แผนการจัดการเรียนรู้

เรื่อง มุม

เผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต

มาตรฐาน ค. 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่าง รูปเรขาคณิต และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้


ตัวชี้วัด 

ค 2.2  ป.4/1 จำแนกชนิดของมุม บอกชื่อมุม ส่วนประกอบของมุมและเขียนสัญลักษณ์แสดงมุม


สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

ระนาบมีลักษณะเป็นพื้นผิวที่แบนและเรียบ ไม่มีความหนา จะแผ่ขยายออกไปได้อย่างไม่มีสิ้นสุด เราสามารถใช้จุดแสดงตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ส่วนเส้นตรง เป็นเส้นที่ไม่มีจุดปลาย แต่มีหัวลูกศรเพื่อแสดงว่าสามารถต่อยาวออกไปได้อย่างไม่สิ้นสุด ส่วนของเส้นตรงเป็นส่วนหนึ่งของเส้นตรง มีความยาวสิ้นสุด และรังสี เป็นส่วนหนึ่งของเส้นตรง แต่มีจุดปลายเพียงข้างเดียวเท่านั้น


จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนเข้าใจลักษณะของระนาบ จุด เส้นตรง รังสี ส่วนของเส้นตรง (K)

2. นักเรียนสามารถเขียนสัญลักษณ์แทนจุด เส้นตรง รังสี ส่วนของเส้นตรงได้ (P) 

3. นักเรียนสามารถบอกสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มีพื้นผิวเป็นระนาบได้ (P)

4. นักเรียนสามารถวาดภาพที่ประกอบด้วยระนาบ จุด เส้นตรง รังสี ส่วนของเส้นตรงได้ (P)

5. นักเรียนสามารถรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (A) 


สาระการเรียนรู้

ระนาบ จุด เส้นตรง รังสี ส่วนของเส้นตรง และสัญลักษณ์แสดงเส้นตรง รังสี ส่วนของเส้นตรง


กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

1. ครูนำอภิปรายเกี่ยวกับประสบการณ์ที่นักเรียนเคยพบ “จุด” และ “เส้นในแนวตรง” ในชีวิตจริง โดยอาจให้นักเรียนยกตัวอย่าง และอธิบายถึงการนำไปใช้ประโยชน์จากจุดและ เส้นในแนวตรง 

ขั้นสอน

2. จากนั้นให้นักเรียนพิจารณาภาพในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ป.4 เล่ม 2 สสวท. หน้า 103 เพื่อให้เห็นถึงการใช้จุดและเส้นในแนวตรงในชีวิตจริง

3. ครูอธิบายลักษณะของ ระนาบ จุด และวิธีการเขียนจุดในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ป.4 เล่ม 2 สสวท. หน้า 104 จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรม 

4. ครูอธิบายลักษณะของเส้นตรง พร้อมทั้งสาธิตวิธีเขียน เส้นตรงในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ป.4 เล่ม 2 สสวท. หน้า 105 แล้วให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ป.4 เล่ม 2 สสวท.หน้า 105-106 จากนั้นทำแบบฝึกหัด 8.2 เป็นรายบุคคล 

ความรู้เสริม 1. ระนาบ จุด และเส้นตรง เป็น คำอนิยาม ครูไม่จำเป็นต้องให้ นิยามของคำเหล่านั้นกับนักเรียน แต่ควรอธิบายถึงลักษณะ และการนำไปใช้ เช่น 

- ระนาบ มีลักษณะแบนราบ เรียบ และมีอาณาบริเวณ ไม่จำกัด ใช้รองรับรูปเรขาคณิตที่เขียนบนระนาบ เช่น จุด เส้นตรง รูปสามเหลี่ยม วงกลม ฯลฯ 

- จุด เป็นรูปเรขาคณิตที่ไม่มีมิติ ใช้บอกตำแหน่ง 

- เส้นตรง เป็นรูปเรขาคณิต 1 มิติ มีลักษณะเป็นเส้น ในแนวตรงที่มีความยาวไม่จำกัด 

ขั้นสรุป

5. ครูสรุปองค์ความรู้ “เมื่อกำหนดจุด 2 จุดบนระนาบ จะมีเส้นตรงที่ลากผ่านจุด 2 จุดนี้ได้เพียงเส้นเดียวเท่านั้น” ข้อความนี้เป็น สัจพจน์ ทางเรขาคณิต ซึ่งสัจพจน์ (Postulate) เป็นข้อความที่ยอมรับ ว่าจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์


สื่อการเรียนรู้ 

1. หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ป.4 เล่ม 2 สสวท. 

2. แบบฝึกคณิตศาสตร์ ป.4 เล่ม 2 สสวท.


การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1.  วิธีการวัดและประเมินผล

1.1  ตรวจแบบฝึกหัด

        1.2  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม

2.  เครื่องมือ

        2.1  แบบฝึกหัด 

2.2  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

3.  เกณฑ์การประเมิน

3.1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

        3.2  การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

               ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ   ถือว่า   ผ่าน

               ผ่าน          1 รายการ   ถือว่า   ไม่ผ่าน