Download All Courses
การพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM)
(Structural Equation Modelling)
เป็นผู้บริหารระดับกลางถึงสูงที่มีบทบาทในการกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
เป็นนักวิเคราะห์แผนหรือยุทธศาสตร์ขององค์กร หรือมีบทบาทด้านการวางแผนองค์กร
มีความสนใจเรื่องกระบวนการวางแผนขององค์กร
แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modelling: SEM) เป็นเครื่องมือทางสถิติที่มีความสามารถพิเศษในการวิเคราะห์
1) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีลักษณะเป็นตัวแปรแฝง (Latent Variables) หรือตัวแปรที่สังเกตไม่ได้โดยตรง (unobserved variables) แต่สามารถวัดโดยอ้อมผ่านตัวแปรที่สังเกตได้ แต่เนื่องจากตัวแปรที่สังเกตได้มักไม่สามารถบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรแฝงได้อย่างสมบูรณ์ จึงมักจะต้องใช้ตัวแปรที่สังเกตได้หลายๆ ตัวประกอบกัน นำมาสู่การสร้างแบบจำลองการวัด (Measurement Model) ของตัวแปรแฝง ตัวอย่างตัวแปรแฝง เช่น ทัศนคติ ความง่ายในการใช้งาน อรรถประโยชน์ คุณภาพชีวิต ความกังวล ความเชื่อมั่น เป็นต้น
2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่มีลักษณะความสัมพันธ์หลายทาง กล่าวคือ สามารถวิเคราะห์ผลของตัวแปรหนึ่งที่มีต่ออีกตัวแปรหนึ่งทั้งในลักษณะความสัมพันธ์โดยตรง (direct relationship) ความสัมพันธ์โดยอ้อม (indirect relationship) และความสัมพันธ์ในลักษณะตัวกำกับ (moderator) ซึ่งเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อลักษณะความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปรอื่นๆ อีกต่อหนึ่ง (ดูภาพที่ 1) ความสัมพันธ์ดังกล่าวข้างต้นสามารถแทนได้ด้วยระบบสมการ (system of equations) ดังนั้นแบบจำลอง SEM จึงมักประกอบด้วยสมการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจำนวนหลายสมการ
ตัวอย่างการนำแบบจำลอง SEM ไปใช้ในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน หรือทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี (technology adoption) ทฤษฎีพฤติกรรมตามแบบแผนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจของบุคคล (Intention) และการแสดงออกพฤติกรรม (Behavior) โดยได้อธิบายว่า ความตั้งใจของบุคคลนั้นได้รับอิทธิพลจากทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรม (Attitude) บรรทัดฐานของบุคคลที่อยู่โดยรอบ (Subjective norms) รวมถึงการรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง (Perceived behavioral control) ซึ่งประการหลังนี้เป็นส่วนที่อธิบายพฤติกรรมที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของบุคคลอย่างเต็มที่ (Incomplete volitional control) เมื่อบุคคลต้องอาศัยโอกาส ทรัพยากรต่างๆ เช่น เงิน ทักษะ เวลา ความร่วมมือจากบุคคลอื่น โดยบุคคลจะประเมินว่าตนเองมีความสามารถที่จะกระทำหรือแสดงพฤติกรรมนั้นได้ เมื่อตนเองมีความสามารถในการกระทำและสามารถควบคุมผลลัพธ์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังอาจมีปัจจัยอื่นๆ ซึ่งได้แก่ ทางเลือกอื่นๆ ที่มาแข่งขันกับพฤติกรรมนั้นๆ (competing choices) เช่น ผลิตภัณฑ์/บริการแบบเดียวกันของธุรกิจอื่น หรือผลิตภัณฑ์/บริการที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ (substitute goods/services)
การอบรมนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทักษะการสร้างแบบจำลอง SEM ในภาคปฏิบัติ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นแบบจำลองที่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถนำไปใช้งานได้จริง ผู้เข้าอบรมจะได้ลงมือปฏิบัติการจริงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกรณีตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจจนสามารถนำทักษะไปประยุกต์ใช้ในกรณีอื่นๆ ต่อไป ขั้นตอนในการสร้างแบบจำลองสมการโครงสร้างประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) การตรวจสอบคุณภาพของแบบจำลองที่ใช้ในการวัด (measurement model) ตัวแปรแฝง โดยใช้การวิเคราะห์ Confirmatory Factor Analysis (CFA) เพื่อตรวจสอบ validity และ reliability ของแบบจำลองการวัด และ (2) การวิเคราะห์ Path Analysis ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ หลังจากที่ได้แบบจำลองการวัดที่ถูกต้องแล้ว ภาพต่อไปนี้แสดงตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง
ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจการใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์
ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะการสร้างแบบจำลอง SEM ในภาคปฏิบัติ
ผู้เข้าอบรมสามารถนำทักษะที่ได้ไปปรับปรุง พัฒนา และประยุกต์การใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงานในความรับผิดชอบของตนได้
1. วิธีการใช้งานโปรแกรม Mplus
คุณสมบัติของโปรแกรม
ภาษาของ Mplus
วิธีนำเข้าข้อมูล
การทดลอง run แบบจำลองตัวอย่าง
2. การสร้างแบบจำลองการวัด (measurement model)
การวิเคราะห์การยืนยันองค์ประกอบ (Confirmatory Factor Analysis, CFA)
การทดสอบ reliability
การทดสอบ discriminant validity
เงื่อนไขของแบบจำลองที่ใช้การได้ และวิธีการปรับปรุงแบบจำลอง
3. การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)
เงื่อนไขของแบบจำลองที่ใช้การได้ และวิธีการปรับปรุงแบบจำลอง
แบบจำลอง MIMIC (Multiple Indicators Multiple Causes)
การวิเคราะห์ผลกระทบโดยตรง ผลกระทบโดยอ้อม และผลกระทบโดยรวม
การนำแบบจำลองไปใช้จำลองสถานการณ์
1. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) สิ่งที่เรียนรู้ต้องเกี่ยวกับกับการทำงานและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง
2. การฝึกอบรม มีความหลากหลายเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและเข้าใจง่าย
การบรรยาย : เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
Work Shop : เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
การนำเสนอความคิดเห็น : การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในองค์กรระหว่างกัน
ให้คำปรึกษา : ให้คำปรึกษาแนะนำ โดยทีมวิทยากรชำนาญการ
3. การกำหนดแนวทางเพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปทบทวนและหารือกับทีมผู้บริหารในองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์กับการบริหารองค์กรอย่างยั่งยืน
อ.ทวีชัย เจริญเศรษฐศิลป์ และ ทีมนักวิจัยจากสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
#อบรมรัฐวิสาหกิจ #หลักสูตรSEM #พัฒนาทักษะข้อมูล #วิเคราะห์เชิงลึก #ConfirmatoryFactorAnalysis #อบรมเชิงปฏิบัติ #พัฒนาองค์กรภาครัฐ #การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง #IFDtraining