สาระที่ ๑ การอ่าน

มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

หน่วยการเรียนรู้ ๑ จับใจจับตาหาความสำคัญ เรื่อง ๑.๑ การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. /๑ การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

๑. หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

๑.๑ ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจโดยศึกษาสาระสำคัญของเรื่องและข้อความทุกข้อความ เพื่อแบ่งวรรคตอนในการอ่านได้อย่างเหมาะสม

๑.๒ อ่านออกเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง ให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึงกัน ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป

๑.๓ อ่านให้คล่อง ฟังรื่นหูและออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี ชัดถ้อยชัดคำ โดยเฉพาะตัว ร ล หรือ คำควบกล้ำต้องออกเสียงให้ชัดเจน

๑.๔ อ่านออกเสียงให้เป็นเสียงพูดอย่างธรรมชาติที่สุด เน้นเสียงและถ้อยคำตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ ใช้เสียงและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ดุ อ้อนวอน จริงจัง โกรธ

๑.๕ อ่านออกเสียงให้เหมาะกับประเภทของเรื่อง รู้จักใส่อารมณ์เหมาะสมตามเนื้อเรื่อง ขณะที่อ่านควรสบสายตาผู้ฟังในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ

๑.๖ การอ่านในที่ประชุมต้องจับหรือถือบทอ่าน

๒. ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยแก้ว

๒.๑ เข้าใจสาระสำคัญของเรื่อง อารมณ์ และวัตถุประสงค์ของผู้เขียนที่ต้องการสื่อถึงผู้อ่าน

๒.๒ อ่านคำภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขระวิธี ชัดวรรค ชัดถ้อย ชัดคำ โดยเฉพาะคำ ร ล หรือคำควบกล้ำ

๒.๓ แบ่งวรรคตอนในการอ่าน และอ่านเครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง

๒.๔ มีสมาธิในการอ่าน ไม่อ่านผิด อ่านตก อ่านเพิ่ม หรืออ่านผิดบรรทัด กวาดสายตาจากซ้ายไปขวา อ่านไปอีกบรรทัดได้อย่าว่องไวและแม่นยำ

๒.๕ อ่านด้วยน้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ เหมือนเสียงพูด มีลีลาและอารมณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน เน้นคำสำคัญและคำที่ต้องการให้เกิดภาพพจน์

๒.๖ อ่านออกเสียงดังพอประมาณ ไม่ตะโกน หรือเสียงเบาเกินไป ถ้าอ่านออกเสียงผ่านไมโครโฟน ควรยืนให้สง่างาม ปากห่างจากไมโครโฟนพอเหมาะ เพื่อมิให้เสียงหายใจเข้าไมโครโฟน

๒.๗ ในระหว่างที่อ่านควรกวาดสายตาตามตัวอักษร สลับกับการเงยหน้าขึ้นสบตาผู้ฟัง อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติ

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. นักเรียนอธิบายหลักการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

๒. อ่านออกเสียงบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

หน่วยการเรียนรู้ ๑ จับใจจับตาหาความสำคัญ เรื่อง ๑.๒ การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. /๑ การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

๑. หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยกรอง

๑.๑ ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การแบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์เสียงหนักเบา

๑.๒ อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย

๑.๓ อ่านตามบังคับสัมผัส เช่น กัด-ตะ-เว-ที เพื่อให้สัมผัสกับ สัตย์

๑.๔ อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน

๑.๕ อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือเบาจนเกินไป

๑.๖ คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา

๑.๗ มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง หรือหลบเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท

๒. ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

๒.๑ ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น

๒.๒ ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านและขณะกำลังอ่านเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด

๒.๓ ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผันวรรณยุกต์

๒.๔ พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ

๒.๕ หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่าง ๆ อยู่เสมอจึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. นักเรียนอธิบายหลักการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

๒. อ่านออกเสียงบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

หน่วยการเรียนรู้ ๑ จับใจจับตาหาความสำคัญ เรื่อง ๑.๓ การท่องจำบทอาขยาน


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. /๑ การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

๑. ความหมายของบทอาขยาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๔ ให้นิยามคำว่า “อาขยาน” ไว้ว่า บทท่องจำ การบอกเล่า การบอก การสวด เรื่อง นิทาน “อาขยาน” อ่านออกเสียงได้ ๒ อย่าง คือ อา - ขะ - หยาน หรือ อา - ขะ –ยาน

