focus

      ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ในปัจจุบัน ทำให้เกิดกระบวนการของแนวทางจัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นผู้สอนในฐานะผู้ถ่ายทอด องค์ความรู้ให้แก่ผู้เรียนต่างก็ต้องมีการปรับตัว และเตรียมทักษะ เพื่อรับมือกับแนวทางจัดการเรียนรู้แบบใหม่อย่างทันท่วงที พร้อมรับสถานการณ์ความไม่ แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ผู้สอนจึงต้องเตรียมตัว และเข้าใจทักษะในการจัดการเรียนรู้ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือแพลตฟอร์มรูปแบบต่าง ๆ ที่อาศัยการบริหารจัดการห้องเรียนซึ่ง แตกต่างไปจากห้องเรียนปกติในสถานศึกษา ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ของผู้สอน ที่สำคัญ อย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นแผนการสอน สื่อการสอน เทคนิคการสอน การจัดการห้องเรียนผ่านเครือข่ายออนไลน์การสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการศึกษา และ ความคิดสร้างสรรค์อันส่งผลให้เกิดแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต นำไปสู่การออกแบบ การเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ และการเลือกใช้เทคโนโลยีการศึกษาได้อย่าง เหมาะสม การศึกษาในยุคใหม่นี้จึงจำเป็นต้องมีช่องทางในการเรียนรู้และช่องทางในการเรียน การสอนและการวัดผลออนไลน์ ที่มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงความต้องการผู้เรียน วัตถุประสงค์ของรายวิชา เนื้อหาการเรียนรู้ของรายวิชา และช่องทางในการสื่อเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้สอนไปยังผู้เรียนในทุกแพลตฟอร์ม และทุกรูปแบบการเรียนรู้ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการกำหนดเงื่อนไขประมวลผลของรายวิชา เงื่อนไขการเรียนรู้ของ หลักสูตร และเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียน และในรูปแบบออนไลน์ให้มี ประสิทธิภาพตอบโจทย์การศึกษายุคใหม่  ตรงกับความต้องการของผู้เรียน สื่อองค์ความรู้ ของผู้สอนได้อย่างครอบคลุม 

     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำ คลังเนื้อหาเล็กทรอนิกส์ obec content center สำหรับเป็นตัวช่วยนักเรียนและครูเรียนรู้อยู่ที่บ้าน คลังเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือ OBEC Content Center คือ โปรแกรมสำหรับให้บริการเผยแพร่เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์แก่นักเรียน ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา รองรับการเข้าถึงเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 7 ประเภท ได้แก่ แอพลิเคชั่น, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Pdf, ePub), วีดิทัศน์ (Mp4), รูปภาพ (Jpg, Png), เสียง (Mp3), สื่อมัลติมีเดีย (Flash)และ งานวิจัยทางการศึกษา สามารถใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ที่รองรับระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชั่น 8.0 ขึ้นไปหรือ Android เวอร์ชั่น 4.3 ขึ้นไป หรือ Windows เวอร์ชั่น 8.1 ขึ้นไป

     สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 จึงได้เตรียมการพร้อมรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ โดยผู้สอนต้องเตรียมตัว และเข้าใจทักษะในการจัดการเรียนรู้ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือแพลตฟอร์มรูปแบบต่าง ๆ ที่อาศัยการบริหารจัดการห้องเรียนซึ่งแตกต่างไปจากห้องเรียนปกติในสถานศึกษา ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ของผู้สอน ที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นแผนการสอน สื่อการสอน เทคนิคการสอน การจัดการห้องเรียนผ่านเครือข่ายออนไลน์การสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการศึกษา และ ความคิดสร้างสรรค์อันส่งผลให้เกิดแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต นำไปสู่การออกแบบ การเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ และการเลือกใช้เทคโนโลยีการศึกษาได้อย่าง เหมาะสม จึงสนใจฝนกสนพัฒนาครู ให้ได้ผลิตและใช้สิ้อบนแพลตฟอร์ม OBEC Content Center

การดำเนินแต่ละขั้นตอนมีผลการดำเนินงาน  ดังนี้

ขั้นที่ 1 Focus ร่วมกันวิเคราะห์นโยบายระดับชาติ นโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการโดยการ SWOT, Brain Storming การจัดการสอนภายใต้ภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด

           การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาในสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยการประชุม นิเทศติดตาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 229 แห่ง แยกตามขนาดโรงเรียน

                  1) โรงเรียนขนาดเล็ก                                 จำนวน  139 แห่ง

                  2) โรงเรียนขนาดกลาง                                จำนวน  55 แห่ง

                  3) โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ                         จำนวน 2 แห่ง

           โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ได้เปิดภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2564 พร้อมกันในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ในรูปแบบ onsite โดยมีโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 2 แห่ง ได้แก่โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด และอนุบาลร้อยเอ็ด  ที่มีการจัดกลุ่มสลับมาเรียน ควบคู่การสอน   On Hand และหลังจากเปิดเรียนได้ประมาณ 2 สัปดาห์ มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อในจังหวัดร้อยเอ็ดเพิ่มขึ้น สบค. จังหวัดร้อยเอ็ด จึงมีคำสั่งให้แต่ละอำเภอพิจารณาการปิดสถานศึกษาในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง โรงเรียนในบางพื้นที่จึงมีประกาศงด On site เปลี่ยนเป็นการเรียนการสอนรูปแบบอื่น และมีคำสั่งงดใช้สถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันการติดเชื้อในเด็กนักเรียน จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจึงดีขึ้น และมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง  ส่งผลให้ ณ ปัจจุบัน สถานศึกษาในสังกัด สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 ทุกแห่งงดการสอน  On site คิดเป็นร้อยละ 100 และใช้รูปแบบการเรียนการสอนอื่น รายละเอียดดังภาพ