ความหมายของสถิติ

แบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ

1. สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นข้อเท็จจริงของข้อมูล

2. สถิติ หมายถึง ศาสตร์ที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลป์ที่ว่าด้วยการศึกษาข้อมูลที่เรียกว่า ระเบียบวิธีทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล

การนําเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลความหมายของข้อมูล

ประเภทของสถิติ

สถิติ ตามความหมายที่เป็นระเบียบวิธีทางสถิติสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนา ละสถิติเชิงอนุมาน

1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)

2 สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)

ประโยชน์ของสถิติ

1. ประโยชน์ในการดําเนินชีวิตประจําวัน เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงเหตุการณ์ ข้อเท็จจริงในแต่ละบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับสถิติโดยไม่รู้ตัว เช่น การเก็บข้อมูล เวลาที่ใช้ในการเดินทางไปบาล เวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือ เวลาที่ใช้ในการสังสรรค์กับเพื่อน สิ่งเหล่านี้ จะ เกิดขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ในการหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป

2. ประโยชน์ในการวางแผน การใช้สถิติช่วยในการวางแผน ตั้งแต่การพิจารณารายรับ รายจ่ายของแต่ละครอบครัวจนถึงการวางแผนในอนาคต

3. ประโยชน์ในการทดลองและงานวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีทางสถิติมาใช้ในการทดลองและวิจัย

4. ประโยชน์ในการตัดสินใจและกําหนดนโยบาย เป็นการนําสถิติมาใช้ในการ

ตัดสินใจ และ กําหนดนโยบายของงานรัฐบาล ธุรกิจ และเอกชน

ข้อมูลและข้อมูลสถิติ

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือข่าวสารต่างๆ ที่เก็บรวบรวม เพื่อศึกษาเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ซึ่งข้อมูลอาจจะเป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้

ข้อมูลสถิติ (Statistical data) หมายถึง ข้อมูลที่ต้องมีจํานวนมากพอที่จะแสดงถึงลักษณะของกลุ่ม หรือส่วนรวม สามารถนําไปใช้ในการเปรียบเทียบหรือตีความหมายได้ ข้อมูลเพียงหน่วยเดียว ไม่ถือว่าเป็นข้อมูลสถิติ

ประเภทและแหล่งของข้อมูล

โดยทั่วไปข้อมูลในทางสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data)

2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data)

โดยมีแหล่งที่มาของขอมูลเป็น 2 ชนิด คือ

1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data)

2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)

ระเบียบวิธีการทางสถิติ

สถิติมีความหมายที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์หรือศิลป์ที่ว่าด้วยการดําเนินการทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับ ระเบียบวิธีทางสถิติ โดยมีขั้นตอนในการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data)

1.1 ทะเบียบประวัติ (Registration)

1.2 การสำรวจ (Survey)

- การสำรวจโดยการสัมภาษณ์

- การตั้งงกระทู้ถามหรือการออกแบบสอบถาม

1.3 การทดลอง (Experiment)

1.4 การสังเกต (Observation)

1.5 การสำมโน (Census)

ขั้นที่ 2 การนําเสนอข้อมูล (Presentation of data)

2.1 การเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน

- นำเสนอในรูปข้อความ

- นำเสนอในรูปข้อความกึ่งตาราง

2.2 การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน

- ตาราง

- แผนภูมิและแผนภาพ

- กราฟเส้น

ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data)

ขั้นที่ 4 การแปลความหมายข้อมูล (Interpretation of data)


แหล่งที่มาของข้อมูล : สถิติ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อเดือนสิงหาคม

07,2563 : จาก Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCATCEFt28C4VUrLQabjELjA