เวลาโลก

การแบ่งเขตเวลาของโลก

1. ระบบเวลาบนพื้นโลก

พื้นที่ในภูมิภาคต่างๆของโลก มีช่วงเวลา เช้า สาย บ่าย เย็นและกลางคืนไม่ตรงกันเกิดจากสาเหตุสำคัญ คือ

1.1 โลกมีสัณฐานทรงกลม พื้นผิวโลกจึงได้รับแสงอาทิตย์ไม่พร้อมกัน

1.2 โลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ( มองจากขั้วโลกมีลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ) ทำให้พื้นที่ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเห็นดวงอาทิตย์ก่อน ( หรือสว่างก่อน )

2. ลองติจูด ( หรือเส้นเมริเดียน) กับระบบเวลาบนพื้นโลก ลองติจูดหรือเส้นเมริเดียน มีความสัมพันธ์กับระบบเวลาบนพื้นโลก ดังนี้

2.1 เวลาปานกลางกรีนิช ( G M T )

2.2 เส้นวันที่สากล ( Date Line )

2.3 เขตเวลามาตรฐานของโลก ( Standard Time Zone )

2.4 เวลาท้องถิ่น ( Local Time )

2.5 เวลามาตรฐานสากล ( Standard Time )

3. ความสำคัญของลองติจูดหรือเส้นเมริเดียน

3.1 เส้นเมริเดียน คือเส้นสมมติที่ลากจากขั่วโลกเหนือไปจรดขั้วโลกใต้ กำหนดให้ทุกเส้นห่างกัน 1 องศาลองติจูด ทรงกลมของโลกมี 360 องศา ดังนั้นจึงมีเส้นเมริเดียน 360 เส้น

3.2 โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ หรือ 360 องศา ใช้เวลา 24 ชั่วโมง การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้ดินแดนประเทศต่างๆเกิดเวลากลางวันและเวลากลางคืน

3.3 เวลา 1 ชั่วโมง ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะเคลื่อนจากเส้นเมริเดียนไป 15 องศา ลองติจูด โดยลองติจูดด้านตะวันออกจะได้รับแสงอาทิตย์ก่อนด้านตะวันตก ดังนั้นเวลาขงองซีกโลกตะวันออกจึงเร็วกว่าด้านตะวันตก

3.4 ระยะลองติจูดห่างกัน 1 องศา เวลาต่างกัน 4 นาที

เวลา 24 ชั่วโมง

โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ

360 องศา

เวลา 24 ชั่วโมง

โลกหมุนไปได้

15 องศา

ทุกๆ 15 องศา

เวลาต่างกัน

1 ชั่วโมง

ทุกๆ 1 องศา

เวลาต่างกัน

4 นาที

สรุป ทุกๆ 15 องศาลองติจูด เวลาจะต่างกัน 1 ชั่วโมง ดังนั้นประเทศต่างๆจึงมีเวลาท้องถิ่นแตกต่างกันด้วย ทำให้ต้องมีการจัดระบบเวลาบนพื้นที่ต่างๆของพื้นที่ผิวโลก ได้แก่ เวลาท้องถิ่น และเวลามาตรฐานสากล

4. เวลาปานกลางกรีนิช ( GMT )

เวลาปานกลางกรีนิช ( Greenwich Mean Time : GMT ) คือเวลาท้องถิ่นของตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเส้นเมริเดียนแรก ( 0 องศา ) ลากผ่าน ถูกกำหนดให้เป็นเวลามาตรฐานสากลที่ประเทศต่างๆใช้อ้างอิง หรือใช้เทียบเคียงเพื่อกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศตน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เวลาสากล ( Unversal Time )

ตัวอย่าง เวลา 20.00 น ของประเทศไทย ตรงกับ 13.00 น ตามเวลาปานกลางกรีนิชหรือเวลามาตรฐานสากลกรีนิช เพราะเวลาประเทศไทยเร็วกว่าเวลาปานกลางกรีนิช 7 ชั่วโมง

5. เส้นวันที่ ( Date line )

5.1 เส้นวันที่ เส้นวันที่สากลหรือเส้นแบ่งวันสากล (International Date Line ) คือเส้นสมมติที่ลากทับเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาลองติจูด ซึ่งนานาชาติกำหนดให้เป็นเส้นวันที่ หรือเส้นแบ่งวันสากล เมื่อเดินทางข้ามเส้น

