เนื้อหาบทเรียน

บทที่ 1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 

I ความหมายของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

              เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทิศทาง ที่ตั้ง ขนาด ระยะทาง รูปร่างลักษณะของสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในพื้นที่ที่จะศึกษา 

               เครื่องมือทางภูมิศาสตร์จำแนกตามหน้าที่หลักของการใช้งานได้ 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์ สื่อความรู้ทาง ภูมิศาสตร์หมายถึงวัสดุ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ให้ความรู้ สำหรับการศึกษา เรียนรู้ ทางภูมิศาสตร์ อาจอยู่ในรูปของตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ แบบจำลอง สื่อดิจิทัล เสียง และ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆตัวอย่างเครื่องมือเหล่านี้ เช่น ตำราเรียนภูมิศาสตร์ เว็บไซต์ที่เผยแพร่ความรู้ทาง ภูมิศาสตร์ แผนที่ประเภทต่างๆ ลูกโลกจำลอง ภูมิประเทศจำลอง รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม เป็นต้น ประเภทที่ 2 เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สื่อเก็บ รวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำหน้าที่เพื่อ สำรวจ ตรวจวัด บันทึก เก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ตัวอย่างเครื่องมือเหล่านี้ เช่น สมุดจด บันทึก เข็มทิศ เทปวัดระยะทาง กล้องสามมิติ(Stereoscope) เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกหรือจีพีเอส (Global Positioning System : GPS) ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ หรือจีไอเอส (GeographicInformation System : GIS) เป็นต้น

ลูกโลก

              ลักษณะสำคัญของลูกโลก ลูกโลก หรือลูกโลกจำลอง เป็นการย่อส่วนของโลกลงบนวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษอัด พลาสติก มีรูปทรงกลม มีฐานรองรับโดยวางลูกโลกให้แกนขั้วโลกเหนือเอียงท ามุม 23 เศษ 1 ส่วน 2 องศา กับแนวตั้งฉากตามลักษณะที่โลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยบนผิวของลูกโลก มีแผนที่โลกแสดงพื้นดิน พื้นน้ำ สภาพภูมิประเทศ ที่ตั้งประเทศ เมือง พิกัดทางภูมิศาสตร์ รายชื่อของ สิ่งต่างๆ รวมทั้งสัญลักษณ์ ลูกโลกให้ข้อมูลทางด้านลักษณะ ทางกายภาพเป็นหลัก ส่วนทางด้านสังคม จึงมีน้อย 

ประโยชน์ของลูกโลก 

1. ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน ช่วยให้เข้าใจลักษณะภูมิประเทศ สัณฐานของโลกเสมือนจริง ทั้งรูปร่างของพื้นดิน และพื้นน้ำได้ดีและเด่นชัดกว่า   แผนที่ 

2. ช่วยให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ เมืองหลวง ได้อย่างรวดเร็ว เพราะมองเห็นได้ง่าย 

3. แสดงทิศทางการหมุนของโลกที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น การเกิดกลางวันและ กลางคืน การเกิดฤดูกาล เป็นต้น 

ข้อจำกัดของลูกโลก 

1. ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกมีจำนวนน้อย ขาดรายละเอียด 

2. การเคลื่อนย้ายหรือ นำติดตัวลำบากไม่สะดวกเหมือนแผนที่ 

แผนที่

         แผนที่จำแนกได้ 3 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน 

1. แผนที่อ้างอิง (general reference map) เป็นแผนที่ที่ใช้สำหรับอ้างอิงข้อมูลใน การทำแผนที่ชนิดอื่นๆ แผนที่อ้างอิงที่สำคัญได้แก่ 

1.1 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) หมายถึง แผนที่ ที่แสดงรายละเอียดของพื้นผิวโลก โดยใช้เส้นชั้นความสูงบอกค่าความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 

1.2 แผนที่ชุด คือ แผนที่หลายแผ่นที่มีมาตรส่วนและรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน และครอบคลุมพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะ 

2. แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic maps) หมายถึง แผนที่ที่แสดงข้อมูลหรือ รายละเอียด เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเรื่องที่สัมพันธ์กัน เพื่อใช้ในกิจการเฉพาะอย่าง โดยอาจซ้อนอยู่บนแผนที่พื้นฐาน แผนที่เฉพาะเรื่องมีหลายชนิด เช่น

 2.1 แผนที่แสดงแหล่งแร่ เป็นแผนที่เฉพาะเรื่องที่นำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งแร่ 

