ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป สกร.อำเภอพิมาย

คำขวัญอำเภอพิมาย

“เมืองปราสาทหิน ถิ่นไทรงาม เรืองนามประเพณี ผัดหมี่พิมาย”

อำเภอพิมาย เดิมอยู่ในอาณาจักรของขอม มีฐานะเป็นเมืองปรากฏในศิลาจารึกว่า วิมายหรือวิมายปุระ ศิลาจารึกในสมัยพระเจ้าสุริยวรรมันที่ 1 เรียกเมืองนี้ว่า ภีระปุระ แปลว่านครแห่งความเข้มแข็ง ชื่่อ พิมาย มาจากคำว่า วิมายหรือวิมายปุระ อีกประการหนึ่ง สมัย อาณาจักรโคตรบูรณ์ของขอม ในลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลาง มีต้นพิมานขึ้นอยู่มาก เมื่อมีหมู่บ้านตั้งขึ้นจึงเรียกชื่อว่า “บ้านพิมาน”เมื่่อเจริญขึ้นก็เป็น เมืองพิมาน และเมื่่อเจริญขึ้้นอีก จึงเรีียกชื่่อว่่า “พิมานบุุรี”ต่อมาภายหลังเมื่่อขอมเสื่่อมอำนาจ ได้เปลี่่ยนกลับมาชื่อเมืองพิมาน และเรียกชื่่อเพี้ยนเป็น “เมืองพิมาย” มาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุุธยา

อำเภอพิมายแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล กระชอน กระเบื้องใหญ่ ชีวาน ดงใหญ่ ท่าหลวงธารละหลอด นิคมสร้างตนเอง ในเมือง โบสถ์ รังกาใหญ่สัมฤทธิ์ และหนองระเวียง

อำเภอพิมายเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่อำเภอหนึ่งเดิมมีชื่อเรียกว่า "อำเภอเมืองพิมาย"มีฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ 2443 โดยมีขุนขจิตสารกรรม  ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก

เมื่อปี พ.ศ. 2454 สมเด็จ พระศรีพัชรินทร์ทราฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่5หรือสมเด็จพันปีหลวงได้เสด็จประพาส เมืองพิมายและได้เสด็จทรงพักผ่อนที่ไทรงามคณะกรมการเมืองพิมายได้พร้อมกันรับเสด็จโดยจัดสถานที่ประทับที่ลำน้ำลำตลาดซึ่งเรียกว่า "วังเก่า" และได้ปรับปรุงถนนสายต่าง ๆในบริเวณที่ตั้งอำเภอให้สะอาดสวยงามเป็นจำนวนทั้งสิ้น สายและได้ตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ คือ ถนนจอมสุดาเสด็จ  ถนนวนปรางค์   ถนนอนันทจินดา  ถนนบูชายันต์ ถนนราช-ชนนี และถนนจวนเก่าปี พ.ศ.2457ได้สร้างที่ว่าการอำเภอพิมายบริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทหินพิมายและทางราชการให้ตัดคำว่า "เมือง"ออกเมื่อปี พ.ศ. 2483และให้เรียกว่า "อำเภอพิมาย" จนถึงปัจจุบัน   มีพื้นที่ทั้งหมด  966.834 ตารางกิโลเมตร

ประวัติความเป็นมา กศน.อำเภอพิมาย

กศน.อำเภอพิมาย จัดตั้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 สถานที่ทำการชั่วคราว อยู่ที่อาคารพยาบาลโรงเรียนพิมายวิทยา ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 ได้ย้ายสถานที่ทำการ มาอยู่ ณ เลขที่ 113 ถนนอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา  และได้ประสานงานกับอำเภอพิมายเพื่อจัดสร้างห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” และในขณะเดียวกันได้สร้างอาคารที่ทำการ กศน. อยู่ใกล้กับอาคารห้องสมุดประชาชน  และย้ายเข้ามาอยู่ ณ ที่ตั้งแห่งนี้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2538  เป็นต้นมา

ผู้เขียน : นายนัฐพล คู่พิมาย ครู กศน.ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา