แบบคัดกรองสุขภาวะทางใจ

*แบบคัดกรอง และประเมินต่าง ๆ เป็นการประเมินระดับภาวะเครียด/ ซึมเศร้า หรือภาวะสุขภาพใจในขั้นต้น

ส่วนการวินิจฉัยนั้นจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น

เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงเพื่อแยกโรคหรือภาวะอื่น ๆ เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นจากสาเหตุต่างๆ ได้มากมาย

*ผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับจากโปรแกรมจึงไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้

การตรวจรักษาเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับการพูดคุยระหว่างแพทย์และตัวท่าน

*การประเมินนี้เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้น

ส่วนการวินิจฉัยนั้นจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงเพื่อแยกโรคหรือภาวะอื่น ๆ เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นจากสาเหตุต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคทางจิตเวชอื่นที่มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย โรคทางร่างกายเช่นโรคไทรอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือเป็นจากยาหรือสารต่างๆ

ผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับจากโปรแกรมนี้จึงไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้ การตรวจรักษาเพิ่มเติมหรือการให้ยารักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และการปรึกษากันระหว่างแพทย์และตัวท่าน*

* คำถามต่อไปนี้จะถามถึงประสบการณ์ในช่วง ระยะ 2-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ให้ท่านสำรวจตัวเองและประเมินเหตุการณ์ อาการหรือความคิดเห็นและความรู้สึกของท่านว่าอยู่ในระดับใด


ประเมินด้วย SBSD 4 ปัจจัย S : Stress (เครียด) B : Burnout (ภาวะหมดไฟ) S : Suicide (เสี่ยงฆ่าตัวตาย) D : Depression (ซึมเศร้า)

MENTAL HEALTH CHECK IN เป็นเครื่องมือประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น และคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตจากสถานการณ์ COVID-19 พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้บุคลากรสาธารณสุข/ อสม./ จิตอาสา ใช้ประเมินสุขภาพจิตประชาชน เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อปัญหา มาดูแลสุขภาพจิต ตลอดจนประชาชนและผู้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตสามารถประเมินตนเองและเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว การประเมินประกอบไปด้วย SBSD คือ

S : Stress (เครียด)

B : Burnout (ภาวะหมดไฟ)

S : Suicide (เสี่ยงฆ่าตัวตาย)

D : Depression (ซึมเศร้า)

โดยทราบผลการประเมินทันที มีคำแนะนำในการปฏิบัติตัว พร้อมมีช่องทางการขอรับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางออนไลน์

พัฒนาโดย ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 - 13 กรมสุขภาพจิต

ที่มา : กรมสุขภาพจิต

กรณีที่มีความเครียดอยู่ในระดับสูง นักศึกษาสามารถติดต่อนัดหมายเพื่อพูดคุยกับนักจิตวิทยา หรือผู้ให้การปรึกษา

ได้ที่ศูนย์ให้คำปรึกษา ม.มหิดล (MU Friends) ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ชั้น 3