นี้จะต้องเปลี่ยนแปลงวันหรือวันที่ทันที

* เส้นวันที่หรือเส้นแบ่งวันสากล ไม่ลากผ่านแผ่นดินและไม่เป็นเส้นตรงเหมือนเส้นเมริเดียนแต่จะวกไปมาตามแนวเขตการปกครองของประเทศต่างๆ

5.2 ข้ามเส้นแบ่งวันสากลไปทางทิศตะวันตก จะต้องเพิ่มวัน 1 วัน ถ้าเดินทางจากดินแดนด้านตะวันออกของเส้นแบ่งวันสากล ข้ามเส้นนี้ไปยังดินแดนด้านตะวันตกจะต้องเพิ่มวันอีก 1 วัน

5.3 ข้ามเส้นแบ่งวันสากลไปทางตะวันออก จะต้องลดลง 1 วัน ถ้าเดินทางจากดินแดนด้านตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ข้ามเส้นนี้ไปยังดินแดนด้านตะวันออกจะต้องลดเวลาลง 1 วัน

6. เขตเวลามาตรฐานของโลก ( Standard Time Zone )

6.1 เขตเวลามาตรฐานของโลก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขตภาคเวลา ( Time Zone ) คือ เวลาที่กำหนดขึ้นใช้ในเขตภาคเวลาต่างๆทั่วโลก มีทั้งหมด 24 เขต ทุกเขตภาคเวลามีระยะลองติจูดห่างกัน 15 องศา และทุกๆ 15 องศาลองติจูด เวลาจะเปลี่ยนไป 1 ชั่วโมง

6.2 เส้นเมริเดียนแรก 0 องศาลองติจูด ที่ตำบลกรีนิช เป็นแนวแบ่งเส้นเมริเดียนตะวันตกและเส้นเมริเดียนตะวันออก ซีกละ 180 องศาลองติจูด

6.3 เส้นเมริเดียนมาตรฐาน ( Standard Meridian ) คือเส้นเมริเดียนที่มีระยะห่างกัน 15 องศาลองติจูด ทั้งด้านตะวันตกและด้านตะวันออก ได้แก่

- เส้นเมริเดียน 0 , 15 , 30 , 45 , 60 , 75 , 90 , 105 , 12น , 135 , 150 , 165 ,และ180 องศาลองติจูด ทุกๆเส้นเป็นตัวกำหนดเวลามาตรฐานของแต่ละเขต ดังนั้นจึงเรียกว่า เส้นเวลามาตรฐาน

- เส้นเมริเดียนมาตรฐานแต่ละเส้นมีเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง เพราะทุกเส้นอยู่ห่างกัน 15 องศาลองติจูด

6.4 เขตเวลามาตราฐานของโลก มี 24 เขต เวลาของซีกตะวันออกเร็วกว่าตะวันตก

- เส้นเมริเดียนซีกตะวันออก เวลาจะเร็วกว่าเวลากรีนิช องศาละ 4 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ต่อ 15 เส้นเมริเดียน ( 15 X 4 = 60 )

- เส้นเวลาเมริเดียนซีกตะวันตก เวลาจะช้ากว่าเวลาที่กรีนิช องศาละ 4 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ต่อ 15 เส้นเมริเดียน

ในสมัยโบราณมนุษย์เราใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลักในการบอกเวลา โดยกำหนดว่าถ้าเห็นดวงอาทิตย์ ปรากฎอยู่บนท้องฟ้าจะเป็น

เวลากลางวัน แต่ถ้าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าหายไปก็จัดว่าเป็นเวลากลางคืน ชาวอียิปต์โบราณได้ประดิษฐ์นาฬิกาแดดขึ้นโดยใช้เข็มปักตรงแนวดิ่งบนพื้นดิน ความยาวของเงาของเข็ม เป็นตัวที่จะบอกถึงฤดูกาลต่าง ๆ ได้ โดยเงาของเข็มจะปรากฎยาวที่สุดในฤดูหนาวและความยาวของเงา จะสั้นที่สุดในฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาที่เงาของเข็มสั้นที่สุด 2 ครั้งติดต่อกันจะเป็นจำนวนวันทั้งหมดใน 1 ปี

