  ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก มาตรฐาน ต4.2   ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดในสถานการณ์ต่างๆให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 ศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์

ประโยค จับใจความภาษาอังกฤษตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรกลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศ โรงเรียนลาดยาววิทยาคม พุทธศักราช 2564

2.2   ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และและสถานการณ์ในชั้นเรียนเรื่องการพูดและสนทนา

ภาษาอังกฤษในรายวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยใช้บทบาทและสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน

                2.3   ประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนเรื่องการพูดภาษาอังกฤษรายวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2

2.4 ดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่วางไว้

2.5 ประเมินผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเรื่องการพูดภาษาอังกฤษรายวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้

มัธยมศึกษา ปี 2และประเมินเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของผู้เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2

2.       ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

          3.1 เชิงปริมาณ

3.1.1  ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกาพูดภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70

3.1.2  ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษมีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี ขึ้นไปร้อยละ 70

3.2 เชิงคุณภาพ

2.2.1  ได้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ฝึกทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้สถานการณ์บทบาท

สมมติและสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

2.2.2  ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน


กิจกรรมนอกห้องเรียน เรื่อง FOODIES สำรวจอาหาร พร้อมจำแนกส่วนประกอบของอาหาร ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2

ผลงานนักเรียน

กิจกรรมกลุ่ม Mild Mapping ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน......18.....ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่2/1,2/2,2/4,2/6,2/8,2/10   18 /สัปดาห์

การสื่อสารองค์ความรู้2(IS2)ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่2/4

แนะแนวระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่2/4  -

หน้าที่พลเมืองระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่2/4 1/สัปดาห์

ลูกเสือเนตรนารีระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 1/สัปดาห์

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่2/4 1/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน.....5.......ชั่วโมง/สัปดาห์

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 1/สัปดาห์

การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน 1/สัปดาห์

การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพPLC 1/สัปดาห์

การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียน 1/สัปดาห์

การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ 1/สัปดาห์



1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน ......2...... ชั่วโมง/สัปดาห์

ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาต่างประเทศ 2/สัปดาห์

ผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ -



1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน ......2..... ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมลดเวลาเรียน-เพิ่มเวลารู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2/สัปดาห์

โครงการสนองนโยบายและจุดเน้น(ต่อโครงการ) -/ภาคเรียน