โรคลิชมาเนีย

เป็นโรคจากการติดเชื้อปรสิตลิชมาเนีย มักเกิดจากการถูกริ้นฝอยทรายที่เป็นพาหะของเชื้อกัด ส่วนใหญ่จะแพร่ระบาดในบริเวณที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นหรือกึ่งร้อนชื้น โดยเฉพาะแถบเอเชีย แอฟริกา หรืออเมริกาใต้ ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะแสดงอาการป่วยแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ของเชื้อที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น อาจเกิดแผลตรงผิวหนังบริเวณที่ถูกกัด เกิดแผลที่เยื่อบุจมูกหรือปาก ตับและม้ามโต ผิวซีด หรือเป็นไข้เรื้อรัง เป็นต้น 

สาเหตุ

     โรคลิชมาเนียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัวลิชมาเนีย (Leishmania) สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ผ่านการถูกริ้นฝอยทราย (sand fly) ที่มีเชื้อกัด เชื้อนี้ทำ ให้เกิดโรคหลายรูปแบบ ที่พบมากที่สุดคือชนิดที่มีผลต่อผิวหนัง หรือ ชนิดที่มีผลต่ออวัยวะภายใน

วิธีการติดต่อ

      เกิดจากคนถูกแมลงริ้นฝอยทรายที่มีเชื้อปรสิต ลิชมาเนียกัด ภายหลังถูกกัด เชื้อปรสิตนี้จะเข้าไปอยู่ในเม็ดเลือดขาวชนิดที่เรียกว่า Macrophage ซึ่งในเม็ดเลือดขาวนี้ เชื้อฯจะแบ่งตัวรวดเร็วและมากมาย ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวแตก หลังจากนั้นเชื้อฯก็จะแพร่กระจายสู่เม็ดเลือดขาวเซลล์อื่นๆต่อไป

ระยะฟักตัว

     ระยะฟักตัวของโรคไม่แน่นอนอาจตั้งแต่ 2 - 3 วัน

ระยะติดต่อ 

     เชื้อลิชมาเนียใช้เวลาในการเจริญเติบโตในริ้นฝอยทราย 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม การแพร่กระจายโรคเกิดขึ้นได้เมื่อริ้นฝอยทรายกัดดูดเลือดตั้งแต่ครั้งที่ 2 และเชื้ออยู่ได้นานถึง 10 วัน

ผู้ป่วยโรคลิชมาเนียแต่ละรายจะแสดงอาการป่วยแตกต่างกันไปตามชนิดของโรค ดังนี้

โรคลิชมาเนียที่ผิวหนัง

     ระยะแรกผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นผื่นนูนคล้ายผดขึ้นบริเวณที่ถูกกัด จากนั้นผื่นอาจค่อย ๆ ขยายวงกว้างขึ้นและเกิดเป็นแผลตามมา โดยแผลอาจเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ แต่ส่วนใหญ่มักเป็นแผลขอบนูนและไม่เจ็บ ซึ่งรักษาให้หายเป็นปกติได้ค่อนข้างช้า ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลารักษานานหลายเดือนหรือหลายปี และเมื่อแผลหายแล้วก็อาจทิ้งรอยแผลเป็นที่คล้ายแผลจากไฟไหม้เอาไว้

โรคลิชมาเนียที่อวัยวะภายใน

     ผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการผิดปกติหลังถูกปรสิตที่มีเชื้อกัดไปแล้ว 2-6 เดือน โดยอาการบ่งชี้ของโรคนี้ ได้แก่

การป้องกันโรค

     ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนชนิดใดที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ ดังนั้น ผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดโรคจึงควรป้องกันตัวริ้นฝอยทรายกัดตามคำแนะนำต่อไปนี้

1. ภายนอกอาคาร
    สวมเสื้อแขนยาว กางเกงยายาว ถุงเท้า และเก็บชายเสื้อไว้ในกางเกงทายากันยุงหรือยากันแมลงที่ผิวทั้งบริเวณนอกร่มผ้าและในร่มผ้า โดยใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือตามฉลากบนผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัดหลีกเลี่ยงการออกนอกที่พักในเวลาพลบค่ำและรุ่งเช้า

2. ภายในอาคาร
    ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดในที่พักอาศัยก่อนเข้าพักอาศัยอยู่ในที่พักที่มีประตู หน้าต่าง และมุ้งลวดปิดมิดชิดกางมุ้งก่อนเข้านอนเสมอ โดยตรวจดูให้แน่ใจว่ามุ้งไม่มีรูที่ตัวริ้นสามารถลอดเข้ามาได้

การดูแลรักษา

     ยารักษาโรคลิชมาเนีย เป็นยาในกลุ่มต้านเชื้อรา เช่น Pentavalent antimoniasis หรือ Amphotericin B เป็นต้น รวมไปถึงการผ่าตัด การรักษาตามอาการ เช่น ให้เลือดหากซีดมาก ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ Liposornal Amphotericin B ชนิดฉีดครั้งเดียว ในการรักษาผู้ป่วยลิชมาเนีย แม้ว่าอาการไม่พึงประสงค์ของการใช้ยาจะน้อยกว่ายาตัวอื่น ๆ แต่ยังคงต้องใช้ความระมัดระวังและอยู่ในความดูแลของแพทย์ 

สื่อประชาสัมพันธ์