2.2) แผนที่ธรณีวิทยา เป็นแผนที่ที่แสดงอายุของหินชนิดหิน โครงสร้างทางธรณีวิทยา 

2.3) แผนที่ท่องเที่ยว เป็นแผนที่ที่แสดงแหล่งท่องเที่ยว โดยเน้นข้อมูลด้านการเดินทาง ได้แก่รถไฟและรถยนต์ ที่ตั้งจังหวัด อำเภอ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 

2.4) แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม เป็นแผนที่ที่จัดทำโดยกรมทางหลวง เพื่อแสดงรายละเอียดของเส้นทางคมนาคม ทั้งทางหลวงสายหลักและทางหลวงสายรอง 

2.5) แผนที่การใช้ที่ดิน เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นโดยกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเฉพาะด้านการเกษตร 

2.6) แผนที่รัฐกิจ เป็นแผนที่แสดงอาณาเขตทางการปกครอง เช่น เขตของ จังหวัดหรือประเทศ

 3. แผนที่เล่มหรือแอตลาส (Atlas) หมายถึง การนำแผนที่เฉพาะเรื่อง หลายๆเรื่องมารวม เป็นเล่ม เช่น แผนที่เล่มชุดแผนที่โลก ประกอบด้วยแผนที่แสดงข้อมูลใน ด้านต่างๆ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เขตการปกครอง พืชพรรณธรรมชาติ แหล่งน้ำเป็นต้น แผนที่เล่ม ส่วนมากยังแบ่งย่อยออกไปตามลักษณะของการใช้งาน เช่น แผนที่ เล่มสำหรับเด็ก แผนที่เล่มสำหรับนักเรียน แผนที่เล่มสำหรับบุคคลทั่วไป มีขนาดต่างๆ กัน ความแตกต่างของแผนที่เล่มแต่ละเล่มต่างกันตรงที่ความละเอียดของข้อมูล ถ้าเป็นแผนที่ สำหรับเด็กจะดูง่าย มีภาพประกอบ ข้อมูลไม่ลึกมาก อาจเป็นเพียงแสดงลักษณะที่ตั้งของ ประเทศ ของเมืองสำคัญเท่านั้น แต่แผนที่เล่มสำหรับผู้คนทั่วไปจะมีข้อมูลละเอียด ซับซ้อน บางเล่มให้ข้อมูลลึกมากไปจนถึงระดับเมือง แผนที่เล่มจะให้ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ในบริเวณขอบเขตเดียวกัน ทำให้สามารถศึกษาข้อมูลในบริเวณนั้นๆได้ครอบคลุมทุกด้าน และยังสามารถเปรียบเทียบข้อมูล ประเภทเดียวกันกับบริเวณอื่นๆได้ การจัดทำเป็นรูปเล่มทำให้จัดเก็บง่าย มีความสะดวกในการค้นหาและใช้งาน 

ลักษณะสำคัญของแผนที่ 

แผนที่ คือ สิ่งที่ใช้แสดงลักษณะของพื้นโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยการย่อส่วนให้เล็กลง ใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกแสดงลงบนวัสดุพื้นแบนราบ และ กำหนดมาตราส่วนเพื่อแสดงระยะทางจริงบนพื้นผิวโลก 

ประโยชน์ของแผนที่

 1. ช่วยแสดงเส้นทางคมนาคม ถนน เป็นต้น

 2. ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่ศึกษาได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น 

3. ช่วยในการวางแผนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคและท้องถิ่นต่างๆ โดยแผนที่ จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติของ ท้องถิ่นต่างๆ 

4. กำหนดอาณาเขตของจังหวัด และประเทศให้แน่นอน ช่วยหน่วยงานราชการด้านการ ปกครอง 

5. แผนที่มีประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์การทหาร เช่น ทราบถึงเส้นทางการเดินทาง ทำเลที่ตั้ง และ สภาพภูมิประเทศของพื้นที่สงคราม เป็นต้น 

ข้อจำกัดของแผนที่ 

แผนที่บางฉบับต้องตรวจสอบระยะเวลาการผลิต บางฉบับข้อมูลไม่ทันสมัย โดยเฉพาะ ด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง 

องค์ประกอบของแผนที่ 

1) ชื่อแผนที่ ระบุว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไร เพื่อนาไปใช้ได้อย่างถูกต้องและตรงกับความ ต้องการ 

2) มาตราส่วน คือ อัตราส่วนของระยะทางบนแผนที่กับระยะทางจริงบนภูมิประเทศ มาตราส่วนที่นิยมใช้ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วน       มาตราส่วนคำพูด และมาตราส่วนบรรทัด 

