สาระที่ ๑ การอ่าน

มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ พื้นฐานอ่านเขียน เรื่อง ๑.๑ การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว


ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ม. ๑/๑ อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว เป็นการอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน และมีลีลาการอ่านเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง ทำให้เกิดความคล้อยตามไปกับเรื่องราวหรือบทประพันธ์ที่อ่าน

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อธิบายความหมายของการอ่านออกเสียงได้

๒. อธิบายหลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้

๓. อ่านร้อยแก้วได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเรื่องอ่าน

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ พื้นฐานอ่านเขียน เรื่อง ๑.๒ บทอาขยาน


ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ม. ๑/๑ อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การท่องจำหรือท่องบทอาขยาน เป็นการอ่านออกเสียงที่อาศัยความจำโดยไม่ดูบทอ่านต้องใช้ความสามารถในการจำบทท่องจำ อ่านให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์และทำนองเสนาะของบทร้อยกรองนั้นๆ สอดคล้องกับอารมณ์ในบทอ่าน โดยอ่านให้ไพเราะถูกต้องคล่องแคล่วเกิดภาพพจน์ได้รสได้อารมณ์

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อธิบายความหมายและประเภทของบทอาขยานได้

๒. อธิบายหลักการท่องบทอาขยานได้

๓. ท่องจำบทอาขยานได้

สาระที่ ๑ การเขียน

มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ พื้นฐานอ่านเขียน เรื่อง ๑.๓ การคัดลายมือ


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. ๑/๑ คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การคัดลายมือมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาไปสู่ทักษะการเขียน และแสดงให้เห็นถึงความภาคภูมิใจ ศรัทธา และรักการเขียนภาษาไทยอันเป็นมรดกและภาษาประจำชาติของไทย

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อธิบายลักษณะของการคัดลายมือ

สาระที่ ๑ การอ่าน

มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ พื้นฐานอ่านเขียน เรื่อง ๑.๔ การอ่านจับใจความสำคัญ


ตัวชี้วัด ท .๑ ม. ๑/ จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การอ่านจับใจความสำคัญเป็นทักษะการอ่านที่ควรฝึกฝน ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้อย่างรวดเร็วและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการอ่านที่ดี

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. มีความรู้ความเข้าใจหลักการอ่านจับใจความสำคัญ

๒. จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ พื้นฐานอ่านเขียน เรื่อง ๑.ระบุข้อสังเกตงานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ


ตัวชี้วัด ท .๑ ม.๑/๓ ระบุเหตุและผล และข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน

ม.๑/๕ ตีความคำยากในเอกสารวิชาการโดยพิจารณาจากบริบท

ม.๑/๖ ระบุข้อสังเกตและความสมเหตุสมผลของงานเขียนประเภทชักจูงโน้มน้าวใจ

ม.๑/๗ ปฏิบัติตามคู่มือแนะนำวิธีการใช้งานของเครื่องมือ หรือเครื่องใช้ในระดับที่ยากขึ้น

ม.๑/๕ วิเคราะห์คุณค่าที่ได้รับจากการอ่านงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต

ม.๑/๙ มีมารยาทในการอ่าน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

งานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ เป็นการเขียนเพื่อให้ผู้อ่าน เมื่ออ่านแล้ว เกิดความคิดคล้อยตาม อยากทำตามหรืออยากปฏิบัติตามที่ผู้เขียนได้เขียนไว้

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. บอกความหมายของการโน้มน้าวใจ

๒. บอกข้อสังเกตงานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ

๓. ระบุหรือจำแนกข้อสังเกตและความสมเหตุสมผลของงานเขียนประเภทโน้มน้าวใจได้

สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย

มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ พื้นฐานอ่านเขียน เรื่อง ๑.๖ เสียงในภาษาไทย (เสียงสระ) ๑. เสียงในภาษาไทย (พยัญชนะ) ๑. เสียงในภาษาไทย (วรรณยุกต์)


ตัวชี้วัด ท .๑ ม.๑/ อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพื่อสนองความต้องการต่าง ๆ เช่น เพื่อขอความช่วยเหลือ เพื่อขอความรู้ เพื่อแสดงความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อธิบายความหมายของเสียงในภาษาไทยได้

๒. อธิบายที่มาของเสียงในภาษาไทยได้

๓. อธิบายชนิดของเสียงในภาษาไทยได้

๔. อธิบายตำแหน่งของสระในภาษาไทยได้

๕. จำแนกสระในภาษาไทยได้

๖. อธิบายความหมายเสียงพยัญชนะในภาษาไทยได้

๗. อธิบายลักษณะของเสียง พยัญชนะในภาษาไทยได้

๘. มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย

๙. อธิบายความสำคัญของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ พื้นฐานอ่านเขียน เรื่อง ๑.๙ ไตรยางศ์ เรื่อง ๑.๑๐ การผันวรรณยุกต์


ตัวชี้วัด ท .๑ ม.๑/๑ อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ไตรยางค์ คือ การแบ่งพยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัว ออกเป็น ส่วน ซึ่งเรียกว่า “ อักษรสามหมู่” โดยอักษรสามหมู่ประกอบด้วย อักษรสูง อักษรกลาง และ

อักษรต่ำ

ลักษณะของเสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย เสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ คำแต่ละคำจะประกอบด้วยเสียงทั้งสามชนิด ซึ่งเสียงนี้ทำให้แยกความหมายของคำได้ การออกเสียงภาษาไทยจึงควรออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน เพื่อให้การสื่อสารสามารถสื่อความได้เข้าใจถูกต้องตรงกัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. อธิบายความสำคัญของไตรยางค์ได้

๒. จำแนกอักษรสามหมู่ได้

๓. อธิบายวิธีการผันวรรณยุกต์

๔. สามารถผันวรรณยุกต์ของคำในภาษาไทยได้