Radiation Therapy

Pros of SiRAD Onco

ร.พ.ศิริราชมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Radiation Oncology มากมายที่ได้จบการศึกษาจากต่างประเทศ ทำให้น้องๆมั่นใจได้ว่า จะได้รับความรู้และฝึกฝนทักษะจากตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมแน่นอน นอกจากนั้นยังมีเครื่องฉายรังสีที่ทันสมัยเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ

เนื่องจากความรู้ทางด้านรังสีรักษายังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
มีการฉายด้วยเทคนิคใหม่ๆ ที่มีความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่มีความทันสมัย ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีเครื่องฉายที่ทันสมัยมีผลต่อการเรียนรู้ของ Resident ยกตัวอย่างเครื่องฉายที่เรามี ชื่อว่า MR Linac เป็นการนำเครื่อง MRI มาประมวลภาพพร้อมกับการฉายรังสี ซึ่งเป็นเครื่องแรกของ Southeast Asia เลยครับ

Review: เนื่องจากสาขาเรามีองค์ความรู้ใหม่ ที่ update ตลอดเวลา ต้องอ่าน Paper บ่อยมากๆ มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมี skill ภาษาอังกฤษในระดับหนึ่ง (ซึ่งคะแนนภาษาอังกฤษก็เป็นหนึ่งในเกณฑ์คะแนนตอนคัดเลือก Resident ด้วย) และอาจารย์ก็จะพยายามให้เราอ่านเองเยอะระดับหนึ่ง จะไม่ได้สอนเยอะมาก เนื่องจาก ตอนเราจบไป เราก็ต้อง Update ความรู้เองด้วย อาจารย์ต้องการจะสร้าง skill เราในจุดนี้

มี Ward ของรังสีรักษาเอง ราวน์เช้าช่วง 7.10-8.00 .... การตื่นเช้าจะกลับมาอีกครั้ง

SiRADOnco Education System

Overview

  • RT เรียน 3 ปี

  • ปี 1 วน Diag 4 เดือน Nuclear medicine 2 เดือน ที่เหลือเข้าภาค RT 6 เดือน

  • ปี 2-3 RT


Academic activity

  • Journal presentation: เป็น Resident 2-3 นำงานวิจัยที่น่าสนใจมา present ให้อาจารย์และ resident คนอื่นฟัง

  • Grand round: Resident ที่ราวน์วอร์ดนั้นๆ ช่วยกันนำเสนอเคสที่น่าสนใจในวอร์ด มีอาจารย์มาเข้าร่วมเพื่อ discuss plan กับ management

  • Peer review: Resident นำ planning ที่แพทย์กับนักฟิสิกส์ช่วยกันวางแผนการรักษาเข้าที่ประชุม เพื่อให้อาจารย์ช่วยกัน discuss ว่า plan ok มั้ย ต้องปรับอะไรเพิ่

  • Lecture ของ RT จะมี lecture สัปดาห์ละครั้ง ทุกวันศุกร์ ประมาณ 10 lectures


Duty

  • Ward round: เน้น service round ส่วนใหญ่เป็นเคสมานอนให้ CCRT

    • เริ่มช่วงเช้าประมาณ 7.10 น. แล้วแต่จำนวนเคส

    • ช่วงเย็นประมาณบ่าย 3 กว่าๆ เสร็จประมาณ 4 โมงเย็น

  • Simulation

    • การให้ผู้ป่วยไปนอนบนเตียงที่เหมือนกับเตียงที่จะใช้ฉายรังสี แล้วเข้าเครื่อง CT หรือ MRI เพื่อทำการจำลองภาพบริเวณที่เราจะฉายรังสี

    • Resident มีหน้าที่ไปตรวจ check ว่าตำแหน่ง field of view ที่เราจะทำการฉาย ok มั้ย เพียงพอต่อบริเวณที่เราจะทำการฉายรึเปล่า เหมือนไป check quality ของ image

  • Contouring เป็นการนำภาพ CT/MRI simulation ของคนไข้มาวาด contour กำหนดขอบเขตของ normal organ, tumor และบริเวณที่จะทำการฉาย กำหนดว่าบริเวณไหณควรจะได้ dose เท่าไหร่

  • Planning หลังจากเราทำการวาด contour เสร็จเรียบร้อย จะส่งไม้ต่อให้นักฟิสิกส์การแพทย์ช่วย plan ต่อ เขาจะเป็นคนวางแผนว่า ควรจะให้เครื่องฉายรังสีเข้าทิศไหน เพื่อให้ได้ dose ที่เพียงพอต่อ target ที่เราจะฉาย และให้ normal organ ได้ dose น้อยที่สุด

  • OPD

    • OPD RT คือ OPD follow up ระหว่างการฉาย มีสัปดาห์ละครั้งในช่วงที่ฉายรังสี

    • OPD F/U คือ OPD follow up หลังการรักษาครบแล้ว

  • Shift

    • เวรเฝ้าวอร์ด RT รอรับ notify และรับเคสใหม่ (ถ้ามี)

    • ส่วนใหญ่เวรมักไม่ยุ่ง มี notify น้ำตาล ขอยานอนหลับ ขอยาแก้ปวด แต่บางทีก็มีเคสหนัก (แล้วแต่ช่วงและดวงด้วยส่วนหนึ่ง)

  • Research: Resident ต้องทำ research ก่อนจบอย่างน้อยคนละ 1 paper