ต่อมามีการประดิษฐ์นาฬิกาน้ำขึ้นเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งนาฬิกาน้ำสามารถบอก เวลาได้ทั้งกลางวันและกลางคืน จนปัจจุบันนี้มนุษย์สามารถประดิษฐ์นาฬิกาควอตซ์โดยอาศัยหลักการสั่นของ อะตอมซีเซียม โดยนาฬิกาควอตซ์นี้มีความเที่ยงตรงมาก มีความผิดพลาดประมาณ 1 วินาทีใน 1,000 ปี การที่เวลาบนโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป เพราะโลกมีการหมุนรอบตัวเองอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิด กลางวัน กลางคืน โดยโลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบใช้เวลา 24 ชั่วโมงหรือ 1 วันแสดงว่าในเวลา 24 ชั่วโมงโลกหมุนไปได้ 360o หรือ 360 เส้นลองจิจูด ดังนั้นเมื่อโลกหมุนไป 1 เส้นลองจิจูดจะใช้เวลา 4 นาที โดยคิดได้จากเส้นลองจิจูด 360 เส้น โลกใช้เวลาเคลื่อนที่ = 24 ชั่วโมง

เส้นลองจิจูด 1 เส้น โลกใช้เวลาเคลื่อนที่ = 24/360 ชั่วโมง = 1/15 ชั่วโมง

= 1/15 x 60 นาที = 4 นาที

ในปี พ.ศ.2427 ที่ประชุมคองเกรสดาราศาสตร์ ได้กำหนดเวลาบนโลกเป็นระบบเวลาเขต (Zone time) หรือเวลามาตรฐาน

(Standard time)โดยกำหนดเส้นลองจิจูดซึ่งอยู่ห่างกันช่วงละ เป็น 1 เขตเวลา คือ เส้นลองจิจูดที่

ที่อยู่ในทางทิศตะวันออกและ ทิศตะวันตกของเส้นไพร์มเมอริเดียนเป็นเส้นลองจิจูดมาตรฐานที่นำมาใช้ใน การแบ่งเขตเวลาทิศตะวันตกของเส้นไพร์มเมอริเดียนเป็นเส้นลองจิจูดมาตรฐาน ที่นำมาใช้ในการแบ่งเขตเวลามาตรฐานทั่วโลก โดยให้บริเวณพื้นที่ที่อยู่ห่างจากเส้นลองจิจูด

มาตรฐานไปทางทิศตะวันออก และไปทางทิศมาตรฐานที่เส้นลองจิจูดมาตรฐาน ตะวันออก ประเทศที่ตั้งอยู่บนเส้นลองจิจูด

มาตรฐานที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองกรีนิซหรือเส้นไพร์มเมอริเดียนจะมีเวลาช้ากว่าเวลามาตรฐานสากลและประเทศที่ตั้งอยู่ บนเส้นลองจิจูดมาตรฐานที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองกรีนิซจะมีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากล

เวลามาตรฐานสากลของโลกหรือ Greenwich Mean Time (GMT) อยู่ที่ตำบลกรีนิซประเทศอังกฤษ ที่ลองจิจูด มี

การนับเวลาเป็น 2 ช่วงดังแผนภาพ

ดังนั้นจากข้อตกลงดังกล่าวนี้ทำให้เวลามาตรฐานของประเทศต่าง ๆ ในโลกแบ่งออกเป็น 24 เขต และเส้นลองจิจูดมาตรฐาน

ตะวันออกและ ตะวันตก จะเป็นเส้นเดียวกันเรียกว่าเส้นแบ่ง เขตวัน International dateline ถ้านักเรียนเดินทางผ่านเส้น

เขตวันไปทางทิศตะวันออก เวลาจะช้าลง 1 วัน และถ้านักเรียนเดินทางผ่านเส้นเขตวันไปทางทิศตะวันตก เวลาจะเร็วขึ้น 1 วัน

1. จำนวนเขตเวลามาตรฐานของโลกแบ่งออกเป็น24เขตแต่ละเขตใช้เวลามาตรฐานที่เส้นลองจิจูดมาตรฐานนั้นๆ ซึ่งเส้นลองจิจูดมาตรฐานนั้น ๆ ซึ่งเส้นลองจิจูดบางเส้นจะโค้งงอ ไม้ตรง ก็เพื่อสะดวกในการนับเวลาของพื้นที่ต่าง ๆ

