สัญญาณการฆ่าตัวตาย

สัญญาณเตือน

ผู้ที่มีลักษณะเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดการฆ่าตัวตายแน่นอน แต่เป็นสิ่งบอกว่าเขาเหล่านี้มีความทุกข์ทรมานใจที่ต้องการความใส่ใจอย่างจริงจัง

  • มีอาการซึมเศร้า นิ่งเฉย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว

  • แยกตัวจากเพื่อนฝูง พี่น้องครอบครัว

  • พูด เขียน เกี่ยวกับเรื่องความตาย

  • พูดถึงความท้อแท้สิ้นหวัง

  • พูดว่าทุกข์ทรมานมาก หรือตนเองเป็นปัญหา ภาระแก่คนอื่น

  • พูดเป็นนัย เช่น ทนไม่ไหวอีกแล้ว เดี๋ยวปัญหาก็จบแล้ว

  • เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว

  • มีการสั่งเสีย พูดลา หรือมอบสิ่งของให้ผู้อื่น

การช่วยเหลือเบื้องต้น

จุดมุ่งหมายหลักของการพูดคุยคือเพื่อให้เขารับรู้ว่ามีคนใส่ใจรับรู้ปัญหาความทุกข์องเขา ส่วนการมุ่งหาทางแก้ปัญหาให้เขาถือเป็นเรื่องรอง ท่าทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ฟังด้วยความใส่ใจ เปิดโอกาสให้เขาพูด พยายามที่จะเข้าใจความทุกข์ใจ และปัญหาในมุมมองของเขา

  1. ไม่รีบให้คำแนะนา หรือบอกว่าอย่าคิดอย่างนี้ หรือหาเหตุผลมาแย้งว่าเขาคิดผิด ซึ่งจะยิ่งทาให้เขายิ่งไม่อยากเล่า

  2. ถามความคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย อย่ากลัวที่จะถาม การถามไม่ได้กระตุ้นให้เขาคิดถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย แต่จะเป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้ระบายความรู้สึก อาจเริ่มด้วย “เคยมีความคิดไม่อยากอยู่หรืออยากไปให้พ้น ๆ ไหม” เขาคิดบ่อยไหม คิดจะทำอย่างไร

  3. ให้เขารับรู้ว่าเราพร้อมที่จะช่วยเขาตลอดในช่วงนี้

  4. ถ้าไม่ได้อยู่กับเขา บอกเขาว่าเราจะหมั่นโทรศัพท์มาเช็ค ถ้าเขารู้สึกไม่สบายใจให้รีบโทรศัพท์มาหาเราได้ทันที

  5. หากดูเขาซึมเศร้า หรือพูดคุยแล้วยังไม่ดีขึ้น ชักชวนแนะนำให้เขาพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการช่วยเหลือ

  6. หากดูเขามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง เช่น ซึมเศร้าหมดหวัง ปัญหารุนแรง ให้

    • โทรศัพท์ปรึกษาสายด่วน MU Hotline 088-8747385

    • สายด่วนสุขภาพจิต 1323

    • นัดหมายปรึกษาพูดคุยที่ MU Friends

หรือ

การดูแลช่วยเหลือหลังจากมีการพยายามฆ่าตัวตาย

  1. หากเขาเพิ่งทำ ควรมีคนอยู่กับเขาใกล้ชิดตลอดเวลา อย่าด่วนคลายใจเมื่อเขาบอกว่าดีแล้วไม่คิดทำอีกแล้ว พบบ่อยว่าความเสี่ยงต่อการทำซ้ำ จะสูงในช่วง 2-3 วันแรกหลังทำ

  2. เก็บของมีคม หรือสิ่งของที่เห็นว่าเขาอาจใช้ทำร้ายตัวเองได้

  3. แม้การอยู่ใกล้ชิดจะไม่สามารถป้องกันการทำซ้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่หากเกิดเหตุการณ์ขึ้น เรายังสามารถช่วยเหลือเขาได้ทันท่วงที

  4. ในผู้ที่ได้พบแพทย์หรือรับการช่วยเหลือแล้ว คอยดูแลให้เขาไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามการรักษา


ที่มา :ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย