อาชีพชุมชน

กาละแม

อ้อย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Saccharum officinarum) เป็นพืชวงศ์ POACEAE วงศ์เดียวกับ ไผ่ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าว ข้าวโพด และ ข้าวบาร์เลย์ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในลำต้นอ้อยที่นำมาใช้ทำน้ำตาลมีปริมาณซูโครสประมาณ 17-35% ชานอ้อย (bagasse) ที่ถูกบีบเอาน้ำอ้อยออกไปแล้ว สามารถนำมาใช้ทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ ส่วนกากน้ำตาล (molasses) ที่แยกออกจากน้ำตาลในระหว่างการผลิต สามารถนำไปหมักเป็นเหล้ารัม (rum) ได้อีกด้วย

“น้ำอ้อย” คือ น้ำตาลที่ได้จากการนำอ้อยสดมาหีบคั้นน้ำ นำมาตั้งไฟต้มและเคี่ยวจนเหนียวข้นจนได้ที่ จากนั้น เทหรือหยอดลงในแม่พิมพ์ เพื่อทำเป็นก้อน

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มท็อฟฟี่น้ำอ้อย” โดยนางเปลี่ยน รวมสุข และเพื่อนแม่บ้านในหมู่บ้านรวมตัวกันจัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2555 โดยแรกเริ่มกลุ่มได้นำปัญหาในการจำหน่ายผลผลิตที่ทำมาจากอ้อยที่มีอยู่ในลักษณะ รูปแบบที่เหมือนเดิม จำหน่ายเฉพาะกลุ่ม ทำให้ได้รายได้ที่น้อย กลุ่มจึงมีแนวคิดที่จะนำอ้อยมาแปรรูปเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ทำมาจาก “น้ำอ้อย” เพราะน้ำอ้อยของบ้านสบบงเป็นน้ำอ้อยที่มีคุณภาพ

และมีแหล่งปลูกที่เดียวคือ ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา ทางกลุ่มได้นำน้ำอ้อยมาแปรรูปในรูปแบบของท็อฟฟี่น้ำอ้อย แต่ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากนัก กลุ่มจึงคิดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากท๊อฟฟี่ โดยใช้ในลักษณะและของการกวน จนในที่สุดได้สรุปออกมาเป็น “กามะแลน้ำอ้อย หนึ่งเดียวในพะเยา” การทำกาละแมน้ำอ้อย คือการนำน้ำอ้อยมาเป็นส่วนผสมให้ความหวานในการทำกาละแม แทนการใช้น้ำตาลทรายนอกจากนี้ “กาละแมน้ำอ้อย” ยังได้เพิ่มสูตรจากน้ำใบเตย มาเป็นน้ำดอกอัญชัญ ทุกอย่างส่วนผสมทั้งหมดล้วนมาจากวัสดุในท้องถิ่นทั้งมะพร้าว ใบเตย ดอกอัญชัญ ต.สบบง 3 หมู่บ้าน มีการทำน้ำอ้อยทุกหลัง เพราะต่างทำสวนอ้อยขายทุกปี ใบตองที่ห่อกาละแมก็หาได้ในหมู่บ้าน มะพร้าวขูดเองและคั้นเองด้วยเครื่องไม่ต้องซื้อกะทิสด ทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 2 เท่าตัว การทำกาละแมกลุ่มจะกวนทุกๆ 3 วัน ส่งไปตัวแทนจำหน่ายที่สนามบินแม่ฟ้าหลวง และตามคำสั่งซื้อ จากพื้นที่ต่างๆของจังหวัดพะเยา