3) ทิศทางแผนที่ แผนที่ทุกชนิดจะต้องมีการกำหนดทิศทางไว้ ส่วนใหญ่ส่วนบนของแผนที่ จะเป็นทิศเหนือ ส่วนล่างจะเป็นทิศใต้ ทางขวามือเป็นทิศตะวันออก และซ้ายมือเป็นทิศตะวันตก 

4) ขอบระวางแผนที่ คือ ความกว้าง ความยาวของแผนที่ 1 แผ่น โดยบอกค่าละติจูด และ ลองจิจูดไว้ด้วย 

5) พิกัดภูมิศาสตร์ คือ กำหนดตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นโลก โดยใช้ค่าของละติจูดและ ลองจิจูดเป็นเครื่องมือ 

ละติจูดและลองจิจูด

ละติจูด คือ เส้นสมมุติที่ลากขนานกับเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางเหนือและลงมา ทางใต้ ตาม หลักสากลกำหนดให้เส้นศูนย์สูตรมีค่าเป็น 0องศา ดังนั้น ที่ขั้วโลกเหนือละติจูดจึงมีค่าเป็น 90องศาเหนือ และที่ ขั้วโลกใต้จึงมีค่าเป็น 90องศา และที่ขั้วโลกใต้ จึงมีค่าเป็น 90องศาใต้ 

ลองจิจูด คือ เส้นสมมุติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ตามหลักสากลได้สากลได้ กำหนดให้เส้นเมอริเดียนปฐม                                                (เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ) มีค่าเท่ากับ 0องศาจากนั้นจึงนับไล่ไปทาง ตะวันตก 180องศา และไปทางตะวันออก 180 องศา

ระบบอ้างอิงพิกัดภูมิศาสตร์

 1. เส้นเมริเดียน (Meridian of longitude) คือ เส้นสมมุติที่ลากผ่านขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ ใช้เป็นเครื่องกeหนด แนวเหนือ-ใต้ของโลก ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลกแต่ละเส้น กำหนดด้วยค่า “ลองจิจูด” ของเมริเดียนนั้น 

เส้นเมริเดียนแรก (Prime meridian) คือ เส้นเมดิเดียนของละจิจูดที่ 0 องศา ที่ ลากจาก ขั้วโลกเหนือลงมาทางใต้ผ่านหอดูดาวของ สหราชสมาคมวิทยาศาสตร์ (ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร) ไปยังขั้วโลกใต้ ใช้เป็นเส้นเริ่มต้นในการแบ่งโลกออกเป็น “ซีก โลกตะวันออก และซีกโลกตะวันตก” และ "กำหนดโซนเวลา" 

2. เส้นขนาน (Parallel of latitude) คือ เส้นสมมุติที่ลากจากทิศตะวันตกไปทิศ ตะวันออก ซึ่งจุดทุกจุดบนเส้นสมมุตินั้น มีค่าละติจูดเท่ากัน เส้นขนานทุกเส้นบนผิวโลกเป็นขอบ วงกลม ขนานกับเส้นศูนย์สูตรโดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือและใต้จนถึง 90 องศาของ ขั้วโลกทั้งสอง เส้นขนานประกอบด้วย 2.1 เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นสมมุติที่ลากรอบโลกเป็นวงกลมตัดกับเส้น เมริเดียนเป็นมุมฉาก ระนาบของเส้นศูนย์สูตรจะผ่านจุดศูนย์กลางของโลกและแบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน เท่ากันครึ่งหนึ่งเรียกว่า “ซีกโลกเหนือ” และครึ่งหนึ่งเรียกว่า “ซีกโลกใต้” 

2.2 เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ (Tropic of Cancer) เป็นเส้นสมมุติที่ลากขนานกับ เส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นเส้นขนานที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงตั้งฉากในละติจูดเหนือสุด คือ ที่ละติจูด 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ 

2.3 เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น (Tropic of Capricorn) เหมือนกับเส้นทรอปิกออฟ-แคนเซอร์ แต่แสดงเส้นขนานที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงตั้งฉากในละติจูดใต้สุด คือ ที่ละติจูด 23 องศา 30 ลิปดาใต้ 

2.4 เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล (Tropic of Capricorn) เป็นเส้นสมมุติที่ลากขนานกับ เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ ซึ่งเป็นเส้นขนานที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงสิ้นสุดที่ละติจูดเหนือสุด คือ เส้นขนาน ที่ ละติจูดที่ 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ 