2. ลักษณะของพื้นที่ของประเทศต่าง ๆ บนแผนภาพ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

2.1 เป็นพื้นที่ที่แรเงาหนาทึบ เป็นพื้นที่ไม่นับเวลาตามเวลาเขต เช่น พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะกรีนแลนด์

2.2 เป็นพื้นที่ที่เป็นเส้นทะแยง เป็นพื้นที่ที่นับเวลาตามเวลาเขตแต่เร็วกว่าเวลาเขต 30 นาที เช่น อินเดีย มาเลเซีย เป็นต้น

2.3 เป็นพื้นที่ที่เป็นจุด ๆ และเป็นเส้นขวางจัดเป็นพื้นที่ที่นับเวลาตามเวลาเขต

3. ตัวเลข +12 +11 +10 + ... 0 ... -10 -11 -12 เป็นตัวเลขที่ใช้บอกเวลาที่ช้ากว่า หรือเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากลของเขตนั้น ๆ คิดเป็นชั่วโมงเช่นที่เมืองกรีนิซเป็นเวลา 12.00 น. เวลาของเส้นลองจิจูดมาตรฐาน ตะวันออก จะเป็นเวลา 16.00 น. หรือเร็วกว่าเวลามาตรฐาน กรีนิซ 4 ชั่วโมง ดังนี้

12.00 น. - 16.00 น. = - 4ชั่วโมง

หรือเวลาเขตของเส้นลองจิจูดมาตรฐาน ตะวันตก จะเป็นเวลา 8.00 น.หรือช้ากว่าเวลามาตรฐานกรีนิซ 4 ชั่วโมง ดังนี้

12.00 น. - 8.00 = +4 ชั่วโมง

4. สมมติให้เวลามาตรฐานกรีนิซเป็นเวลา 12.00 น. เวลาของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเส้นขวางและอยู่ในเขตเวลาของ

เส้นลองจิจูดมาตรฐาน ดังนั้นเวลาของประเทศไทยจะต้องนับเวลา ตามเขตคือ เร็วกว่ามาตรฐานกรีนิซ 7 ชั่วโมง คือเวลาของประเทศ

ไทยจะเป็น 12.00 น. + 7 ชั่วโมง = 19.00 น.

5. สมมติให้เวลามาตรฐานกรีนิซเป็นเวลา 12.00 น.เวลาของประเทศออสเตรเลียแบ่งพื้นที่ในการนับเวลาออกเป็น 3 ส่วน คือ

5.1 พื้นที่ทางทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ที่เป็นจุด ๆ และอยู่ในเขตเวลาของเส้นลองจิจูดมาตรฐาน 120๐ ดังนั้นพื้นที่

ส่วนนี้จึงต้องนับเวลาตามเขตคือ เร็วกว่ามาตรฐานกรีนิซ 8 ชั่วโมง

ดังนั้นเวลาของพื้นที่ส่วนนี้คือ 12.00 น. + 8 ชั่วโมงคือ 20.00 น.

5.2 พื้นที่ส่วนกลางเป็นส่วนที่เป็นเส้นทะแยงและอยู่ในเขตเวลาของเส้นลองจิจูดมาตรฐาน 135o ดังนั้นพื้นที่

ส่วนนี้จึงต้องนับเวลาตามเขตคือ เร็วกว่ามาตรฐานกรีนิซ 9 ชั่วโมงและเพิ่มขึ้นอีก 30 นาที

ดังนั้นเวลาของพื้นที่ส่วนนี้คือ 12.00 น. + 9 ชั่วโมง + 30 นาทีคือ 21.30 น.

5.3 พื้นที่ทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ที่เป็นจุด ๆ และอยู่ในเขตเวลาของเส้นลองจิจูดมาตรฐาน 150o และบาง

ส่วนของ เส้นลองจิจูด 135o ดังนั้นเวลาของพื้นที่ส่วนนี้จึงนับเวลาตามเขต คือ เร็วกว่ามาตรฐานกรีนิซ 10 ชั่วโมง

ดังนั้นเวลาของพื้นที่ส่วนนี้คือ 12.00 น. + 10 ชั่วโมงคือ 22.00 น

6. สมมติให้เวลามาตรฐานกรีนิซเป็นเวลา 12.00 น. เวลา ณ บริเวณลองจิจูดมาตรฐาน 180o ตะวันออก และ 180o ตะวันตก

ซึ่งเป็นเส้นเดียวกันจะมีเวลาเร็วหรือช้ากว่าเวลามาตรฐานกรีนิซ 12 ชั่วโมง

ดังนั้นเวลาของเส้นลองจิจูด 180o คือ 12.00 น.+ 12 ชั่วโมง คือ 0 หรือ 24.00 น.

