การทำเกษตรอินทรีย์

ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำเกษตรอินทรีย์

ข้อมูลทั่วไป

๑. ชื่อ นายสุระพงษ์ นามสกุล อินทรักษา

อายุ 48 ปี ระดับการศึกษา ปวส.

ภูมิปัญญา/ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านการทำเกษตรอินทรีย์

๒. ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลโพนสา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

โทรศัพท์ 086-8502584 E-mail.................................-..........................

๓. อาชีพ ผู้ใหญ่บ้าน

สถานที่ทำงาน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2

ตำบล/แขวง โพนสา อำเภอท่าบ่อจังหวัดหนองคาย โทรศัพท์ 086-8502584

โทรสาร....................-........................................ E-mail......................-......................................

4. ประวัติผลงาน ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

(โดยระบุชื่อหน่วยงาน หรือองค์กรที่ท่านเข้าร่วมกิจกรรม)

4.๑ เป็นผู้ผ่านการประเมินเป็นเกษตรกร Smart Farmer ต้นแบบ ปี 2562

4.๒ ผ่านการอบรมหลักสูตรสารวัตรเกษตรอาสา ปี 2561

4.๓ ผ่านการฝึกอบรมโครงการสร้างและพัฒนาผู้นำสัมมาชีพชุมชน ปี 2561

4.๔ ผ่านการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการป้องกันการลักลอบค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ

4.๕ เกษตรกรดีเด่นจังหวัดหนองคาย สาขาการทำสวน

4.6 วิทยากรโครงการสร้างทักษะและส่งเสริมด้านอาชีพ กิจกรรมฝึกอบรมเกษตรกร

1. มีองค์ความรู้ด้านใดด้านหนึ่ง

นายสุระพงษ์ อินทรักษา เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านการทำเกษตรอินทรีย์ของตำบลโพนสา

โดยเป็นบุคคลต้นแบบในการเผยแพร่ให้ประชาชนในชุมชนได้เห็นความสำคัญของการทำเกษตรอินทรีย์ เช่น การปลูกมะเขือเทศ พริก มะระ คะน้า ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

2. สืบสานและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้

นายสุระพงษ์ อินทรักษา ได้เข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านการเกษตร เช่น เป็นผู้ผ่านการประเมินเป็นเกษตรกร Smart Farmer ต้นแบบ ปี 2562 ผ่านการอบรมหลักสูตรสารวัตรเกษตรอาสา ปี 2561 ผ่านการฝึกอบรมโครงการสร้างและพัฒนาผู้นำสัมมาชีพชุมชน ปี 2561 ผ่านการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการป้องกันการลักลอบค้าสัตว์ และอื่นๆอีกมากมาย โดยได้นำความรู้ที่ได้รับมาฝึกอบรมให้ความรู้ต่อยอดให้กับคนในตำบล

3. นำเทคโนโลยีพื้นบ้านมาพัฒนาองค์ความรู้

นายสุระพงษ์ อินทรักษาได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมมาใช้ในการทำจุลินทรีย์เรืองแสงเพื่อใช้ในการบำรุงพืช บำรุงดอกผลให้ใหญ่ ป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยจะหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม เกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญสูงสุดในการปรับปรุงบำรุงดิน โดยนายสุระพงษ์ อินทรักษา เชื่อว่าหากดินมีความอุดมสมบูรณ์ ย่อมทำให้พืชและสัตว์ที่เจริญเติบโตจากผืนดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ตามไปด้วย มนุษย์ที่บริโภคผลผลิตจากไร่นาอินทรีย์ ก็จะได้รับอาหารที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย

4. นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาองค์ความรู้

นายสุระพงษ์ อินทรักษา ได้นำความรู้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศมาใช้ เช่น การใช้เฟสบุ้คในการประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่างๆซึ่งนายสุระพงษ์ อินทรักษาได้จัดทำเฟสบุ้คส่วนตัวขึ้นเพื่อให้คนที่สนใจได้มาศึกษาหาความรู้ในเรื่องเกษตรอินทรีย์ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก

5. นำองค์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติจริงและเกิดเป็นรูปธรรม

นายสุระพงษ์ อินทรักษา ได้สร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงประจำตำบลโพนสาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนในตำบลโพนสา และตำบลใกล้เคียงตลอดจนประชาชนจากประเทศลาวได้มาศึกษา หาความรู้ เพื่อนำไปต่อยอดในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จต่อไป

เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไส้เดือนดิน



ประชาชนที่เข้าร่วมฝึกอบรมในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์และผู้ที่มาศึกษาดูงานซึ่งมีมาอย่างต่อเนื่อง



แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การทำการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากระบบเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิต ต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตเฉพาะพืชที่ปลูก ซึ่งเป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะให้ความสนใจเฉพาะแต่ผลผลิตของพืชหลักที่ปลูก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำ การผลิต

จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจากสารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร, การประหยัดพลังงาน, การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงบวก และการจัดการเชิงบวกนี้เองที่ทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างอย่างสำคัญจากการ เกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีแบบปล่อยปะละเลย (ที่มักอ้างว่า เป็นการเกษตรตามแบบธรรมชาติ) หรือเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรไร้สารพิษที่เฟื่องฟูในบ้านเรามานานหลายปี

เนื่องจากเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการ ทำฟาร์มเชิงสร้างสรรค์ (เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา) ดังนั้นเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยว กับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการ แห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้องสังเกต, ศึกษา, วิเคราะห์-สังเคราะห์ และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของฟาร์มตนเอง ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ (เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศ และภูมินิเวศ) รวมถึงเศรษฐกิจ-สังคมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น เพื่อคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของ ตัวเองอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์มุ่งหวังที่จะสร้างความมั่นคงในการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกร ตลอดจนอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรม วิถีการผลิตของเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีการผลิตที่เกษตรกรต้องอ่อนน้อมและ เรียนรู้ในการดัดแปลงการผลิตของตนให้เข้ากับวิถีธรรมชาติ อาศัยกลไกธรรมชาติเพื่อทำการเกษตร ดังนั้นวิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของสังคมไทย

แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์ก็ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อการค้า เพราะตระหนักว่าครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่จำเป็นต้องพึ่งพาการจำหน่ายผลผลิต เพื่อเป็นรายได้ในการดำรงชีพ ขบวนการเกษตรอินทรีย์พยายามส่งเสริมการทำการตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ทั้งใน ระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการตลาดท้องถิ่นอาจมีรูปแบบที่หลากหลายตามแต่เงื่อนไขทางสภาพเศรษฐกิจและ สังคมของท้องถิ่นนั้น เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตร หรือระบบอื่นๆ ที่มีหลักการในลักษณะเดียวกัน ส่วนตลาดที่ห่างไกลออกไปจากผู้ผลิต ขบวนการเกษตรอินทรีย์ได้พยายามพัฒนามาตรฐานการผลิตและระบบการตรวจสอบรับรอง ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่า ทุกขั้นตอนของการผลิต แปรรูป และการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่พยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรักษาคุณภาพของผลผลิตให้เป็นธรรมชาติเดิมมากที่สุด

จากแนวคิดหลักพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์ ที่มุ่งเน้นการทำการเกษตรที่อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม แนวทางปฏิบัติของเกษตรอินทรีย์จึงเน้นการผลิตความสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ โดยการประยุกต์ปรับใช้กลไกนิเวศธรรมชาติสำหรับการทำเกษตร ที่สำคัญได้แก่ การหมุนเวียนธาตุอาหาร, การสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดิน, ความสัมพันธ์แบบสมดุลของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย, การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร,

นายสุระพงษ์ อินทรักษา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลโพนสา ผู้ให้ข้อมูล

นายอัครพงษ์ พรหมพิทักษ์ ครู กศน.ตำบล เรียบเรียง