เนื้อหาบทเรียน

บทที่ 1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 

I ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

ที่ตั้ง

ประเทศไทยตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณคาบสมุทรอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู มีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ ดังนี้คือ ระหว่างละติจูด 5 ํ37' เหนือถึง 20 ํ27' เหนือ และลองจิจูด 97 ํ21' ตะวันออก ถึง 105 ํ37' ตะวันออก มีตําแหน่งจุดเหนือสุดอยู่ในพื้นที่ตําบลแม่สาย      อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และตําแหน่งจุดใต้สุดอยู่ในพื้นที่ตําบลระยม อําเภอเบตง จังหวัดยะลา จุดตะวันตกสุดอยู่ที่ดอยผาตั้ง ตําบลแม่คง อําเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจุดตะวันออกสุดอยู่ที่ผาชนะได ตําบลนาโพธิ์กลาง อําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 

จุดตะวันออกสุดอยู่ที่ผาชนะได ตําบลนาโพธิ์กลาง อําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

ขนาดและรูปร่าง

ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือ 321 ล้านไร่ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซียและประเทศพม่าประเทศไทยมีรูปร่างลักษณะคล้ายขวาน ความยาวตั้งแต่เหนือสุดถึงใต้สุด มีความยาว 1,640 กิโลเมตร วัดจากตําบลแม่สาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ไปถึงตําบลยะรม อําเภอเบตง จังหวัดยะลา ส่วนที่กว้างสุดจากตะวันตกไปตะวันออก วัดจากตําบลหนองลู อําเภสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ถึงตําบลโนนก่อ อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นระยะทาง 780 กิโลเมตรบริเวณส่วนที่แคบที่สุดของประเทศ อยู่ระหว่างแนวชายแดนประเทศพม่ากับพื้นที่บ้านวังด้วน ตําบลห้วยทราย อําเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความกว้างเพียง 10.96 กิโลเมตร 

อาณาเขต

ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ดังนี้ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศพม่า และประเทศลาว พรมแดนธรรมชาติคือ เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาหลวงพระบาง และแม่น้ําโขงทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศลาวและประเทศกัมพูชา พรมแดนธรรมชาติคือ เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาพนมดงรักและแม่น้ําโขงทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า พรมแดนธรรมชาติ คือ เทือกเขาตะนาวศรีเทือกเขาถนนธงชัย แม่น้ําเมยและแม่น้ําสาละวิน             ทิศใต้ ติดต่อกับ ประเทศมาเลเซีย พรมแดนธรรมชาติ คือ เทือกเขาสันกาลาคีรี และแม่น้ําโกลก 

แม่น้ำโกลก

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะกว้าง ๆ ดังนี้

1. ภูเขา บริเวณที่พบลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขา ได้แก่บริเวณภาคเหนือภาคตะวันตก คาบสมุทรภาคใต้ ภาคตะวันออก และขอบที่ราบสูงโคราช ลักษณะเทือกเขาส่วนใหญ่เป็นแนวเหนือใต้ เทือกเขาที่สําคัญในประเทศไทย ได้แก่ เทือกเขาหลวงพระบาง เทือกเขาผีปันน้ํา เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรีเทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกําแพง เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาจันทบุรีเทือกเขานครศรีธรรมราช เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขาสันกาลาคีรี

2. ที่ราบสูง บริเวณลักษณะเป็นที่ราบสูงของประเทศไทย คือ ที่ราบสูงโคราชซึ่งมีระดับความสูงเฉลี่ยไม่เกิน 200 เมตร ที่ราบสูงโคราชมีขอบสูงชันถึง 2 ด้าน ขอบทางตะวันตก คือแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ ส่วนขอบทางใต้ คือแนวเทือกเขาสันกําแพงและแนวเทือกเขาพนมดงรัก 

3. ที่ราบ ที่ราบที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทย ได้แก่ ที่ราบดินตะกอนของภาคกลาง ซึ่งมีแม่น้ําเจ้าพระยาสาขาและแม่น้ําอื่น ๆ ไหลผ่าน นอกจากนั้นยังมีที่ราบที่สําคัญอีกแห่ง คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ํามูล แม่น้ําชีและสาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นเป็นที่ราบแคบ ๆ ในภาคเหนือ ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มระหว่างภูเขา ส่วนที่ราบทางภาคใต้และภาคตะวันออก มีลักษณะที่ราบชายฝั่งทะเล 

การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ 

ลักษณะภูมิอากาศ

ประเทศไทยตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ส่องลงมาเป็นมุมฉากเกือบตลอดทั้งปีทําให้อุณหภูมิสูง ประเทศไทยจึงมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุก คือ มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดทั้งปี แต่ก็มีอุณหภูมิลดลงบ้างในบางเดือน ประกอบกับทําเลที่ตั้งของประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทําให้ได้รับอิทธิพลความชื้นจากน่านน้ําทั้งสองนี้ด้วยลมประจําที่พัดผ่านประเทศไทยเกิดจากความแตกต่างระหว่างอากาศเหนือภาคพื้นทวีปซึ่งอยู่ทางซีกโลกเหนือกับอากาศเหนือพื้นน้ําในทะเล และมหาสมุทรทางซีกโลกใต้และการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทําให้เกิดลมประจําฤดูกาล เรียกว่า ลมมรสุม 

ลมมรสุม

ลมมรสุมที่พัดผ่านประเทศไทย มี2 ชนิด ดังนี้

1. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้หรือลมมรสุมฤดูร้อน เป็นลมที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทยทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ลมนี้จะนําความชุ่มชื้น ทําให้บริเวณที่ลมมรสุมฤดูร้อนพัดผ่านจะมีฝนตกชุกทุกภูมิภาคของประเทศไทยและฝนจะตกชุกมากด้านชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านตะวันตกของประเทศไทย

2 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือลมมรสุมฤดูหนาว เป็นลมที่พัดจากตอนเหนือของทวีปเอเชียแถบไซบีเรีย พัดผ่านตอนกลางของประเทศจีนเข้าสู่ประเทศไทยเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ลมนี้จะนําความหนาวเย็นและความแห้งแล้งมาสู่ประเทศไทย เช่น    ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

พายุหมุนเขตร้อน 

ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย นอกจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุมแล้ว ยังได้รับอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อน เป็นคําที่ใช้เรียกพายุหมุนที่เกิดในทะเล หรือมหาสมุทรในเขตร้อนซึ่งมีชื่อต่างกันตามแหล่งที่เกิด คือ ที่มีแหล่งกําเนิดบริเวณด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีนใต้เรียกว่า พายุไต้ฝุ่น พายุนี้ถ้าเกิดบริเวณมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า พายุไซโคลน เป็นต้น พายุหมุนเขตร้อน มีอิทธิพลต่อประเทศไทยอย่างมาก เป็นตัวการทําให้เกิดฝนตกหนักและน้ําท่วมในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ซึ่งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ได้กําหนดการเรียกพายุหมุนตามขนาดความเร็วของลมพื้นผิวใกล้จุดศูนย์กลางพายุหมุนไว้ดังนี้

1. พายุดีเปรสชัน เรียกลมที่มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2. พายุโซนร้อน เรียกลมที่มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางระหว่าง 61 – 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

3. พายุไต้ฝุ่น เรียกลมที่มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง ตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป 

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรดิน

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นเมืองเกษตรกรรม ทรัพยากรดินจึงมีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่ง ลักษณะดินในประเทศไทย มีดังนี้

1. ดินเหนียว มีลักษณะเนื้อดินละเอียดอุ้มน้ําได้ดี พบทั่วไปในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ํา ซึ่งมีน้ําท่วมถึงทุกภูมิภาค เหมาะในการทํานาข้าวและปลูกผักต่าง ๆ

2. ดินร่วน เนื้อดินเป็นส่วนประกอบของดินเหนียวและดินทราย พบทั่วไปในพื้นที่เป็นดอนหรือเนิน ซึ่งอยู่ห่างจากสองฝั่งแม่น้ําออกไปและน้ําท่วมไม่ถึง ใช้ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสําปะหลัง เป็นต้น

3. ดินทราย เป็นดินที่มีองค์ประกอบของเนื้อทรายมากที่สุด มีความสมบูรณ์ค่อนข้างต่ํา ไม่อุ้มน้ํา น้ําจะไหลซึมลงใต้ดินอย่างรวดเร็ว พบบริเวณเชิงเขา ชายฝั่งทะเล และริมฝั่งแม่น้ํา ใช้ทําสวนมะพร้าว สวนป่า และพืชไร่ที่ต้องมีระบบชลประทานที่ดี

4. ดินอินทรีย์ เป็นดินที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชและซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยทับถมเป็นชั้น ๆ พบในพื้นที่ที่เคยเป็นป่าชายเลนมาก่อน แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นที่ราบลุ่มในแผ่นดิน เรียกว่า ป่าพรุ เช่น ดินในป่าพรุสิรินธร จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น 

ทรัพยากรป่าไม้

ป่าไม้ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่เขียวชอุ่มตลอดปี กระจายอยู่ในเขตภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง ประกอบด้วย

 1.1 ป่าดิบชื้น ต้นไม้ขึ้นรวมกันหนาทึบ แสงแดดไม่สามารถส่องผ่านถึงพื้นดิน พันธุ์ไม้ที่สําคัญ เช่น ไม้ยาง ตะเคียน ตะแบก เคี่ยม พะยูง เป็นต้น พบมากในภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย พบอยู่บนภูเขาที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตร จากระดับน้ําทะเล

 1.2 ป่าดิบเขา ป่าที่มีพันธุ์ไม้เขียวตลอดปี พันธุ์ไม้ที่สําคัญ เช่น ไม้กฤษณา ไม้อบเชย ไทรป่า เป็นต้น พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในบริเวณที่เป็นยอดเขาสูง พบอยู่บนภูเขาที่มีความสูงเกิน 1,000 เมตร จากระดับน้ําทะเล เช่น ยอดดอยอินทนนท์ ดอยปุย เป็นต้น

1.3 ป่าสน พบทุกภูมิภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ และภาคกลาง เป็นป่าที่พบอยู่ในที่สูงเกิน 700 เมตร จากระดับน้ําทะเล ป่าสนในประเทศไทยเป็นป่าสนสองใบ และสนสามใบ

1.4 ป่าพรุ เป็นป่าที่พบในพื้นที่ถัดจากป่าชายเลน มีน้ําท่วมขังหรือชื้นแฉะตลอดปี พันธุ์ไม้ที่สําคัญ เช่น กกนา ช้างไห้ ตังหน เป็นต้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ป่าพรุที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ในจังหวัดนราธิวาส คือ ป่าพรุสิรินธร

1.5 ป่าชายเลน เป็นป่าที่ขึ้นตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินเลน พันธุ์ไม้ที่สําคัญ เช่น แสม โกงกาง ลําพู ลําแพน เป็นต้น  

2. ป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่จะพบน้อยที่สุดในภาคใต้ ลักษณะของป่าประเภทนี้จะผลัดใบช่วงหน้าแล้ง และจะผลิใบใหม่เมื่อเข้าฤดูฝน ป่าไม้ผลัดใบประกอบด้วย

2.1 ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่ง พื้นที่ป่าไม่รกทึบ พบในเกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทย ไม้ที่สําคัญมีค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง 

ไม้พะยูง ไม้มะค่า เป็นต้น 

1.2 ป่าแดง ป่าแพะหรือป่าเต็งรัง ป่าไม้ประเภทนี้พบบริเวณที่ราบหรือเนินเขาเตี้ย ๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีหินผุผสมดินสีแดง จึงเรียกไม้ที่ขึ้นว่า ป่าแดง ป่าแพะหรือป่าโคก โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม้ที่สําคัญ เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้เหียง ไม้พะยอม เป็นต้น 

ลักษณะเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจหลักของประเทศไทยขึ้นอยู่กับเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการเกษตรกรรม 

ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทยประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การทําประมง เป็นต้น