2.5 เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล (Tropic of Circle) คือ เป็นเส้นสมมุติที่ลากขนานกับ เส้นทรอปิกแคปริคอร์น ซึ่งเป็นเส้นขนานที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงสิ้นสุดที่ละติจูดใต้สุด ละติจูดที่ 66 องศา 30 ลิปดาใ ต้

การใช้แผนที่ให้เกิดประโยชน์เต็มที่ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบ ของแผนที่ เพราะองค์ประกอบ ที่อยู่ในแผนที่จะบอกข้อมูลต่างๆ ให้เราทราบ 

1. ชื่อแผนที่ เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่จะบอกว่าแผนที่นั้นเป็นแผนที่แสดงข้อมูลอะไร 

2. ชื่อทางภูมิศาสตร์คือ ตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่มีความสำคัญในแผนที่ ได้แก่ ชื่อ ทวีป ประเทศ เกาะ ถนน เป็นต้น 

3. ทิศ โดยทั่วไปแผนที่จะแสดงส่วนบนของแผนที่เป็นทิศเหนือเสมอ

 4. มาตราส่วน สิ่งที่แสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทาง จริงบนพื้นผิวโลก มาตราส่วนมี 3 ชนิด 4.1 มาตราส่วน       คำพูด เช่น 1 ซม. เท่ากับ 20 กม. 4.2 มาตราส่วนเส้น 

แสดงทิศของแผนที่ 

เข็มทิศ

            เข็มทิศ คือเครื่องมือสำหรับใช้หาทิศทาง มีเข็มแม่เหล็กที่แกว่งไกวได้อิสระใน แนวนอนทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ตามแรงดึงดูดของแม่เหล็กโลก และที่หน้าปัดมีส่วนแบ่ง สำหรับหาทิศทางโดยรอบ เข็มทิศจึงมีปลายชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ (อักษร N หรือ น) เมื่อทราบทิศเหนือแล้วก็ย่อมหาทิศอื่นได้โดยหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านขวามือเป็นทิศ ตะวันออก ด้านซ้ายมือเป็นทิศตะวันตก ด้านหลังเป็นทิศใต้ การบอกทิศทางในแผนที่โดยทั่วไป คือการบอกเป็นทิศที่สำคัญ 4 ทิศ คือทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก หรือ อาจจะบอกละเอียดเป็น 8,16 หรือ 32 ทิศก็ได 

วิธีการใช้เข็มทิศ 

1. วางเข็มทิศบนฝ่ามือหรือบนปกสมุดในแนวระดับโดยให้เข็มแม่เหล็กแกว่งไปมาอย่างอิสระ 

2. หมุนกรอบหน้าปัดของตลับเข็มทิศให้เลข 60 อยู่ตรงกับปลายลูกศรชี้ทิศทาง 

3. หมุนฐานเข็มทิศจนกว่าเข็มแม่เหล็กสีแดงภายในตลับเข็มทิศชี้ตรงกับตัวอักษร N ทิศ เหนือ บนกรอบหน้าปัด

 4. เมื่อลูกศรชี้ทิศทางไปทางใด ก็เดินตามไปทางทิศนั้น ในการเดินทางไปตามทิศทางที่ลูกศร แดงชี้นั้น ให้สังเกตและมองหาจุดเด่นในภูมิประเทศ แล้วจึงเดินไปตามสิ่งนั้น 

ข้อควรระวังในการใช้เข็มทิศ 

1. จับถือด้วยความระมัดระวัง เพราะหน้าปัดและเข็มบอบบางอ่อนไหวได้ง่าย 

2. อย่าทำเข็มทิศตก เพราะแรงกระทบกระเทือนอาจทำให้เสียหายได้ 

3. อย่าอ่านเข็มทิศใกล้สิ่งที่เป็นแม่เหล็กหรือวงจรไฟฟ้า 

4. อย่าทำให้เข็มทิศที่เปียกน้ำ เพราะจะทำให้ขึ้นสนิม 

5. อย่าวางเข็มทิศไว้ใกล้ความร้อน เพราะจะทำให้เข็มทิศบิดงอได้ 

รูปถ่ายทางอากาศ 

ลักษณะสำคัญของรูปถ่ายทางอากาศ 

              รูปถ่ายทางอากาศ หมายถึง รูปถ่ายของลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลกซึ่ง ได้มาจากการถ่ายภาพทางอากาศด้วยวิธีการนำกล้องถ่ายรูปติดไว้กับอากาศยาน เช่น บอลลูน เครื่องบิน โดรน เป็นต้น ที่บินไปเหนือภูมิประเทศบริเวณที่ต้องการถ่ายภาพ 

