ประเพณีแข่งเรือยาว

ชาวอำเภอปากคาด สืบสานประเพณีแข่งเรือยาวก่อนวันออกพรรษา

ชาวอำเภอปากคาด ร่วมกันจัดกิจกรรมแข่งขันเรือยาว ประเพณีไทย-ลาว ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 13 ปี 2565 สืบสานประเพณีก่อนวันออกพรรษา ณ แม่น้ำโขง ริมฝั่งเทศบาลตำบลปากคาด อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งได้รับความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันจากฝีพายทั้งชาวไทย และชาวลาวจำนวนมาก

บรรยากาศยามเช้าเต็มไปด้วยความคึกคักประชาชนเฝ้าชมขบวนแห่อัญเชิญถ้วยพระราชทาน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี มีการจัดแสดงดนตรีลูกทุ่ง การจัดจำหน่ายสินค้า OTOP ของดีปากคาด ของกินและสินค้าต่างๆมากมาย

โดยจุดที่มีการแข่งขันเรือยาว เป็นจุดที่มีบั้งไฟพญานาคขึ้นมากที่สุดในจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งประชาชนชาวอำเภอปากคาด เตรียมพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึงแล้ว และคาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

และตำบลสมสนุก ตำบลนากั้งก็มีประเพณีการจัดแข่งเรือเล็กประเภท 5-10 ฝีพายด้วยทุกปีเช่นกัน



งานแข่งขันเรือยาว ประเพณีไทย-ลาว ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 13 ปี 2565 ในวันที่ 1 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขงติดลานพญานาค เทศบาลตำบลปากคาด อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ

ประเภท 50-55 ฝีพาย และเรือยาวขนาดกลาง 25-30 ฝีพาย ภายในงานการแข่งขันเรือยาว พบกับเรือดังนี้

-เทพนครเดื่อ

-หนุ่มตังค์เซ็นต์

-เจ้าแม่คำไหล(ศรีษะเกษ)

-สิงห์อีสาน

-เจ้าแม่บัวลอย

-ไกรทอง (สปป.ลาว)

-เจ้าวรวงค์ (สปป.ลาว)

-เทพสอนไช (สปป.ลาว)

และเรือชื่อดัง อื่นๆ อีกมากมาย

งานแข่งเรือประเพณี ณ วัดทุ่งสว่างท่าวารี บ้านสมสนุก ตำบลสมสนุก อำเภอปากคาด จังหวัดบังกาฬ



งานแข่งเรือประเพณี ณ วัดทุ่งสว่างท่าวารี บ้านสมสนุก ตำบลสมสนุก อำเภอปากคาด จังหวัดบังกาฬ



งานแข่งเรือประเพณี ณ วัดทุ่งสว่างท่าวารี บ้านสมสนุก ตำบลสมสนุก อำเภอปากคาด จังหวัดบังกาฬ



ประเพณีลอยกระทง

ตำนานและความเชื่อ เรื่องแรกว่ากันว่า การลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง กล่าวคือ ก่อนที่พระพุทธองค์ จะตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง นางสุชาดา อุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส (ข้าวกวน/หุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย เมื่อพระองค์ เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำด้วยแรงสัตยาธิษฐานและบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล แล้วก็จมไปถูกขนดหาง พระยานาคผู้รักษาบาดาล พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า บัดนี้ ได้มีพระสัมมา สัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลาย และพระยานาคก็พากันไปเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อพวกเขา จะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของ ทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอมและดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำเพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำ เสมอมา และต่อ ๆ มาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทงตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน