ภูมิปัญญา

การทอผ้าไทลื้อ ชุมชนศรีดอนชัย

หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 12 หมู่ที่ 14 หมู่ที่ 15

ตำบลศรีดอนชัย จังหวัดเชียงราย


การแปรรูปสมุนไพร บ้านเขียะ หมู่ 5 ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ

จังหวัดเชียงราย

การจักสานไม้ไผ่ บ้านศรีดอนชัย หมู่ที่ 7 ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

การย้อมฝ้ายจากสีธรรมชาติ

การย้อมฝ้ายจากสีธรรมชาตินั้น เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษสู่คนรุ่นหลัง ตำบลศรีดอนชัยมีแหล่งเรียนรู้การย้อมฝ้ายจากสีธรรมชาติ ณ เลขที่ 16/1 หมู่ที่ 7 ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียราย โดยมีการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาตินำมาย้อมฝ้าย เช่น ใบสักแก่นขนุน เปลือกไม้ประดู ฝาง เป็นต้น โดยมีแม่ดอกแก้ว ธีระโคตร เป็นผู้สืบสานภูมิปัญญามาจนถึงปัจจุบัน และเป็นผู้ที่ถ่ายทอดให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ในการย้อมฝ้ายจากสีธรรม


ผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย

แม่แว่นแก้ว ภิรมย์พลัด ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย เล่าให้ฟังว่าครั้งหนึ่งมีโอกาสได้ไปดูงานชุมชนทอผ้าที่เชียงใหม่ จึงเกิดแรงบันดาลใจย้อนกลับมามองในรากเหง้าของตัวเองว่า

“พื้นฐานหมู่บ้านเราเป็นชาวไทลื้อ ซึ่งทอผ้าใส่เองอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ทำไมเราไม่ตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นมา?”

จากวันนั้น แม่แว่นแก้ว ก็พยายามรวมรวมสมาชิก ซึ่งในช่วงแรกๆก็ยังไม่มีใครสนใจสักเท่าไหร่ สุดท้ายมีสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 12 คน พร้อมงบตั้งต้นจากส่วนของพัฒนาชุมชน แปดพันบาท จึงเริ่มมีการจัดหาช่องทางการขายด้วยการนำไปฝากขายไว้ที่บ้านของแม่แว่นแก้ว ซึ่งเป็นร้านขายของชำอยู่แล้ว และอีกส่วนก็นำไปฝากขายไว้ที่ศูนย์สาธิตของอำเภอเชียงของ และต่อมา กลุ่มพัฒนาชุมชนก็นำผ้าออกไปทำการประชาสัมพันธ์นอกพื้นที่ กระทั่งจนมีคนรู้จักผ้าทอของศรีดอนชัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน

จากสมาชิก 12 คน กลายเป็น 20 คน และ 50 คน ในปีถัดมา จึงถึงเวลาแก่การขยับขยายพื้นที่ทอผ้าโดยได้งบพัฒนาจังหวัดมาช่วยสำหรับการสร้างอาคาร แต่ปัญหาคือเรื่องของที่ดินสำหรับการสร้างอาคาร ซึ่งต้องหาเอง ในขณะนั้นสมาชิกกลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัยขยับตัวขึ้นไปถึง 214 คน และพร้อมใจกันใช้วิธีการบริจาคผ้าถุงที่ตัวเองทอ ซึ่งปกติจะทอได้ในราคาตกผืนละ 200-300 บาท เข้ามาไว้ในกองกลาง และนำจัดจำหน่ายขายออกไปในราคาผืนละห้าร้อยบาทเพื่อหารายได้หลังการหักลบและคืนให้กับชาวบ้านในส่วนต่างแล้ว จะนำเงินไปซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคาร

ในแง่ของการบริหารนั้น เมื่อสมาชิกของกลุ่มทอผ้ามีอยู่ถึงสองร้อยกว่าคนก็ต้องมีการแบ่งเขตออกเป็น 9 เขต มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อเลือกประธานและกรรมการบริหาร มีการตั้งกลุ่มออมทรัพย์สำหรับเงินออมเพื่อไว้ใช้ยามแก่เฒ่า และอีกส่วนก็เพื่อออมไว้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่ม โดยการออมทรัพย์ในสมัยเริ่มต้นเริ่มออมกันที่ 25บาท และขยับมาเป็น 30บาท โดยแต่ละคนจะออมเท่าไหร่ก็ได้แต่ต้องเริ่มต้นที่ 30 บาท จนพอเงินออมเยอะขึ้น กลุ่มออมทรัพย์ก็สามารถปล่อยเงินกู้ให้กับสมาชิกได้ มีการคิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาทต่อเดือน และในระเบียบของการกู้นั้น อนุญาตให้สมาชิกกู้ได้ห้าเท่าของเงินฝากแต่ไม่เกินสี่หมื่นบาท ปัจจุบันกองทุนแห่งนี้ มีเงินออมอยู่สี่ล้านกว่าบาทและมีเงินของกลุ่มทอผ้าที่ปันดอกปันผลออกมาแล้วอยู่ที่ประมาณสองแสนกว่าบาท โดยทุกสิ้นปีจะมีการปันดอกเบี้ยให้กับสมาชิก ใช้วิธีการแบ่งจากเงิน 100 บาท เฉลี่ยคืนให้กับคนที่กู้ไป 20 เปอร์เซ็น และแบ่งให้สมาชิกที่มาทำงานในส่วนของกองทุนออมทรัพย์ 15 เปอร์เซ็น และนำมาจัดแบ่งสรรปันส่วนคืนให้กับสมาชิก 60 เปอร์เซ็น ส่วนที่เหลือนำไปใช้จ่ายบำรุงซ่อมแซมสถานที่และสมทบงานบุญหรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์อื่นๆ เรียกว่าจากรายได้ของการทอผ้านำไปสู่การช่วยเหลือตัวเองของกลุ่มสมาชิกและขยายผลเผื่อแผ่ไปสู่การช่วยเหลือชุมชน

ผ้าทอไทลื้อตำบลศรีดอนชัยนั้นมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ของชาวชาวไทลื้อ ซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของล้านนาไทมีความเชื่อเรื่องการตั้งถิ่นฐาน ในสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขา และมีทางน้ำไหล ผู้หญิงไทลื้อในปัจจุบันนี้ ยังรักษาวัฒนธรรมการทอผ้า ในรูปแบบ และ ลวดลายที่สืบทอดกันมา โดยเฉพาะการทอ ซิ่น ตีนจก ผ้าขิต และผ้าที่ใช้เทคนิค "เกาะ" เป็นต้นและสร้างรายได้ให้กับชุมชน

ปัจจุบันศูนย์สตรีทอผ้าไทลื้อ ตั้งอยู่เลขที่ 188 หมู่ที่ 14 ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย


ผู้ให้ข้อมูล แม่แว่นแก้ว พิรมย์พลัด

ผู้เรียบเรียง นางสาวศิวลักษณ์ คำปา

ผู้ถ่ายภาพ แม่แว่นแก้ว พิรมย์พลัด

ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

-Facebook กลุ่มสตรีผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย