ตำนานบ่อเกลือพันปี


บ่อเกลือพันปี ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนครไทย 32 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอนครไทยประมาณ 30 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 130 กิโลเมตร ในสมัยพ่อขุนบางกลางหาว (ท่าว) เมื่อพระองค์ทรงครองเมืองบางยาง (ปัจจุบันคือ อำเภอนครไทย) แล้วต่อมามีพระประสงค์ต้องการขยายอาณาเขต พระองค์จึงยกกองทัพไปตีขอม เมื่อเสร็จจากการตีขอมแล้ว ทรงเสด็จกลับเมืองบางยาง โดยนำไพร่พล – ทหาร เดินทางมาประทับแรม (ปัจจุบันคือ หมู่ที่ 1 บ้านบ่อโพธิ์) พระองค์สั่งให้ทหาร

ทำการสำรวจพื้นที่บริเวณที่ประทับแรม ทหารได้ไปพบบ่อน้ำบ่อหนึ่ง ซึ่งลักษณะของบ่อเป็นไม้โพธิ์ และมี น้ำขังอยู่ตรงกลาง พวกทหารตักมาชิมรู้สึกว่ามีรสเค็ม จึงได้นำน้ำดังกล่าว ไปถามพ่อขุนบางกลางหาว เมื่อพระองค์ทรงทราบ จึงสั่งให้ทหารนำน้ำดังกล่าว มาต้ม – เคี่ยว ปรากฏว่าน้ำนั้นตกผลึกเป็นเม็ดสีขาว ๆ เมื่อนำมาปรุงอาหารที่มีรสจืด จะทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น ก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับทรงให้ไพร่พลกลุ่มหนึ่งตั้งรกรากอยู่ที่นั่น พระองค์ได้นำเรื่องดังกล่าวไปเผยแพร่แก่ราษฎร ได้รู้จักการปรุงอาหารด้วยผลึกสีขาว (เกลือ) เป็นที่รับรู้กันโดยทั่ว สำหรับไพร่พล ที่ปักหลัก ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านบ่อโพธิ์ ได้ประกอบอาชีพทำเกลือ ในการแลกเปลี่ยนสินค้า ของใช้ในชีวิต ประจำวันเลี้ยงชีพตนเอง

ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นอาชีพหลักของหมู่บ้าน อาจกล่าวได้ว่าชื่อบ้านบ่อโพธิ์ ก็มาจากบ่อน้ำที่มีรัศมีรอบ ๆ เป็นไม้โพธิ์นั่นเอง ชาวบ้านได้เล่าสืบต่อกันว่า “บ่อโพธิ์” เป็นบ่อเกลือธรรมชาติได้ปรากฏมาตั้งแต่สมัยก่อน

อ้างอิง https://sites.google.com/site/wisdom1305/na-kelux


การทำเกลือสินเธาว์จากบ่อเกลือพันปี


ารทำเกลือเป็นอาชีพหลักของชาวบ่อโพธิ์มาตั้งแต่อดีต ดังปรากฏในปีพุทธศักราช 2467 หมู่บ้านนี้มีประมาณ 40 หลังคาเรือน สามารถผลิตเกลือได้ 2,000 หาบ ชาวบ้านบ่อโพธิ์จะนำเกลือไปจำหน่ายยังเมืองต่างๆ เช่น เมืองหล่มสัก เมืองเลย และนครไทย แม้ในพุทธศักราช 2539 ชาวบ้านบ่อโพธิ์สามารถผลิตเกลือได้ประมาณปีละ 30,000 หาบ นำเกลือที่ผลิตได้มาแลกข้าวที่หมู่บ้านนาตาดี กกม่วง ท่าหินลาดของอำเภอนครไทย


