เนื้อหา

ความหมายของงานประดิษฐ์
งานที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย หรือเพื่อความสวยงาม หรือประดับตกแต่งหรือเพื่อประโยชน์ใช้สอย
ความหมายของงานประดิษฐ์ด้วยวัสดุในท้องถิ่น
งานที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย หรือเพื่อความสวยงาม หรือประดับตกแต่งหรือเพื่อประโยชน์ใช้สอย โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น รังไหม ใบลาน
เกล็ดปลา ใบตอง ใบยางพารา เปลือกหอย ปอ กระจูด เป็นต้น
ความสําคัญของงานประดิษฐ์
1. งานประดิษฐ์มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันของคนไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณที่เกิดขึ้นจากชีวิตความเป็นอยู่ เพื่อประโยชน์ใช้สอยและเพื่อความสวยงาม เช่น การประดิษฐ์ภาชนะ ใส่อาหาร หรือขนมด้วยใบตองใบเตย ใบจาก การประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเหนียว การแกะสลักงานไม้
2
. งานประดิษฐ์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และศาสนา เช่น การประดิษฐ์ตกแต่งเทียนพรรษาด้วยใบตองและดอกไม้ การร้อยมาลัยบูชาพระ การประดิษฐ์กระทงใบตองในวันลอยกระทง
3
. งานประดิษฐ์ช่วยให้เกิดความรัก สามัคคีในหมู่คณะ ในกรณีที่ผู้ประดิษฐ์รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างชิ้นงาน นอกจากจะได้งานตามที่ต้องการแล้ว ยังก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี รู้จักเอื้ออาทร รู้จักเสียสละ รู้จักการเป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี อันเป็นคุณค่าที่จะช่วยสร้างสังคมให้น่าอยู่ เช่น ประชาชนร่วมกันประดิษฐ์ดอกไม้จันในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ตลอดปีพ.ศ.2559
4
. งานประดิษฐ์ช่วยให้การทํางานของสมองและประสาทสัมผัสประสานสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ทําให้ผู้ประดิษฐ์เกิดพัฒนาการทางความคิด สติปัญญา ความสามารถ รวมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนี้
1
) ส่งเสริมให้มีความละเอียดรอบคอบในการทํางาน
2
) ส่งเสริมให้มีความมานะอดทน รักในการทํางาน และรู้คุณค่าของงาน
3
) ส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้คุณค่าของตนเอง
4
) ส่งเสริมให้มีความริเริ่มสร้างสรรค์การพัฒนาการด้านสติปัญญา
5
) ส่งเสริมให้ความสามารถในการพัฒนาฝีมือ
6
) ส่งเสริมให้มีสมาธิและอารมณ์มั่นคง
ประโยชน์ของงานประดิษฐ์
การประดิษฐ์ของตกแต่งมีประโยชน์ดังนี้
1
. รู้จักใช้ทรัพยากรที่มี่อยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
2
. ช่วยตกแต่งให้เกิดความสวยงาม
3
. เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
4
. เกิดทักษะและกระบวนการทํางาน เช่น รู้จักวางแผนการทํางาน การดูแลรักษาเครื่องมือ
วิธีการสร้างงานประดิษฐ์
ในการประดิษฐ์งานต่างๆ อาจจําเป็นต้องอาศัยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้งานประดิษฐ์ มีความคงทน สวยงามและสามารถนํามาใช้ได้จริง ซึ่งมีวิธีการ ดังต่อไปนี้
1
. การปะ ติด ต่อ ยึด เชื่อม เป็นขั้นตอนการสร้างงานโดยนําวัสดุจําพวก แป้งเปียก กาวต่าง ๆ เชือกและบัดกรีเพื่อปะ ติด ต่อ ยึด เชื่อม วัสดุสองสิ่งเข้าด้วยกัน งานประเภทนี้ ได้แก่ ภาพติดปะ งานจําลอง
2
. เปเปอร์มาเช่ บ้านแบบจําลอง ดอกไม้ แจกัน เป็นต้น
3.
การปั้น เป็นการนําวัสดุประเภทต่าง ๆ เช่น ขี้เลื่อยยางพาราผสมกาว ดินเหนียว ดินน้ํามันหรือขี้ผึ้ง มาปั้นเป็นรูปตามต้องการ เช่น การปั้นรูปคน สัตว์ หรือสิ่งของ ผลไม้ เหรียญ เป็นต้น
4
. การปัก เป็นการใช้วัสดุประเภท ด้าย ไหม หรือไหมพรมตกแต่งยึดติดหรือทําเป็นลวดลายบนผ้าให้สวยงาม เช่นการปักตัวอักษรบนผ้าหรือผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอนผ้าคลุมเตียง เป็นต้น
5
. การถัก เป็นการใช้วัสดุประเภท ด้าย ไหม หรือไหมพรม มาถักสอดหรือไขว้กันให้ติดกันเกิดเป็นชิ้นงานหรือลวดลาย เช่น มู่ลี่ กระเป๋าสะพาย ผ้าพันคอ ปลอกหมอนสร้อยข้อมือ เป็นต้น
6
. การแกะสลัก เป็นการนํา มีด มีดแกะสลัก หรือเครื่องมือมีคมชนิดอื่น มาแกะวัสดุประเภท สบู่ ผัก
7
. การสาน เป็นการนําวัสดุประเภท ตอกไม้ไผ่ หวาย ย่านลิเภา ปอ กระจูด กก ใบลาน ใบมะพร้าวมาสานให้เกิดเป็นรูปร่างหรือชิ้นงาน และลวดลายแบบต่าง ๆ เช่น ตะกร้า หมวก พัด เสื่อ กล่องใส่กระดาษทิชชู เป็นต้น
8
. การเย็บ เป็นการทําให้วัสดุสองชิ้นยึดติดกัน ด้วยด้าย ไหม หรือไหมพรม เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า
9
. การย้อมและการแต่งสี เป็นการเติมและแต่งสีบนชิ้นงานเพื่อวัสดุมีความสวยงามด้วยมือ พู่กัน เช่นดอกไม้จากเกล็ดปลาหรือใบยางพารา
10
. การร้อย เป็นการร้อยวัสดุโดยอาศัยด้าย ไหม หรือไหมพรม กับเข็ม เช่น พวงมาลัย โมบายสร้อยลูกปัด เป็นต้น