 1. การเพาะปลูก ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พืชที่เพาะปลูกในประเทศไทยจําแนกออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่

     1.1 พืชอาหาร เป็นพืชที่นํามาใช้ในการบริโภคหรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสําปะหลัง อ้อย เป็นต้น

              ข้าว เป็นอาหารหลักของคนไทย ข้าวจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกมากทั่วทุกภาคในประเทศ โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ําที่เป็นดินตะกอนหรือดินเหนียวข้าวที่ปลูกมีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว แหล่งปลูกข้าวที่สําคัญ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาเป็นภาคกลาง

               ข้าวโพด เป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ แหล่งปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกข้าวโพดมากที่สุด คือ จังหวัดเพชรบูรณ์

  มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกที่สําคัญของประเทศไทย รองจากข้าว เพื่อใช้ทําอาหารสัตว์ แป้งมัน แอลกอฮอล์ และส่วนผสมของสีผสมอาหาร มันสําปะหลังขึ้นได้ดีในภูมิประเทศที่มีดินปนทราย แหล่งปลูกที่สําคัญ คือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือ จังหวัดนครราชสีมา

  อ้อย เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ําตาล แหล่งผลิตอ้อยที่สําคัญ คือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือ จังหวัดกาญจนบุรี

1.2 พืชเส้นใย เป็นพืชเศรษฐกิจที่ใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ พืชเส้นใยที่สําคัญ ได้แก่ ฝ้าย ปอ และนุ่น แหล่งที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1.3 พืชน้ำมัน เป็นพืชที่สามารถนํามาสกัดเป็นน้ํามันพืชประกอบอาหารได้ พืชน้ํามันที่สําคัญ เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ํามัน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ทานตะวัน ละหุ่ง งา เป็นต้น 

1.4 พืชผลไม้ ประเทศไทยปลูกผลไม้ได้ทุกภูมิภาค ตามความเหมาะสมของสภาพอากาศ ผลไม้บางชนิดเป็นสินค้าส่งออกที่สําคัญของประเทศ เช่น ทุเรียน มะม่วง มังคุด กล้วย ลิ้นจี่ เป็นต้น 

1.5 พืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่สําคัญ ได้แก่ยางพารา นํามาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมยาง ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศมาก แหล่งปลูกยางพาราส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ และภาคตะวันออก จังหวัดที่ปลูกยางพารามากที่สุด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

               กาแฟ ประเทศไทยปลูกกาแฟได้เป็นอันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนาม พันธุ์กาแฟที่สําคัญทางเศรษฐกิจมี 2 สายพันธุ์ คือ กาแฟโรบัสตา ปลูกมากในภาคใต้ กาแฟอราบิกา ปลูกมากในภาคเหนือ

               ยาสูบ ปลูกมากในภาคเหนือ และตอนบนภาคตะวันออกเฉียงเหนือชา เป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญและเป็นสินค้าส่งออกของประเทศไทย

แหล่งปลูกชาที่สําคัญอยู่บนภูเขาในภาคเหนือ

 2. การเลี้ยงสัตว์ ในอดีตการเลี้ยงสัตว์ของคนไทยเป็นการเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานและสําหรับบริโภคในครัวเรือน แต่ปัจจุบันได้มีการเลี้ยงสัตว์เป็นอุตสาหกรรมอาหารและการค้า สัตว์ที่นิยมเลี้ยงเพื่อบริโภค เช่น โค สุกร ไก่ เป็ด เป็นต้น

3. การทำประมง การทําประมงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประมงน้ํำเค็ม ประมงน้ําจืด และประมงน้ํากร่อยหรือประมงชายฝั่ง ประเทศไทยมีอาณาเขตติดกับทะเลและมีแหล่งน้ําทั่วทุกภูมิภาค ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานริมน้ําหรือบริเวณชายฝั่งจึงประกอบอาชีพประมง ผลผลิตที่ได้ คือ สัตว์น้ํา เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา หมึก เป็นต้น 

 การทำประมงน้ำจืด 

ประมงน้ำกร่อย

ประมงน้ำเค็ม