อ้างอิง https://sites.google.com/site/wisdom1305/na-kelux


วิธีดำเนินการต้มเกลือ

อุปกรณ์ในการต้มเกลือ

1. เตา เตาที่ใช้ในการต้มเกลือ ชาวบ้านจะปั้นเองโดยนำเซิม (ไม้ไผ่ชนิดหนึ่งมีปล้องยาวๆ) มาสานเป็นรูปเตา แล้วนำดินเหนียวมาพอกเป็นรูปเตาสามารถตั้งกระทะได้ และทนความร้อน ลักษณะของเตาที่นิยมทำ 2 วง เหมือนกันทุกบ้าน ซึ่งรูปแบบทำกันมาแต่บรรพบุรุษ ปัจจุบันอาจทำมากกว่า 2 วงก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังของครอบครัว แต่ส่วนมากทำแค่ 2 วง

2. ฟืน ฟืนที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการต้ม นำมาจากไม้ที่ตายแล้วบริเวณรอบๆ หมู่บ้าน

3. บาก ภาชนะที่ใช้ใส่เกลือที่เคี่ยวได้ที่แล้ว ชาวบ้านจะตักเกลือจากกระทะมาใส่บาก

เพื่อให้น้ำเกลือไหลลง เกลือจะได้แห้ง บากทำด้วยไม้ไผ่

4. รางไม้ ทำจากท่อนซุงขุดเป็นร่อง ใช้สำหรับรอน้ำเกลือที่ไหลจากบาก

น้ำเกลือที่อยู่ในรางไม้สามารถนำกลับไปต้มได้อีกครั้ง

5. เปลือกไม้จะแข เป็นไม้ป่าชนิดหนึ่ง ที่ชาวบ้านนำเปลือกมาใส่กระทะแช่ไว้ในเวลาต้มเกลือ เพื่อให้น้ำเกลือตกผลึก และจะได้เกลือมากขึ้น

6. กระชอน สานจากไม้รวก ใช้สำหรับช้อนเกลือใส่กระทะใส่บาก

7. กระทะใบบัว ใช้สำหรับต้มเกลือ

8. โอ่งน้ำ ไว้ใส่น้ำเกลือเพื่อพักให้น้ำตกตะกอน

9. ถังน้ำ สำหรับตักน้ำจากบ่อใส่โอ่ง

อ้างอิง https://sites.google.com/site/wisdom1305/na-kelux


การทำเกลือขั้นตอนและวิธีการต้มเกลือ มีดังนี้

1. หลังจากกวาดบ่อเสร็จ ชาวบ้านจะนำถุงไปตักน้ำจากบ่อเกลือ หาบมาใส่ไว้ในโอ่งเพื่อให้ดินโคลนที่ปะปนมากลับน้ำเกลือตกตะกอน ใช้เวลาประมาณ 1 คืน

2. นำน้ำที่ใสแล้วใส่กระทะ ต้มจนน้ำเริ่มร้อนก็นำเปลือกจะแขผูกเชือกติดกับไม้ไผ่เล็ก ๆแช่ไว้ใน กระทะ

3. พอน้ำเดือดเกลือจะเริ่มตกผลึกจับขอบกระทะหนาขึ้นเรื่อย ๆ เจ้าของจะทยอยช้อนเกลือใส่ในบากต่อไป

ทำเช่นนี้จนเกลือเกือบแห้งหมด (ถ้าปล่อยไว้จนแห้งสนิทเกลือจะไหม้) ก็จะเทน้ำเกลือลงใหม่ เฉลี่ยแล้วกระทะ 1 ใบ ต้มได้วันละครั้ง ถ้าเริ่มแต่ชาวจะเลิกเย็น สามารถต้มได้กระทะละ 2 ครั้ง แต่ถ้าช่วงฤดูหนาวอากาศเป็นอุปสรรคจะทำได้ก็ช่วงฤดูร้อนเท่านั้น

4. เมื่อได้เกลือมาแล้ว ชาวบ้านจะนำเกลือมาใส่ภาชนะเพื่อผสมไอโอดีนก่อนที่จะบรรจุใส่ถุงเพื่อจำหน่าย

บ้างก็นำมาแลกข้าวสาร อาหารแห้งตามหมู่บ้านใกล้เคียง


อ้างอิง https://sites.google.com/site/wisdom1305/na-kelux