พื้นฐานของบัญชีต้นทุน

พื้นฐานของบัญชีต้นทุน

บัญชีต้นทุนแบ่งต้นทุนเป็น 2 แบบคือ ต้นทุนทางตรง กับ ต้นทุนทางอ้อม (โส้หุ้ย) ต้นทุนโดยตรงขึ้นต้นทุนที่จะไม่เกิดขึ้นเลยหากคุณไม่ดำเนินการ ในขณะที่ค่าโส้หุ้ยคือต้นทุนที่เกิดขึ้นอยู่แล้วแม้จะไม่ได้ดำเนินการผลิต ไม่จำเป็นต้องเสร็จสิ้นโครงการ และไม่จำเป็นต้องมีการดำเนินการใดๆ โดยปกติต้นทุนทางตรงหมายถึง ค่าจ้างแรงงาน และ ต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า ในขณะที่ค่าโส้หุ้ยคือค่าจ้างผู้จัดการทั่วไป และ บุคคลาการและอุปกรณ์ต่างๆในบริษัท

ต้นทุนทางตรง เช่นค่าจ้างแรงงาน และ ตันทุนวัตถุดิบ

ต้นทุนทางอ้อม (โส้หุ้ย) เช่นค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าจ้างพนักงานทั่วไป

กระบวนการของบัญชีต้นทุนจะทำให้ทราบถึงแหล่งที่มาของต้นทุนแต่ละอย่าง และ ต้นทุนเหล่านี้มีความเหมาะสมหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ในค่าจ้างแรงงานอาจมีค่าตัดและทาสีแผ่นเหล็กเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า คุณสามารถคำนวณได้ว่าต้นทุนมีความเหมาะสมหรือไม่ หรือควรที่จะหาซื้อแผ่นเหล็กสำเร็จรูปเพื่อต้นทุนที่ต่ำลง

จุดประสงค์ของการแตกค่าใช้จ่ายเป็นต้นทุนย่อยๆและแบ่งกลุ่มของต้นทุนเหล่านั้น ก็เพื่อที่จะทำให้คุณสามารถวิเคราะห์ได้ว่าต้นทุนใดที่ไม่ทำให้เกิดกำไรต่อบริษัท ในกรณีค่าโส้หุ้ย คุณสามารถประมาณการณ์ต้นทุนที่เกิดจากรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพได้ ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเป็นต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ถ้าเป็นต้นทุนทางตรง คุณสามารถตัดค่าใช้จ่าย โดยพิจารณาวัตถุดิบที่ไม่เพิ่มมูลค้าให้กับสินค้า หรือ ลดต้นทุนโดยพัฒนาประสิทธิภาพของการผลิต การลดต้นทุนทางตรงมีความสำคัญมากเพราะจะทำให้ต้นทุนของสินค้าต่ำลงหากปริมาณของสินค้าเพื่อมากขึ้น

บัญชีต้นทุนสามารถช่วยในการลดต้นทุนได้เมื่อคุณเปรียบเทียบข้อมูลของคุณกับค่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม หรือ ข้อมูลในอดีตของคุณเอง หากค่าใช้จ่ายมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมมาก คุณควรตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงานของคุณว่ามีอะไรแปลกแยกหรือไม่ ถ้ากิจกรรมบางอย่าง เช่นการติดตั้งระบบไฟฟ้ามีต้นทุนมากกว่าที่เคยเป็นมา คุณควรหาสาเหตุและหนทางที่จะลดต้นทุนนั้น โดยสรุปแล้วการใช้บัญชีต้นทุนช่วยให้คุณ ติดตาม ประมาณการณ์ และคาดการณ์คะเน ทั้งนี้เพื่อการลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจนั้นเอง