ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐาน

ข้อมูลของผู้รับการประเมิน

ชื่อ นางสาวจุรีพร  ปานทรัพย์

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ ตำแหน่งเลขที่ 49327

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 

    โรงเรียนลาดยาววิทยาคม

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

วิชาที่สอน 1. ภาษาอังกฤษพื้นฐาน   ระดับชั้น ม.3/10, 3/8 

2.การแปลเบื้องต้น      ระดับชั้น  ม.6/5

                3.ญี่ปุ่นศึกษา              ระดับชั้น  ม.6/5

                      รวมชั่วโมงการสอน  12  ชั่วโมง

ครูที่ปรึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4

ภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด >>>>>>>>>

งานกิจรรมชุมนุม

งานลดเวลาเรียน-เพิ่มเวลารู้

งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

งานวัดและประเมินผลการเรียน

ข้าพเจ้าแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

              ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการ คือ แก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพ นำความรู้ ความสามารถทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สูงขึ้น ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี ได้ 

ประเด็นท้าท้าย

        การแก้ปัญหาการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

                      ตามกรอบมาตรฐานCEFR โดยใช้วิธีการสอนแบบ CLT


1.       สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน


  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป้าหมายในการจัดการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นแนวใหม่ตามกรอบ ความสามารถทางภาษา ของสหภาพยุโรปหรือ CEFR (The Common European Framework of Reference for Languages) โดยเน้นให้มีการออกแบบพัฒนา       การเรียนการสอน การทดสอบ  และการวัดผลประเมินความสามารถภาษาอังกฤษ ที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้กับ  ผู้เรียน   ทุกระดับชั้นให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐาน CEFR (สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2558)       ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐาน CEFR ควรอยู่ในระดับ A1- A2  ทักษะการพูด         เป็นทักษะที่ควรเร่งส่งเสริมและพัฒนา เนื่องจากเป็นทักษะหลักของการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารโดยทั่วไป เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ได้ในจริงชีวิตประจำวันได้อย่างอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ แต่การเรียนการสอนภาษาอังกฤษของไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรและไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ประสิทธิภาพในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยอยู่ในระดับต่ำ แม้เด็กไทยจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็ตาม จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนไม่สามารถพูดสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้            อีกทั้งยังขาดความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ  

ดังนั้น ในฐานะครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะนำวิธีการสอนแบบ CLT (Communicative Language Teaching ) หรือการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร มาใช้แก้ปัญหาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นและให้นักเรียนมีความมั่นใจกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษให้สามารถพูดได้ในระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐาน CEFR  



2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามกรอบมาตรฐาน CEFR โดยใช้วิธีการสอนแบบ CLT 

มีจุดประสงค์

1.   เพื่อศึกษาและพัฒนาระดับทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามกรอ[มาตรฐาน CEFR ที่ระดับ A2 หลังใช้วิธีการสอนแบบ CLT

2.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามกรอบมาตรฐาน CEFR โดยวิธีการสอนแบบ CLT 

                      ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3. การสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพของเครื่องมือ

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

5. การวิเคราะห์ข้อมูล

6. สถิติที่ใช้ในการวิจัย


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

3.1เชิงปริมาณ

3.1.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะกการพูดสนทนาภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐาน CEFR ในระดับ2

3.1.2 จำนวนนักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบ CLT อยู่ในระดับมากไม่ต่ำกว่า 70%

3.2 เชิงคุณภาพ

3.2.1 นักเรียนมีความมั่นใจและกล้าพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น

                   3.2.2 นักเรียนสามารถนำทักษะการพูดภาษาอังกฤษและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในการเรียนไปใช้ใน

                      ชีวิตประจำวันได้