6.1 ถ้าเดินทางจากประเทศไทย--->วอชิงตัน--->โตเกียว ในขณะที่ผ่านเส้นลองจิจูด 180o วันจะเพิ่มขึ้น 1 วัน

6.2 ถ้าเดินทางจากประเทศไทย--->โตเกียว--->วอชิงตัน ในขณะผ่านเส้นลองจิจูด 180o วันจะลดลง 1 วัน

7.เนื่องจากแกนของโลกเอียงเป็นมุม 23.5o ดังนั้นขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวง อาทิตย์ จึงเป็นสาเหตุให้พื้นที่บนโลกบางตำแหน่งที่อยู่บนเส้นลองจิจูดเดียวกันอาจมีความมืดและความสว่าง แตกต่างกันได้(นักเรียนลองฉายแผ่นใสเรื่องเวลาบนโลกดูส่วนมืดและส่วนสว่างอีกครั้งหนึ่ง)

8.พื้นที่บางแห่งบนโลกที่อยู่ในเขตเวลาเดียวกันแต่อาจจะใช้เวลามาตรฐานแตกต่างกันได้

ตัวอย่างการคำนวณเวลามาตรฐานของโลก

ตัวอย่างที่ 1 ตำแหน่ง A อยู่ที่ละติจูด 20๐ เหนือ และลองจิจูด 105๐ ตะวันออก ตำแหน่ง B อยู่ที่ละติจูด 20๐ ใต้ และลองจิจูด 105๐ตะวันตก ถ้าเวลาที่ตำแหน่ง A เป็นวันที่ 10 กรกฎาคม เวลา 10.00 น. เวลาที่ตำแหน่ง B ขณะนั้นเป็นเท่าใด

วิธีทำ ตำแหน่ง A อยู่บนเส้นลองจิจูด 105๐ ตะวันออก ส่วนตำแหน่ง B อยู่บนเส้นลองจิจูด 105๐ ตะวันตกแสดงว่าตำแหน่งทั้งสอ

อยู่ห่างจากกัน 105๐ + 105๐ = 210๐

ลองจิจูดห่างกัน 15๐ เวลาจะต่างกัน 1 ชั่วโมง

ลองจิจูดห่างกัน 210๐ เวลาจะห่างกัน 1 x 210/15 = 14 ชั่วโมง

ตอบ ตำแหน่ง B เป็นเวลา 20.00 น. วันที่ 9 กรกฎาคม

ตัวอย่างที่ 2 บ้านของนาย ก ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครบนเส้นลองจิจูด 100.5๐ ตะวันออก เมื่อสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประกาศเวลามาตรฐานกรีนิชเป็นเวลา 01.00 น.ของวันจันทร์ ประเทศไทยตั้งอยู่ที่ลองจิจูด 105๐ ตะวันออก นาย ก ควรตั้งนาฬิกาข้อมือของเขาให้สอดคล้องกับเวลามาตรฐานขณะนั้นเท่ากับเท่าไร

วิธีทำ สำหรับประเทศไทยไม่ว่าจะอยู่บนเส้นลองจิจูดใดให้ใช้เวลามาตรฐานที่เส้นลองจิจูด 105๐ ตะวันออก

ดังนั้นประเทศไทยอยู่ห่างจากมาตรฐานกรีนิช = 105๐

ลองจิจูดห่างกัน 1๐ เวลาต่างกัน = 4 นาที

ลองจิจูดห่างกัน 105๐ เวลาต่างกัน = 4 x 105 นาที

= 420 นาที

= 420/60 = 7 ชั่วโมง

ตอบ ขณะที่เมืองกรีนิชเป็นเวลา 01.00 น. นาย ก. ควรตั้งนาฬิกาข้อมือเป็นเวลา 08.00 น.วันเดียวกัน

ที่มา : http://www.wt.ac.th/~somyos/earth04.html 21/02/2008