              ภาพถ่ายแต่ละภาพต้องให้ครอบคลุมพื้นที่ทับซ้อนกันประมาณร้อยละ 60 เพื่อใช้สำหรับดู ด้วยกล้องสามมิติและภาพแต่ละแนวต้องซ้อนทับกันประมาณร้อยละ 20-30 เพื่อป้องกันพื้นที่บางส่วน ขาดหายไปเมื่อนำภาพที่ถ่ายได้มาเรียงต่อกันจะเห็นรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่จริงบน พื้นผิวโลก 

รูปถ่ายทางอากาศ มี 2 ประเภท ตามลักษณะการถ่ายรูปดังนี้ 

1. ภาพถ่ายทางอากาศแนวดิ่ง เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายรูปในแนวตั้งฉากกับผิวโลกและไม่เห็น แนวขอบฟ้า 

2. ภาพถ่ายทางอากาศแนวเฉียง เป็นรูปถ่ายที่เกิดจากการกำหนดแกนกล้องในลักษณะเฉียง 

ความสำคัญของรูปถ่ายทางอากาศ 

      รูปถ่ายทางอากาศช่วยในการศึกษาพื้นที่ที่ต้องการรายละเอียดมาก เช่น การวิเคราะห์ เป้าหมายทางการทหาร การวางผังเมืองและระบบสาธารณูปโภค

      รูปถ่ายที่ได้จะแสดงรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศที่ถ่าย ความเข้มของสีต่างๆ ใน รูปถ่ายทางอากาศจะบอกถึงความแตกต่างทางด้านกายภาพ พืชพรรณธรรมชาติ และเปลี่ยนไปตามฤดูกาล 

ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศ 

1. ใช้ในการศึกษาตีความและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากร 

2. ใช้ในการสำรวจและติดตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา 

3. ใช้ในการวางแผนในการพัฒนาประเทศ 

4. ใช้ในการสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ 

5. ใช้ในกิจการทหารและความมั่นคงของประเทศ 

6. การวางผังเมืองและการสำรวจแหล่งโบราณคดี 

ข้อจำกัดของรูปถ่ายทางอากาศ 

1. ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้กว้างเพราะมีรัศมีครอบคลุมน้อยกว่าการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing) จึงทำให้ความสำคัญของรูปถ่ายทางอากาศลดลง 

2. จะต้องดูช่วงเวลาในการถ่าย และดูสภาพอากาศ 

3. เมื่อเปรียบเทียบกับแผนที่แล้วรายละเอียดบางอย่างถูกปิดบังเพราะอยู่ในที่สูง 

ภาพจากดาวเทียม 

ภาพจากดาวเทียม หมายถึง ภาพระยะไกลของพื้นโลกที่ได้จากการบันทึกข้อมูลของ ดาวเทียม ที่โคจรอยู่รอบโลก โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า "การรับรู้จากระยะไกล" หรือรีโมต เซนซิง (Remote sensing) โดยอาศัยหลักการสะท้อนแสงหรือพลังงาน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากดวงอาทิตย์ ที่ตกกระทบกับวัตถุหรือพื้นผิวโลกแล้วสะท้อนกลับเข้าสู่เครื่องรับสัญญาณ (Remote sensor) ซึ่งติดไปกับดาวเทียมแล้วจะบันทึกพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วง คลื่นที่แตกต่างในเวลาเดียวกัน เพราะวัตถุแต่ละชนิดจะสะท้อนแผ่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า เฉพาะตัวที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นจะแปลงเป็นข้อมูลเชิงตัวเลข ซึ่งนำไปใช้ประมวลผล แสดงเป็นภาพและทำแผนที่ต่อไปภาพจากดาวเทียมมีทั้งแบบที่เหมือนจริง เช่น ภาพแสดง ตำแหน่งที่ตั้งชุมชน และแบบแสดงสัญลักษณ์เป็นสี เช่น ภาพแสดงประเภทของพื้นที่ป่าไม้ ภาพแสดงพื้นที่การเพาะ ปลูกพืชผลทางการเกษตร ต้องมีการแปลความหมายของสิ่งที่แสดง ออกมาเสียก่อน จึงจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้

 ประโยชน์ของภาพจากดาวเทียม

 1. ใช้ในการบอกตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขต เพราะภาพที่ได้ทำให้เห็นลักษณะภูมิประเทศ ที่ชัดเจน ใช้ในการจัดการพื้นที่เพาะปลูก วางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน 

2. ใช้ติดตามปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนผิวโลก เพราะดาวเทียมทำการบันทึกตลอดเวลา 

3. ใช้ในการศึกษาการขยายตัวของชุมชนเพื่อวางผังเมืองและพัฒนาสาธารณูปโภค 

4. ใช้ในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนผิวโลก เช่น ภัยพิบัติต่างๆ ไฟไหม้ป่า แผ่นดินไหว ความเสียหายจากพายุ 

ข้อจำกัดของภาพจากดาวเทียม 

1. พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่การติดตามตรวจสอบทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง 

2. ในการใช้ภาพจากดาวเทียมบางภาพต้องมีการแปลความหมายของข้อมูลก่อน 

3. บางภาพไม่ได้แสดงเส้นอาณาเขต ผู้ใช้จำเป็นต้องดูประกอบกับแผนที่และเครื่องมือทาง ภูมิศาสตร์อื่นๆ 

การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร ์

             เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีประโยชน์มาก ในด้านที่ให้ข้อมูลแก่เราในการศึกษา เรื่องราวภูมิศาสตร์ประเทศไทยการที่จะศึกษาได้ดีมีประสิทธิภาพ นอกจากคุณภาพของ เครื่องมือแล้วคุณภาพของผู้ใช้ก็มีความสำคัญด้วย ดังนั้นจึงควรทราบถึงแนวทางการ เลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ดังนี้  

      1. ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ เพราะถ้าใช้เครื่องมือ ที่ด้อยคุณภาพ จะทำให้เราได้รับ ข้อมูล ที่คลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่น แผนที่เล่ม สำหรับเด็กเล็กที่ทำให้ดูง่าย ไม่เคร่งครัดในเรื่องความถูกต้องของลักษณะ ภูมิประเทศ ขนาดของสิ่งต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งสีที่นำมาใช้อาจไม่ได้สื่อถึงลักษณะภูมิประเทศจริง ตามสัญลักษณ์สากลที่ใช้กัน การใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ ก็ควรเลือกใช้จากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานจากหน่วยราชการ หน่วยงาน องค์กรที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนั้นๆ โดยตรง หรือ จากสถาบันซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน จะต้องมีแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่ชัดเจน เช่น หน่วยงานของ สหประชาชาติ (UN) องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือนาซา (NASA) ไม่ควรใช้คeกล่าวอ้างของบุคคล        

      2. ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ความทันสมัยในที่นี้ มิได้หมายความถึง เครื่องมือที่ใช้ เทคโนโลยีสูง มีความสลับซับซ้อน หากแต่เป็นเครื่องมือที่มีความเป็นปัจจุบัน ทันสมัยต่อ เหตุการณ์ ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ตัวอย่างเช่น จำนวนประเทศในทวีปยุโรปเมื่อ 10 ปี ที่แล้วกับปัจจุบันจะต่างกัน หรือจำนวนประชากรความหนาแน่นของประชากร รายได้ ประชาชาติของประเทศต่างๆ ข้อมูล มีการเปลี่ยนแปลงไปทุกปี ถ้าใช้เครื่องมือที่จัดทำมา นานก็จะได้ข้อมูลเก่า เป็นต้น 

     3. ตรวจสอบข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ควรจะต้องทำการ ตรวจสอบก่อน เพราะอาจมีความคลาดเคลื่อนได้โดยเฉพาะข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ต้อง ทำการตรวจสอบ และควรตรวจสอบจากหลายๆ แห่งเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ตัวอย่าง เช่น มีหลายเว็บไซต์ที่ระบุจำนวนและชื่อประเทศในทวีปแอฟริกาไม่ครบ บางเว็บไซต์นำชื่อ ประเทศในทวีปอเมริกาใต้มาอยู่ในทวีปแอฟริกา หรือนิตยสารบางเล่มก็ให้ข้อมูลทำให้เข้าใจ ภาพของทวีปแอฟริกาคลาดเคลื่อน อาทิ ทวีปแอฟริกา มีความล้าหลังด้อยพัฒนาไปเสียหมด ทั้งทวีป ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงบางเมืองของทวีปแอฟริกา เช่น เมืองคาซาบลังกา ในประเทศ โมร็อกโก เมืองเคปทาวน์ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีความเจริญมากกว่าบางเมืองในทวีป ยุโรปเสียอีก