๒. การท่องจำบทอาขยานมีประโยชน์

๑. ช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในเรื่องที่อ่าน

๒. ฝึกการคิดวิเคราะห์และประเมินค่าเรื่องที่อ่าน

๓. เป็นตัวอย่างการใช้ภาษาที่ไพเราะ

๔. ช่วยให้มีคติประจำตัว สอนใจให้ได้ระลึกถึงคุณธรรมที่ได้จดจำ

๕. ช่วยกล่อมเกลาและจรรโลงใจให้มีความประณีตมากขึ้น

๖. เป็นตัวอย่างการแต่งคำประพันธ์ตามรูปแบบที่ได้ท่องจำ

๗. ได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน

๘. สามารถนำไปใช้อ้างอิงในงานต่าง ๆ ได้

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. บอกความหมายของอาขยานได้

๒. อธิบายประโยชน์ของการท่องจำบทอาขยานท่องจำบทอาขยาน เรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร

สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม

มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย

อย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

หน่วยการเรียนรู้ ๑ จับใจจับตาหาความสำคัญ เรื่อง ๑.๔ พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. /๑ สรุปเนื้อหาวรรณคดี วรรณกรรม และวรรณกรรมท้องถิ่นในระดับที่ยากยิ่งขึ้น

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การวิเคราะห์และวิจารณ์คุณค่าของงานวรรณคดีและวรรณกรรม

การวิเคราะห์และวิจารณ์งานประพันธ์เท่าที่พบเห็นทั่วๆไป นักวิจารณ์นิยมพิจารณากว้างๆ ๔ ประเด็น

๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ ความรู้สึกและจินตนาการตามรส ความหมายของถ้อยคำและภาษาที่ผู้แต่งเลือกใช้เพื่อให้มีความหมายกระทบใจผู้อ่าน

๒. คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ แนวความคิดและกลวิธีนำเสนอทั้ง ๒ ประเด็นนี้ จะอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ โดยจะกล่าวควบกันไปทั้งการวิเคราะห์และการวิจารณ์

๓. คุณค่าด้านสังคม วรรณคดีและวรรณกรรมจะสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมและวรรณคดีที่ดีสามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย

๔. การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้อ่านสามารถนำแนวคิดและประสบการณ์จาก เรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. สรุปความรู้และข้อคิดได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่อ่าน

๒. อธิบายการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด

มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึก

ในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

หน่วยการเรียนรู้ ๑ จับใจจับตาหาความสำคัญ เรื่อง ๑.๕ การวิจารณ์ความสมเหตุสมผลและประเมินความถูกต้องของเรื่องที่อ่าน


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. / วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่ฟังและดู เพื่อนำข้อคิดมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

หลักการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมเบื้องต้น

๑. ความหมายของการวิเคราะห์วรรณกรรม การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาตรวจตรา แยกแยะและประเมินค่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ในการนำไปแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นทราบ

๒. แนวในการวิเคราะห์วรรณกรรม

๒.๑ ความเป็นมาหรือประวัติของหนังสือและผู้แต่ง เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ

๒.๒ ลักษณะคำประพันธ์

๒.๓ เรื่องย่อ

๒.๔ เนื้อเรื่อง ให้วิเคราะห์เรื่องในหัวข้อต่อไปนี้

๒.๕ แนวคิด จุดมุ่งหมาย เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง ซึ่งต้องวิเคราะห์ออกมาก

๒.๖ คุณค่าของวรรณกรรม โดยปกติแบ่งออกเป็น ๖ ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง

๓. การวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาองค์ประกอบทุกส่วน โดยวิธีแยกแยะรายละเอียดต่าง ๆ ตั้งแต่ถ้อยคำสำนวน การใช้คำ ใช้ประโยค การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้นให้เห็นว่าน่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิง ยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา การวิจารณ์งานประพันธ์ หมายถึง การพิจารณากลวิธีต่าง ๆ ทุกอย่างที่ปรากฏในงานเขียน ซึ่งผู้เขียนแสดงออกมา อย่างมีชั้นเชิง โดยผู้วิจารณ์จะต้องแสดงเหตุผลที่จะชมเชยหรือชี้ข้อบกพร่องใด ๆ ลงไป

๓.๑ การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์

๓.๒ การวิจารณ์คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ

๓.๓ การพิจารณาคุณค่าด้านสังคม

๓.๔ การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. วิเคราะห์รายละเอียดเรื่องตามความสมเหตุสมผลและการลำดับความ

