กัญชงและกัญชา
พืชยาอย่างชาญฉลาด

กัญชา-กัญชง คําวากัญชาเป็นคําเรียกเดิมที่มาจากภาษาอินเดีย ซึ่งชาวพื้นบ้านของอินเดียได้นําพืช ชนิดนี้ไปใช้
ประโยชน์อย่างแพร่หลายที่สุดทั้งการเสพติด และเป็นเส้นใยมาตั้งแต่ดึกดําบรรพ์ แลวจากนั้นจึงมีผู้นํามา กระจายพันธุยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และประเทศในย่านเขตร้อนและเขตอบอุ่นของโลก ทั่วไป
อย่างแพร่หลายในปี960-1279 ก่อนคริสติ์ศักราชได้มีบันทึกว่าในประเทศจีนมีการ ปลูกกัญชงเพื่อเป็นพืชใช้ทําเส้นใย และในสมัยโรมันได้มีการนําพืชชนิดนี้จากทวีปเอเชีย เข้าไปปลูกในประเทศอิตาลี แลวจากนั้นจึงแพรหลายทั่วไปในทวีปยุโรปและทั่วโลก กัญชงและกัญชา เดิมมีชื่อวิทยาศาสตรเดียวกันคือ Cannabis sativa L. แต่เดิมนักพฤกษศาสตรได้จัดให้ อยู่ในวงศ์ตําแย (Urticaceae) แต่ต่อมาภายหลังพบวามีคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะหลายประการที่ต่างออกไปจาก พืชในกลุ่มตําแยมาก จึงไดรับการจําแนก ออกเป็นวงศ์เฉพาะคือ (Cannabidaceae)ในปีค.ศ. 1998 หรือ พ.ศ. 2541 นี้เอง นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้จําแนก กัญชาและกัญชง ออกจากกันโดยลักษณะทางสัณฐานวิทยา

กัญชา (Marijuana) และกัญชง (Hemp) พืชทั้งสองชนิดเป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดเดียวกันในวงศ์

Cannabaceae ที่อยู่ในตระกูล Cannabis เหมือนกัน ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อยจึงทำให้กัญชงและกัญชามีลักษณะที่คล้ายกัน โดยจะแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ และปริมาณสาระสำคัญกัญชงถูกจัดให้เป็นพืชที่อยู่ในบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ตาม
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เนื่องจากกัญชงเป็นพืชสายพันธุ์ย่อยของกัญชาที่มีสารเสพติดออกฤทธิ์สำคัญที่ชื่อว่า THC (Tetrahydrocannabinol) แต่ในปัจจุบันกัญชาและกัญชงถูกปลดล็อคจากกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ออกประกาศกฎกระทรวงเรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 ให้บางส่วนของต้นกัญชง บางส่วนของต้นกัญชา สารสกัดที่มี CBD (Cannabidiol) เป็นส่วนประกอบและต้องมีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ไม่จัดว่าเป็นยาเสพติด ยกเว้นช่อดอกกัญชง ช่อดอกกัญชา และเมล็ดกัญชาที่ยังคงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อยู่
ในทางการแพทย์ไม่อยากให้สารจากกัญชาเข้าไปสู่ร่างกายโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้แนะนำให้ใช้จำนวนน้อยที่สุด ขณะที่อาหารมีกฎหมายควบคุม เพียงแต่ขอให้ปฏิบัติตาม เช่น กำหนดให้ใส่ใบกัญชา 1-2 ใบ ก็ใส่แค่นั้น อย่าใส่เกิน เพราะอาจได้รับสารมึนเมาเกินขนาด และต้องระวังการใช้ความร้อนในการปรุงด้วย เพราะมีผลต่อการสกัดให้สาร THC เข้มข้นเกิน 0.2% ซึ่งผิดกฎหมาย และย้ำว่าประชาชนอย่าใช้ช่อดอกมาทำอาหารเพราะผิดกฎหมาย