๒. วิจารณ์ความเป็นไปได้ของเรื่อง

สาระที่ หลักการใช้ภาษาไทย

มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

หน่วยการเรียนรู้ ๑ จับใจจับตาหาความสำคัญ เรื่อง ๑.๖ ระดับของภาษา


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. / วิเคราะห์ระดับภาษา

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ระดับของภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสารระดับภาษาสามารถจำแนกตามประเภทของการใช้ได้ ดังนี้

๑. ภาษาระดับพิธีการ

๒. ภาษาระดับทางการ หรือ อาจเรียกว่า ภาษาทางการ / ภาษาราชการ

๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ

๔. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ

๕. ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. ใช้ภาษาสื่อสารได้ถูกต้องตามระดับ

สาระที่ ๒ การเขียน

มาตรฐาน ท .๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

หน่วยการเรียนรู้ ๑ จับใจจับตาหาความสำคัญ เรื่อง ๑.๗ การเขียนคำขวัญ


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. / เขียนข้อความโดยใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องตามระดับภาษา

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การเขียนคำขวัญให้น่าสนใจ ควรคำนึงในประเด็นต่อไปนี้

๑. ใช้ถ้อยคำสั้น กะทัดรัด มีความหมายลึกซึ้ง ใช้คำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน ๑๖ คำ แบ่งเป็นวรรคได้ตั้งแต่ ๑-๔ วรรค

๒. เขียนให้ตรงจุดมุ่งหมาย แสดงความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเด่นชัดหรือมีใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว เพื่อให้จำง่าย

๓. จัดแบ่งจังหวะคำสม่ำเสมอ

๔. เล่นคำทั้งเสียง และสัมผัสและการซ้ำคำ ช่วยให้จำง่าย

๕. เป็นคำตักเตือนให้ปฏิบัติในทางที่ดี

จุดประสงค์การเรียนรู้

เขียนคำขวัญสร้างสรรค์ตามหัวข้อที่กำหนดได้

สาระที่ ๑ การอ่าน

มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

หน่วยการเรียนรู้ ๒ พิถีพิถันสร้างสรรค์ความคิด เรื่อง ๒.๑ คำที่มีความหมายโดยตรงและโดยนัย


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. / ระบุความแตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การใช้คำและกลุ่มคำ

คำเป็นสารที่ผู้พูดหรือผู้เขียนเจตนาสื่อไปยังผู้ฟังหรือผู้อ่าน คำทุกคำจึงมีความหมาย ซึ่งอาจจะมีความหมายโดยตรง และคำที่มีความหมายโดยนัย

(เชิงเปรียบเทียบ หรือ นัยประหวัด)

๑. คำที่มีความหมายโดยตรง หมายถึง คำที่มีความหมายตามตัวอักษร ตัวอย่างคำที่มีความหมายโดยตรง เช่น กิน เคี้ยว และกลืนลงกระเพาะ

๒. คำที่มีความหมายโดยนัย หมายถึง คำที่มีความหมายไม่ตรงตามความหมายตามตัวอักษร แต่มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ส่งสารมีเจตนาส่งไปยังผู้รับเพื่อตีความเชิงเปรียบเทียบเองตัวอย่างคำที่มีความหมายโดยนัย เช่น กิน ฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือคอรัปชั่น

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อธิบายความหมายของคำที่มีความหมายโดยตรง และโดยนัย

๒. แปลความตีความ และใช้คำได้ถูกต้องตรงความหมาย

หน่วยการเรียนรู้ ๒ พิถีพิถันสร้างสรรค์ความคิด เรื่อง ๒.๒ ใจความสำคัญและข้อมูลสนับสนุน


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. / ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของข้อมูลที่สนันสนุนจากเรื่องที่อ่าน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

๑. ความหมายการอ่านจับใจความสำคัญ

การอ่านจับใจความสำคัญ คือ การอ่านโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บสาระสำคัญ ความรู้ ข้อมูลที่น่าสนใจและแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียนของเรื่องที่อ่าน

๒. การพิจารณาใจความสำคัญ

๒.๑ อยู่ในตำแหน่งต้นของย่อหน้าและมีรายละเอียดวางอยู่ในตำแหน่งถัดไป

๒.๒. อยู่ในตำแหน่งท้ายของย่อหน้า โดยกล่าวถึง รายละเอียดต่างๆ อย่างคลุมๆ ไว้ก่อนในตอนต้น

๒.๓ อยู่ในตำแหน่งต้นและท้ายย่อหน้า มีรายละเอียดอยู่ตรงกลาง

๒.๔ อยู่ในตำแหน่งกลางย่อหน้า มีรายละเอียดอยู่ตอนต้นกับตอนท้าย

๓. วิธีค้นหาใจความ

๓.๑ อ่านชื่อเรื่องทุกถ้อยคำ ทำความเข้าใจความหมายก่อนที่จะอ่านเนื้อเรื่อง

๓.๒ อ่านละเอียดทีละย่อหน้า เมื่ออ่านจบแต่ละย่อหน้าให้หาประโยคสำคัญของย่อหน้า

๓.๓ จดบันทึกประโยคสำคัญของแต่ละย่อหน้าลงสมุด

๓.๔ อ่านละเอียดประโยคสำคัญที่บันทึกไว้โดยเทียบเคียงกับเนื้อเรื่องที่อ่านทั้งหมด

๓.๕ นำประโยคสำคัญทั้งหมดที่บันทึกไว้มาเขียนเรียงลำดับให้เป็นใจความ

๓.๖ อ่านละเอียดใจความที่ปรับภาษาเพื่อความถูกต้องชัดเจน

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อธิบายความหมายการจับใจความสำคัญ และข้อมูลสนับสนุนจากเรื่องที่อ่านได้

๒. อ่านเรื่องต่าง ๆ แล้วสามารถจับใจความสำคัญ

๒.๒ ใจความสำคัญและข้อมูลสนับสนุน

๒.๒ ใจความสำคัญและข้อมูลสนับสนุน

หน่วยการเรียนรู้ ๒ พิถีพิถันสร้างสรรค์ความคิด เรื่อง ๒. คุณค่าวรรณกรรม


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. / ตีความและประเมินคุณค่าแนวคิดที่ได้จากงานเขียนอย่างหลากหลาย เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาชีวิต

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

๑. การอ่านประเมินคุณค่า

การอ่านประเมินคุณค่า เป็นขั้นตอนการอ่านที่ต่อเนื่องจากการอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์ เนื่องจากเป็นการอ่านเพื่ออธิบายลักษณะของงานเขียนหรือสารที่อ่านว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร มีคุณค่าหรือมีข้อบกพร่องอย่างไร

๒. แนวทางการอ่านประเมินคุณค่า

๒.๑ พิจารณาเนื้อหาและองค์ประกอบของเนื้อหา ว่าเนื้อหาของสิ่งที่อ่านมีองค์ประกอบใดบ้าง เพื่อแยกแยะว่าแต่ละส่วนมีลักษณะอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร

๒.๒ พิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ เป็นการพิจารณาถึงการใช้ภาษาและความงามทางภาษาในงานเขียน ว่างานเขียนนั้น มีการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับเนื้อหา มีความไพเราะงดงาม และมีการใช้เสียงและความหมายที่ช่วยให้เกิดจิตนาการในการอ่านได้มากเพียงใด

๒.๓ พิจารณาแนวคิด เป็นการพิจารณาว่าผู้เขียนนำเสนอเรื่องราวใด มีแง่คิดใดบ้างที่มีคุณค่า มีการเสนอแนวทางในการนำเสนอข้อมูลแนวคิดที่ดีที่มีคุณค่าไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร งานเขียนชิ้นหนึ่งๆ

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อธิบายแนวทางในการอ่านประเมินคุณค่าได้

๒. ประเมินคุณค่าวรรณกรรมได้

สาระที่ การเขียน

มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

หน่วยการเรียนรู้ ๒ พิถีพิถันสร้างสรรค์ความคิด เรื่อง ๒.๔ การเขียนย่อความ


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. / เขียนย่อความ

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ความหมายการย่อความ

การย่อความ เป็นการจับใจความสำคัญของเรื่อง แล้วนำใจความสำคัญของเรื่องมาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นสำนวนภาษาของผู้ย่อเอง โดยเขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบของย่อความ

หลักการย่อความ

๑. การเขียนคำนำในย่อความ

๑.๑ ย่อความจากบทร้อยกรอง

๑.๒ ย่อความจากความเรียงร้อยแก้ว

๑.๓ ย่อความจากประกาศ แจ้งความ แถลงการณ์

๑.๔ ย่อความจากพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท

๑.๕ ย่อความที่เป็นจดหมาย

๑.๖ ย่อความจากหนังสือราชการ

๒. การย่อเนื้อเรื่อง

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อธิบายหลักการเขียนย่อความจากเนื้อหาหลากหลายประเภทแปลความตีความ และใช้คำได้ถูกต้องตรงความหมาย

๒. เขียนย่อความได้ถูกต้องตามหลักการย่อความ